logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ ปวดหลัง

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : ปวดหลัง

  • การทำงานมากเกินไปของกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อจึงเกิดการบาดเจ็บอักเสบ (โดยไม่มีการติดเชื้อ) ซึ่งพบเป็นสาเหตุได้เท่ากับหรือมากกว่า 70% ของการปวดหลังช่วงล่างทั้งหมด
  • โรค/ภาวะ ปวดหลังจากหมอนรองกระดูกเสื่อม พบเป็นสาเหตุประมาณ 14%
  • โรค/ภาวะกระดูกสันหลังยุบตัวจากภาวะ/โรคกระดูกพรุน พบประมาณ 4%
  • กระดูกสันหลังเคลื่อนจากสาเหตุต่างๆ เช่น ยกของหนัก เล่นกีฬา พบประมาณ 2%
  • โรค/ภาวะโพรงกระดูกสันหลังเอวตีบแคบ จึงเบียดรัดประสาทสันหลัง พบประมาณ 3%
  • กระดูกหรือเนื้อเยื่อหลังช่วงล่างติดเชื้อ พบประมาณ 0.01%
  • กระดูกหลังช่วงล่างอักเสบจากโรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง พบประมาณ 0.3%
  • โรคมะเร็งแพร่กระจายสู่กระดูกสันหลังช่วงล่าง พบประมาณ 0.7%
  • เป็นอาการปวดสืบเนื่องมาจากเนื้อเยื่อ/อวัยวะในช่องท้องหรือในอุ้งเชิงกราน พบประมาณ 2% เช่น จากการอักเสบของต่อมลูกหมาก มดลูก โรค/ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคนิ่วในไต โรคนิ่วในท่อไต โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ หรือโรคกรวยไตอักเสบ
  • พักการใช้หลัง ระวังการนั่ง ยืน เดิน นอน การยกของ ก้ม เงย
  • พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่พอจะทำได้ เพราะยิ่งไม่เคลื่อนไหว อาการปวดจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น
  • อาจประคบร้อน ประคบเย็น หรือ ทั้งร้อนและเย็นสลับกัน ซึ่งจะได้ผลต่างกันในแต่ละคน
  • การนวดด้วยยาทาภายนอก ซึ่งอาจได้ผลในบางคน
  • การใส่เครื่องพยุงหลัง ซึ่งได้ผลในบางคน
  • ลดน้ำหนักเมื่ออ้วน หรือมีน้ำหนักตัวเกิน
  • เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่
  • พบแพทย์/ไปโรงพยาบาลเมื่ออาการปวดหลังเลวลง หรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 6 สัปดาห์
  • ท่ายืน คือ ควรยืนแขม่วท้อง อกผาย ไหล่ผึ่ง เอวแอ่นน้อยที่สุด ถ้าต้องยืนเป็นเวลานานควรมีที่พักเท้า การยืนห่อไหล่ พุงยื่น ทำให้เอวแอ่นมาก อาจปวดหลังได้
  • ท่านั่ง สันหลังตรงพิงพนัก เก้าอี้สูงพอดี และควรมีที่พักแขน การนั่งห่างจากโต๊ะทำงานมากขณะทำงาน จะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานมาก ที่นั่งที่เหมาะสม คือ พนักควรเอียง 60 องศา จากแนวตั้ง มีส่วนหนุนหลัง มีที่วางแขนทำด้วยวัสดุนุ่มแต่แน่น
  • ท่านั่งขับรถ หลังต้องพิงพนัก เข่างอ และอยู่เหนือระดับสะโพก การนั่งห่างเกินไป ทำให้เข่าต้องเหยียดออก กระดูกสันหลังตึงจะเสริมให้ปวดหลัง
  • ท่ายกของ ควรย่อตัว ยกของให้ชิดตัว แล้วลุกขึ้นด้วยกำลังขา การก้มลงหยิบของในลักษณะเข่าเหยียดตรง ทำให้ปวดหลังได้
  • ท่าถือของ ควรให้ของชิดตัวที่สุด การถือของห่างจากลำตัว ทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานหนัก ปวดหลังได้
  • ท่าเข็นรถ ควรดันรถไปข้างหน้า ออกแรงที่กล้ามท้อง การดึงถอยหลังจะออกแรงที่กล้ามเนื้อหลังเป็นเหตุให้ปวดหลัง
  • ท่านอน ที่นอน ควรจะแน่น ยุบตัวน้อยที่สุด ไม่ควรใช้ฟูกฟองน้ำหรือเตียงสปริง เพราะหลังจะจมอยู่ในแอ่ง ทำให้กระดูกสันหลังแอ่น ปวดหลังได้
    • ถ้านอนหงาย ทำให้หลังแอ่นได้เล็กน้อย หมอนควรจะมี 2 ใบ โดยใบที่ 1 ใช้หนุนหัว ส่วนใบที่ 2 ควรใช้หมอนข้างใบใหญ่หรือหมอนแบบเดียวกับที่ใช้หนุนหัว หนุนใต้โคนขา จะช่วยให้กระดูกสันหลังไม่แอ่น
    • กรณีนอนคว่ำ ใช้หมอน 3 ใบ โดยใบที่ 1 หนุนใบหน้า (ระวังอย่าให้กดทับจมูก) ใบที่ 2 สอดระหว่างขาจนสุดถึงโคนขา และใบที่ 3 ดันหลังเพื่อให้หลังตรง เพราะการนอนคว่ำจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากที่สุด โดยเฉพาะระดับเอว ทำให้ปวดหลังได้
    • นอนตะแคง เป็นท่านอนที่ดี ควรให้ขาล่างเหยียดตรง ขาบนงอเข่า และงอข้อสะโพกเล็กน้อย กอดหมอนข้าง
  • ท่าเดิน ต้องเดินหลังตรง ใส่รองเท้าส้นเตี้ย ใส่แล้วเดินสบาย ไม่เสียการทรงตัว