โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 12 – ยาสูบ (2)

โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 12 – ยาสูบ (2)

ในปี ค.ศ. 2019 ประมาณ 28% ของนักเรียนมัธยมศึกษา หรือ 4.7 ล้านคน สูบบุหรี่ เป็นการเพิ่มขึ้นอย่างมโหฬาร กล่าวคือกว่า 1,700% เมื่อเปรียบเทียบกับปี ค.ศ. 2011 การสูบยามิได้จำกัดอยู่เพียงการสูบบุหรี่แบบดั้งเดิม (Traditional) และแบบไฟฟ้าเท่านั้น

ประมาณ 8% รายงานว่า สูบยาเส้น (Cigar), 3% สูบยาเส้นกล้องยาว (Hookah), และ 1% สูบยาเส้นกล้องสั้น (Pipes) ในส่วนที่มิใช่ผลิตภัณฑ์ยาสูบ (Non-tobacco) 22% ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีสุดท้าย (Senior) รายงานว่า สูบกัญชา (Marijuana) ซึ่งมากกว่ายอดรวมของบุหรี่, ยาเส้น, ยาเส้นกล้องยาว, ยาเส้นกล้องสั้น, และการดื่มสุรา (Binge) เสียอีก

อัตราการสูบกัญชารายวันเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่เฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นเท่านั้น แต่รวมถึงผู้ใหญ่ด้วย อันที่จริง 14% ของผู้ใหญ่ชาวอเมริกัน หรือ 34 ล้านคน รายงานว่า สูบกัญชาเป็นประจำ (Regular) เช่นเดียวกับผู้รายงานการสูบบุหรี่ทุกวันนี้ ภาระ (Burden) ของการสูบยา ไม่ว่าผลิตภัณฑ์ใด ยังอยู่ในระดับสูง (Significant) แม้จะมีแนวโน้มที่ลดลง

ในหลายทศวรรษที่ผ่านมา เราได้เห็นความพยายามยับยั้ง (Stifle) การพุ่งขึ้นของการสูบผลิตภัณฑ์ทางเลือก (Alternate) แต่ทุกทางเลือกมีความเสี่ยงโดดเด่น (Unique risk) แต่ทุกความเสี่ยงก็มีส่วนเหมือนร่วมกัน (Commonality) ในการสูบเข้า (Inhalation) ของการเผาไหม้ (Combustion) ซึ่งลงเอยด้วยความเสี่ยงร่วม (Shared risk)

การเผาไหม้ เป็นกระบวนการทางเคมี ซึ่งเมื่อเชื้อเพลิง (Fuel) รวมกับออกซิเจน แล้วส่งแผ่ความร้อน ไฟคือผลกระทบที่มองเห็นการเผาไหม้ ส่วนเชื้อเพลิงสำหรับการเผาไหม้อาจอยู่ในรูปแบบของแก๊ส (Gas), ของเหลว (Liquid), หรือของแข็ง (Solid) เช่น ไม้ (Wood), ถ่านหิน (Coal), ยาสูบ, หรือ กัญชา

การเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete) จากการเผาของแข็ง ส่งผลให้เกิดไฟและควัน พร้อมด้วยผลพลอยได้ (By-product) ที่เป็นพิษ (Pollutant) ซึ่งทำลายสุขภาพ (Health-damaging) จากแก๊สอนินทรีย์ (Inorganic) เช่น คาร์บอนมอนนอกไซด์ (Carbon monoxide), ไฮโดรคาร์บอน (Hydro-carbon), และสารอนินทรีย์ออกซิเจน (Oxygenated)

สภาวะดังกล่าวก่อให้เกิดสารก่อมะเร็ง, อนุมูลอิสระ (Free radical), และสสารอนุภาค (Particulate matter) ซึ่งเป็นสาเหตุของความไม่สมดุล (Oxidative stress) ระหว่างอนุมูลอิสระและสารต้านอนุมูลอิสระ (Anti-oxidant) จนเกิดการอักเสบ (Inflammation) ในร่างกาย

เมื่อควันและสารเคมีในควัน มาสัมผัสกับปาก, จมูก, คอหอย (Throat), และปอด มันจะกระจาย (Diffuse) เข้าสู่กระแสโลหิต (Blood-stream) และเข้าถึงนานาอวัยวะ (Organs) ดังนั้น การดูดควัน (Inhalation) จะเพิ่มโอกาส (Potential) ทวีความเสี่ยงของมะเร็ง ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดในกระแสโลหิต โดยมีความเสี่ยงสูงสุดในทางเดินหายใจ (Respiratory tract)

อนุมูลอิสระและอนุภาคเล็กๆ (Fine) ในควัน อาจนำไปสู่การระคายเคือง (Irritation) และการอักเสบในปอด จนเกิดการบาดเจ็บ (Injury) ในปอด ในระยะสั้นและระยะยาว ความเสียหายต่อผนังหลอดเลือดแดง (Artery wall) จะเร่งให้เกิดกระบวนการก่อตัวของคราบไขมัน (Plaque) ในหลอดเลือดแดงมากขึ้นเรื่อยๆ จนแข็งตีบ (Atherosclerosis)

แหล่งข้อมูล

  1. Ramirez, Lucas, MD. (2022). Simplify Your Health: A Doctor’s Practical Guide to a Healthier Life. Texas, USA: Black Rose Writing.
  2. สันต์ ใจยอดศิลป์, นพ.  (2560). สุขภาพดีด้วยตัวคุณเอง: Good Health by Yourself (eBook). พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: บริษัท พิมพ์สวย จำกัด.