โรคภัยไข้เจ็บ ตอนที่ 20 – การผลักดันให้เลิกสูบบุหรี่ (1)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 14 มิถุนายน 2566
- Tweet
แต่ละบุคคลมีความโดดเด่น (Unique) ที่แตกต่างจากผู้อื่น และจึงมิได้มีวิธีเดียวที่เหมาะสมสำหรับทุกคน อย่างไรก็ตาม เราสามารถเรียนรู้จากคำแนะนำ (Advice) และกรณีศึกษาของผู้ประสบความสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่
ประการแรก ผู้สูบบุหรี่จำเป็นต้องมีแรงจูงใจ (Motivation) ที่แท้จริง และความปรารถนา (Desire) ที่จะเลิกสูบบุหรี่ มีหลากหลายเหตุผล ที่ผู้คนจะเลิกสูบบุหรี่ สุขภาพเป็นเหตุผลที่ชัดเจน ดังนั้น จึงควรพยายาม (Strive) เลิกสูบบุหรี่ ก่อนที่จะวิวัฒนาเป็นผลกระทบทางสุขภาพที่ตามมา (Consequence)
การห้ามการสูบบุหรี่ (Smoking ban) ที่บ้านหรือที่ทำงานเป็นตัวจูงใจ (Motivator) ที่สำคัญสำหรับการเลิกสูบบุหรี่ ปัจจัยอื่นอาจเป็นเหตุผลสำคัญได้ เช่นการห้ามสูบยาที่บ้านเพราะแม่บ้านตั้งครรภ์ (Pregnant) อยู่ หรือเพราะมีเด็กอยู่ในบ้าน เป็นข้อห้าม (Deterrent) ที่ทรงพลัง (Powerful)
ต้นทุน (Cost) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ ในรัฐ California ราคาเฉลี่ยของบุหรี่ซองหนึ่ง คือ $8.31 (หรือ 275 บาท ณ อัตราแลกเปลี่ยน 33 บาท ต่อ $1) ดังนั้น ผู้สูบบุหรี่วันละ 1 ซอง จะค่าใช้จ่ายปีละ $3,033 หรือประมาณ 100,000 บาทสำหรับนิสัยนี้
สำหรับราคาบุหรี่ที่วางขายในท้องตลาดไทย มีราคาประมาณซองละ 100 บาท สำหรับบุหรี่ที่ผลิตในประเทศ และซองละ 120 บาท สำหรับบุหรี่ที่สั่งเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้น ค่าใช้จ่ายสำหรับ “สิงห์อมควัน” ที่สูบเพียงวันละ1 ซอง ซองละ 20 มวน ก็ตกปีละ 36,500 บาท สำหรับบุหรี่ที่ผลิตในประเทศ และปีละ 43,800 บาท สำหรับบุหรี่ที่สั่งเข้าจากต่างประเทศ แต่ถ้าสูบมากกว่าวันละ 1 ซอง ตัวตัวเลขทั้งสอง จะทวีขึ้นเป็นเงาตามตัว
ต่อไปนี้เป็นสรุปคำแนะนำจากหลากหลายแหล่ง รวมทั้งประสบการณ์ของแพทย์ผู้ประพันธ์หนังสือ
- เลือกวันเลิกสูบบุหรี่ โดยกำหนดวัน (Schedule) และหยุดสูบบุหรี่ในวันนั้น - การหยุดสูบบุหรี่ทันที (Abruptly) มีแนวโน้มที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในระยะยาว เมื่อเปรียบเทียบกับการค่อยๆ ลด (Gradual reduction) แต่คนส่วนมาก (Majority) ประสบความล้มเหลว การหาสิ่งอื่นทดแทน (Replacement) นิโคตีน (Nicotine) เพิ่มโอกาส (Chance) ความสำเร็จได้ 50 ถึง 60% การใช้แผ่นแปะ (Patch) และรูปแบบอื่น เช่น หมากฝรั่ง (Gum) หรือยาอมลูกกวาด (Lozenge) ก็สามารถเพิ่มโอกาสความสำเร็จได้ถึง 36% เมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งทดแทนนิโคตีนเพียงอย่างเดียว
- ในกรณีแผ่นแปะ และหมากฝรั่ง เพื่อเลิกสูบบุหรี่ ข้อมูลแสดงว่า การเริ่มทดแทน (Replacement) นิโคตีน จะเพิ่มโอกาสละเลิก (Abstinence) ได้ถึง 25% แม้ว่าจะช่วยได้ เราต้องเข้าใจว่า การเลิกสูบบุหรี่จะไม่ใช่สิ่งที่ทำได้ง่าย (Cake-walk) หลายคนคงต้องมีตัวช่วยลดความกระหาย (Craving) ดังนั้น คณะกรรมการอาหารและยา (Food and Drug Administration: FDA) อเมริกัน ได้อนุมัติการจ่ายยา 2 ตัวที่ไม่มีนิโคตีน เพื่อช่วยหยุดยั้ง (Cessation) การสูบบุหรี่ระยะสั้น (12 สัปดาห์) อันได้แก่ Varenicline และ Bupropion
แหล่งข้อมูล