logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ สะเก็ดเงิน

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : สะเก็ดเงิน

สะเก็ดเงิน (Psoriasis) เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังชนิดหนึ่งจากผิวหนังขึ้นผื่นเป็นปื้น แดง หนา คัน เจ็บ ตกสะเก็ดเป็นมันและมีสีเงิน จึงได้ชื่อว่า ‘โรคสะเก็ดเงิน’ มีหลายปัจจัยร่วมที่กระตุ้นให้เกิดอาการ เช่น เชื้อชาติ พันธุกรรม ภาวะมีความเครียด โรคอ้วน สิ่งแวดล้อม ผลข้างเคียงจากกินยาบางชนิด และอาจพบเกิดร่วมกับโรคเรื่อรังอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไต โรคหัวใจ

โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มโรคออโตอิมมูนที่ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันตานทานโรคต่อต้านเซลล์/เนื้อเยื่อผิวหนังจึงส่งผลให้เนื้อเยื่อผิวหนังเกิดการอักเสบเรื้อรัง ไม่ใช่โรคติดต่อ เกิดกับผิวหนังได้ทุกส่วน แต่ตำแหน่งที่พบบ่อยคือ

  • ผิวหนังส่วนข้อศอก (ด้านนอกไม่ใช่ด้านในข้อพับ)
  • เข่า (ด้านนอกไม่ใช่ส่วนในข้อพับ)
  • ผิวหนังส่วน ด้านหลัง หลังมือ หลังเท้า
  • หนังศีรษะ และใบหน้า

สะเก็ดเงิน เป็นโรคเรื้อรัง เป็นๆ หายๆ ตลอดชีวิต แม้จะรักษาอย่างถูกต้องแล้วก็ตาม แนวทางการรักษาโรคสะเก็ดเงิน มีหลายวิธี และอาจใช้หลายวิธีรักษาร่วมกัน ขึ้นกับความรุนแรงของอาการ การตอบสนองของอาการต่อวิธีรักษาต่าง และดุลพินิจของแพทย์ เช่น

  • การใช้ ’ยาทา’ ต่างๆ เช่น ยา Salicylic acid ยาสเตียรอด์ ยา Retinoid ยา Anthralin วิตามินดี และรวมถึงการใช้ครีม/โลชั่นบำรุงผิวชนิดที่อ่อนโยน
  • การปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยการหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นต่างๆ
  • การฉายแสงรอยโรคด้วย แสง UV-A หรือ UV B จากแสงแดด
  • การกินยากดภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • การรักษาด้วยยาเคมีบำบัดบางชนิด
  • การฉายรังสีรักษาที่รอยโรค
  • การป้องกัน ควบคุม รักษา โรคต่างๆ ที่มักเกิดร่วมด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต
  • บางครั้ง/บางรายที่ดื้อต่อการรักษาวิธีต่างๆ อาจมีการผ่าตัดต่อมทอนซิล กรณีแพทย์เชื่อว่าเป็นต้นเหตุการติดเชื้อเรื้อรังที่ส่งผลกระตุ้นอาการของสะเก็ดเงิน
  • โรคข้ออักเสบ ที่พบได้ประมาณ 10-15% และ
  • อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด ข้ออักเสบสะเก็ดเงิน โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง และโรคมะเร็งผิวหนังชนิดไม่ใช่มะเร็งผิวหนังเมลาโนมา

เนื่องจากเป็นโรคในกลุ่มโรคออโตอิมมูน จึงไม่สามารถป้องกันได้ 100% ยกเว้นการหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงฯ/ปัจจัยกระตุ้น