logo

คำถามจาก วิกิโรค

Home / FAQ โรค/ สโตรก (Stroke)

คำถามเกี่ยวกับโรค

โดย วันทนีย์ โลหะประกิตกุล

เรื่อง : สโตรก (Stroke)

โรคอัมพาต (Stroke) หรือ อาการอัมพาต ในความหมายทั่วไปคือ แขนและ/หรือ ขาขยับเขยื้อนไม่ได้ ไม่มีแรง ใช้งานไม่ได้ ส่วนโรคอัมพฤกษ์ (Paresis) หรือ อาการอัมพฤกษ์ หมายถึงแขนและ/หรือขาอ่อนแรงกว่าปกติแต่ยังพอใช้งานได้/ใช้ได้น้อยกว่าปกติ เช่น อาจชา หยิบจับของหนักหรือหยิบจับดินสอเพื่อเขียนหนังสือตามปกติไม่ได้ ดังนั้นอัมพฤกษ์จึงมีความรุนแรงน้อยกว่าอัมพาต โดยทางแพทย์จะเรียกโรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ ว่า โรคซีวีเอ (CVA ชื่อเต็มคือ Cerebrovascular accident) หรือศัพท์บัญญัติจากราชบัณฑิตยสถานคือ ‘โรคลมปัจจุบัน หรือ โรคลมเหตุหลอดเลือดสมอง’ ซึ่งเป็นอาการของโรคหลอดเลือดสมองที่ส่งผลให้สมองขาดเลือด จึงเกิดอาการแขนขาใช้งานไม่ได้หรืออ่อนแรง

ก. หลอดเลือดแดงสมองอุดตัน: เช่น จากหลอดเลือดแดงสมองตีบตันจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) ซึ่งมีสาเหตุสำคัญจาก โรคไขมันในเลือดสูง โรคเบาหวาน สูบบุหรี่ มีลิ่มเลือดเกิดในหลอดเลือดสมอง มีลิ่มเลือดในหลอดเลือดนอกสมองหลุดลอยเข้ากระแสเลือดไปอุดตันหลอดเลือดสมอง เช่น ภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ หรือ ลิ่มเลือดจากโรคหัวใจเต้นรัว เอเอฟ (AF, atrial fibrillation)

ข. หลอดเลือดแดงสมองแตก: ที่พบได้บ่อยคือ ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง และในโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Aneurysm)

อาการจากโรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ เป็นอาการที่เกิดทันที เป็นนาทีหรือชั่วโมง โดยอาการขึ้นกับตำแหน่งสมองส่วนที่ขาดเลือด ทั่วไปที่พบบ่อยประกอบด้วย 4 อาการหลักที่เรียกว่า FAST คือ

1. Facial weakness (ใบหน้าเบี้ยว ปากเบี้ยว)

2. Arm weakness (แขนอ่อนแรง ไม่มีแรง)

3. Speech difficult (พูดไม่ชัด พูดไม่ได้)

4. Time to act (ทุกอาการดังกล่าว เกิดพร้อมกันทันที)

ซึ่งเมื่อมีอาการดังกล่าว ให้รีบไปโรงพยาบาลทันที หรือโทรศัพท์เรียกรถพยาบาลฉุกเฉินเบอร์เดียวทั่วประเทศไทยคือ “1669” เพื่อรับการรักษาด้วยวิธี 270 นาทีชีวิต หรือ ทางด่วนโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke Fast Track)” เพราะภายใน 270 นาทีแรกที่ผู้ป่วยมีอาการ แพทย์สามารถรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดเข้าทางหลอดเลือดดำของผู้ป่วย (จากการศึกษาทางพยาธิวิทยาของเนื้อสมองตายเหตุขาดเลือดมาเลี้ยงนั้น สามารถทนการขาดเลือดได้นาน 270 นาที หลังจากนั้นเนื้อสมองจะตายและไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ) ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลช้ากว่านี้ ก็มักไม่สามารถให้การรักษาด้วยวิธีดังกล่าวได้ผล

โรคอัมพาต โรคอัมพฤกษ์ เป็นโรครุนแรง/มีการพยากรณ์โรคไม่ดี ส่งผลให้ตายได้ และยังเป็นโรคที่ส่งผลให้เกิดปัญหาทั้งทางสาธารณสุข สังคม และครอบครัว และเมื่อรอดชีวิตมักเกิด

  • ความพิการ ซึ่งส่งผลให้เคลื่อนไหวได้น้อย ช่วยตัวเองได้น้อย จึงมักมีคุณภาพชีวิตที่ด้อยลง
  • มีโอกาสเกิดการติดเชื้อรุนแรงได้สูง เช่น โรคติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
  • ป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็งที่สำคัญ เช่น ไม่สูบบุหรี่ เลิกบุหรี่ จำกัดอาหารไขมัน
  • ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และโรคเบาหวาน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพทุกวัน ในคนปกติประมาณ 30 นาทีต่อวัน
  • ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อตรวจ ความดันโลหิต โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือด โรคหัวใจ โรคไต โรคตับ เพื่อให้การรักษาควบคุมโรคเหล่านี้แต่เนิ่นๆ
  • กินยาเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดตามแพทย์แนะนำ