โรคภัย ไข้เจ็บ ตอนที่ 16 บุหรี่แบบดั้งเดิม (3)

โรคภัยไข้เจ็บ

โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 16 – บุหรี่แบบดั้งเดิม (3)

การสูบบุหรี่สร้างผลกระทบที่รุนแรงที่สุดมีต่อโรคมะเร็งและโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: COPD) และเป็นสาเหตุประมาณ 90% ของการตายด้วยโรคมะเร็งปอด (Lung cancer) และ 80% ของการตายด้วย COPD มีการประมาณการกันว่า หากไม่มีใครสักคนสูบบุหรี่ ทุกๆ 1 ใน 3 ของการตายด้วยโรคมะเร็งจะไม่เกิดขึ้น

แม้ว่าสาเหตุการตายอาจไม่ร้ายแรงเท่า 2 โรคข้างต้น แต่ 21% โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) และประมาณ 13% ของโรคหัวใจ ก็เกิดจาก (Attributed) การสูบบุหรี่ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ไม่สูบบุหรี่ ผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงสูงเป็น 4 เท่าของการเป็นโรคหัวใจ, 4 เท่าของการเป็นโรคหลอดเลือดสมอง, และ 25 เท่าของการเป็นโรคมะเร็ง

สรุปอย่างชัดเจนแล้วว่า การสูบบุหรี่นำมาซึ่งหายนะ (Devastating) แก่ร่างกาย

การสูบบุหรี่มือสอง (Second-hand) หมายถึงผู้ที่สูบบุหรี่เป็นบางครั้ง (Occasionally) ซึ่งนำไปสู่คำถามที่สมเหตุผล (Reasonable) ว่า จะต้องสูบบุหรี่บ่อยถี่แค่ไหน จึงจะมีผลที่ตามมา (Consequences) เรามีข้อมูลล้นเหลือ (Abundant) จากการสูบบุหรี่ประจำกับการสูบบุหรี่มือสอง

การศึกษาแสดงผลกระทบโดยอ้อม (Indirect) ว่า การอยู่ในบริเวณ (Being around) ควันบุหรี่ ผู้คนก็มีแนวโน้มที่จะเป็นโรคมะเร็งและโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardio-vascular) ผู้ไม่สูบบุหรี่ (Non-smoker) ที่สูดควันบุหรี่ ไม่ว่าจะที่บ้านหรือที่ทำงาน ล้วนเพิ่มความเสี่ยงของการวิวัฒนาโรคหัวใจถึง 25 ถึง 30% และโรคหลอดเลือดสมอง ถึง 20 ถึง 30%

ผู้สูบบุหรี่มือสองมีความเสี่ยง (Exposure) ของการตายด้วยโรคมะเร็งปอดกว่า 7,300 คนในแต่ละปี การสูบบุหรี่ชุมนุม (Concentrate) อยู่ในสำนักงาน, ร้านอาหาร, และอาคารชุด (Apartment complexes) ส่วนผู้สูบบุหรี่มือสอง แม้จะมีอัตราต่ำกว่าผู้สูบโดยตรง (Direct) แต่การสูบบุหรี่ในปริมาณเล็กน้อย (Nominal) ก็เป็นอันตราย (Harmful) ต่อสุขภาพ

การวัดเชิงปริมาณ (Quantify) ที่จะเป็นสาเหตุความร้ายแรง (Severity) ของโรค เป็นงานที่ซับซ้อน (Complex task) งานวิจัยในห้องปฏิบัติการ (Laboratory) แสดงว่า ไม่มีระดับใดของความเสี่ยงในการสูบบุหรี่มือสองที่ปลอดภัย ระดับต่ำสุดเท่าที่ตรวจจับได้ (Detectable) พบว่า การสูบบุหรี่ชักนำ (Induce) การเปลี่ยนแปลงในการแสดงออกของยีน (Genetic expression) ในเยื่อบุของทางเดินหายใจ (Linings of airways) ซึ่งนำไปสู่โรคปอด

ข้อมูลจากการสังเกต (Observational) แสดงว่า ผู้ที่สูบบุหรี่น้อยกว่าวันละ 1 มวน มีความเสี่ยงสูงถึง 9 เท่าที่จะเกิดการตายก่อนวัยอันสมควร (Pre-mature) จากมะเร็งปอด และ 64% สูงกว่าการตายก่อนวัยอันสมควร จากสาเหตุอื่นๆ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย

นอกจากนี้ งานวิจัยยังพบว่า ผู้สูบบุหรี่มือสองยังมีสัมพันธ์กับความเสี่ยงสูงขึ้น 60% ในผู้ชายที่ตายก่อนวัยอันสมควร บนพื้นฐานการค้นพบเหล่านี้ แสดงว่า ไม่มีระดับใดในกาสูบบุหรี่ที่ปลอดภัยเลย ไม่ว่าจะเป็นผู้สูบบุหรี่จัดทุกวัน, ผู้สูบบุหรี่ปานกลาง, และผู้สูบบุหรี่เพียงบางครั้ง

แหล่งข้อมูล

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022). Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ. (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.