logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ มะเร็งลำไส้

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : มะเร็งลำไส้

  • การกินอาหารไขมันสูงเป็นประจำ ร่วมกับอาหารใยอาหารต่ำ (ขาดผักและผลไม้)
  • บริโภคเนื้อแดงที่รวมถึงที่แปรรูปในปริมาณสูงต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ
  • เป็นโรคลำไส้ใหญ่อักเสบชนิดเรื้อรัง /โรคติ่งเนื้อเมือกลำไส้ใหญ่ชนิดที่เป็นเนื้องอก
  • สูบบุหรี่/ดื่มสุรา ต่อเนื่อง
  • โรคอ้วน
  • พันธุกรรม
  • อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป
  • ไม่มีอาการเมื่อเริ่มเป็น
  • อุจจาระเป็นเลือด เป็นมูก และ/หรือ เป็นมูกเลือด
  • ท้องผูกสลับท้องเสียที่หาสาเหตุไม่ได้ โดยไม่เคยเป็นมาก่อน
  • ซีดโดยหาสาเหตุไม่ได้ จากการมีเลือดออกทีละน้อยเรื้อรังจากแผลมะเร็งโดยไม่รู้ตัว
  • อาจมีท้องผูกมากผิดปกติ หรือ ปวดท้องเรื้อรัง หรือ ทุกครั้งหลังถ่ายอุจจาระจะรู้สึกเหมือนอุจจาระไม่สุด ทั้งนี้เนื่องจากมีก้อนมะเร็งอุดกั้นทางเดินอุจจาระ

การรักษาหลัก คือ การผ่าตัดลำไส้ส่วนเป็นมะเร็ง ส่วนเมื่อโรคมีการลุกลามแล้ว การรักษามักเป็นผ่าตัดลำไส้ส่วนเป็นมะเร็งออกไปร่วมกับยาเคมีบำบัด หรือ ผ่าตัดร่วมกับรังสีรักษา และ/หรือ ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ ขึ้นกับ ตำแหน่ง และระยะของโรค และอาจให้ รังสีรักษา และ/หรือ ยาเคมีนำก่อน แล้วจึงตามด้วยผ่าตัด หรือ อาจผ่าตัดก่อน แล้วจึงตามด้วยรังสีรักษาและ/หรือ ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้ขึ้นกับ อาการของผู้ป่วย ระยะโรค และตำแหน่งของโรค

  • การผ่าตัด: เช่น การสูญเสียเนื้อเยื่อ/อวัยวะ การเสียเลือด แผลผ่าตัดติดเชื้อ และเสี่ยงต่อการดมยาสลบ
  • ยาเคมีบำบัด: อาการ คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง ภาวะซีด และการติดเชื้อจากภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ
  • รังสีรักษา: ผลข้างเคียงต่อผิวหนังและเนื้อเยื่อที่ได้รับรังสีรักษา
  • ยารักษาตรงเป้า / ยารักษาแบบจำเพาะต่อเซลล์มะเร็ง: ผลข้างเคียงที่อาจพบได้จากยารักษาตรงเป้า คือ การเกิดสิวขึ้นทั่วตัวรวมทั้งใบหน้า และยาบางชนิดอาจก่อให้เกิดภาวะเลือดออกได้ง่าย แผลติดยากเมื่อเกิดบาดแผล และอาจเป็นสาเหตุให้ผนังลำไส้ทะลุได้

หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ใหญ่ เพื่อตรวจติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่ที่อาจกลายเป็นมะเร็งได้ ซึ่งเมื่อพบติ่งเนื้อเมือกลำไส้ใหญ่ การรักษา คือ การผ่าตัดติ่งเนื้อซึ่งเป็นการรักษาที่อันตรายน้อยมาก เพราะไม่ใช่การผ่าตัดลำไส้ออกไป