logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ กระดูกพรุน

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : กระดูกพรุน

  • สูงอายุโดยเฉพาะตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป
  • ภาวะขาดฮอร์โมนเพศ (ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน)
  • ขาดอาหารสำหรับการสร้างกระดูก (โปรตีน แคลเซียม และวิตามินดี)
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่ลดการทำงานของเซลล์สร้างกระดูก และยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดตีบ กระดูกจึงขาดอาหารจากขาดเลือดได้อีกด้วย
  • ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพราะเป็นสาเหตุให้ขาดอาหาร
  • มีโรคเรื้อรังต่างๆ ที่ส่งผลถึงสุขภาพซึ่งรวมถึงสุขภาพของกระดูกด้วย เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง
  • มีพันธุกรรมที่คนในครอบครัวเป็นโรคนี้
  • ถ้าเกิดในวัยหมดประจำเดือน มักเกิดกระดูกหักง่ายที่ปลายกระดูกแขน/กระดูกข้อมือ และเกิดการยุบตัวของกระดูกสันหลังและ/หรือกระดูกสันหลังเสื่อม เกิดการปวดหลังเรื้อรัง
  • ส่วนกระดูกพรุนจากสูงอายุ มักเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ

ผลข้างเคียงสำคัญของโรคกระดูกพรุนคือ กระดูกหักง่ายและอาการปวดหลังเรื้อรัง เป็นโรคเรื้อรังที่ถึงแม้ไม่ทำให้เสียชีวิต แต่เป็นเหตุให้คุณภาพชีวิตลดลงอย่างมากจากผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเมื่อกระดูกสะโพกหักในผู้สูงอายุ มักทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งอาจสูงถึง 50% ภายในหนึ่งปีแรก ถ้าไม่ได้รับการรักษา ที่เป็นเช่นนี้เพราะผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ ถ้าไม่สามารถขยับเขยื้อนเคลื่อนไหวด้วยตนเอง หรือโดยคนอื่นทำให้ ก็จะเกิด

  • แผลกดทับ
  • ปอดบวม
  • ทางเดินปัสสาวะอักเสบ/โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ลำไส้ไม่ทำงาน ท้องผูก

แนวทางการรักษาโรคกระดูกพรุนคือ เพิ่มการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและหยุดหรือลดการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูกเช่น การกินวิตามินเกลือแร่เสริมอาหารต่างๆ เช่น แคลเซียม วิตามินดี การใช้ยาต้านการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก การให้ยาฮอร์โมนต่างๆ เพื่อเพิ่มการทำงานของเซลล์สร้างกระดูกและลดการทำงานของเซลล์ทำลายกระดูก การออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ และหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งนี้ การใช้ยาต่างๆ ควรต้องเป็นการแนะนำจากแพทย์ เพราะในผู้ป่วยแต่ละคนจะมีการใช้ ชนิดยา ขนาดยา และระยะเวลาในการใช้ยาที่แตกต่างกัน นอกจากนั้นยาต่างๆ เหล่านี้ยังมีผลข้างเคียงที่เป็นอันตรายได้