เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 43 – นม (2)
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 24 สิงหาคม 2565
- Tweet
เจ็บไข้ได้ป่วย – นม (2)
เหตุผลที่ 2 และเป็นที่เปิดเผยกัน (Revealing) ว่า นมและผลิตภัณฑ์นม มีแนวโน้มที่จะสร้างเมือก (Mucus) มากเกินไป (Excessive) ในลำไส้เล็ก (Intestine), ในโพรงจมูก (Sinus), และในปอด (Lung) เมื่อส่วนเกิน (Extra) ในลำไส้เล็กจะแข็งตัว (Harden) และก่อร่างเพื่อเคลือบ (Coating) เป็นแนวด้านใน (Inner lining) ที่ค่อนข้างไม่ยอมให้สารอาหารผ่านไปได้ (Impermeable) นั่นหมายถึงการดูดซึมที่ไม่ดี อันส่งผลให้เกิดความอ่อนล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue)
นายแพทย์ เคิร์ท เอสเซลแบคเคอ (Kurt Esselbacher, M.D.) คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard) บันทึกว่า “การทดสอบตัวอย่างเลือดมากกว่า 25,000 ครั้ง แสดงว่า ผู้ใหญ่ที่บริโภคนมมิได้ดูดซึม (Absorb) สารอาหาร (Nutrient) ได้ดีเท่ากับผู้ที่มิได้บริโภคนม
นมก่อร่างเพื่อเคลือบเมือกภายในลำไส้เล็ก ส่งผลให้เกิดการดูดซึม (Absorption) และดูดซับ (Assimilation)”
นักวิจัยยังค้นพบว่า นมเป็นสาเหตุ (แทนที่จะป้องกัน) โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งในผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของนม และมีอัตราสูงสุดของการเป็นโรคกระดูกพรุน นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีสหสัมพันธ์ (Correlation) ระหว่างการบริโภค (Intake) นม กับโรคกระดูกพรุน
นักวิจัย ณ คณะสาธารณสุข (Public Health) ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ทบทวนการศึกษาทั้งหมดของการบริโภคนมในมนุษย์ แล้วบันทึกในปี ค.ศ. 2005 ว่า “ข้อเสนอแนะ (Recommendation) ให้ดื่มนมที่มีไขมันต่ำ (Low-fat) วันละ 3 แก้ว หรือ 3 เวลา เพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุนนั้น เป็นการเดินทางไปผิดทิศทาง”
ปัญหาก็คือ แม้นมวัวจะมีโปรตีนสูง แต่การมีโปรตีนมากเกินไป (Excessive) เป็นสาเหตุให้เลือดกลายเป็นกรด แต่เพื่อป้องกันการเพิ่มขึ้นของกรด ร่างกายเราจะดึงแคลเซียมออกจากกระดูก อันเป็นกระบวนการที่รู้จักกันในนาม การชะล้าง (Leaching) แคลเซียม
และยิ่งเราบริโภคโปรตีนมากเท่าไร ยิ่งทำให้เราสูญเสียแคลเซียม และการชะล้างแคลเซียมนี้ก็จะดำเนินต่อไป เว้นเสียแต่ว่าเราจะลดการบริโภคโปรตีน กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ การดื่มนมมากขึ้น มิได้หยุดการชะล้างแคลเซียมจากกระดูก แต่กลับเพิ่มขึ้น
ซูซาน สต็อคตัน ผู้ประพันธ์ “หนังสือแห่งสุขภาพ” (The Book of Health) กล่าวว่า
“เหตุผลหลักที่เราบกพร่อง (Deficient) แคลเซียม ก็คือ เราบริโภคโปรตีน (รวมทั้งผลิตภัณฑ์นม) มากเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุของสภาวะที่มีกรดมากเกินไป (Over-acid condition) ทำให้ร่างกายของเรา จำเป็นต้องขโมย (Rob) จากคลังของร่างกาย (Body’s store-house) กล่าวคือ กระดูกและเนื้อเยื่อ (Tissue) อื่นๆ เพื่อเป็นกันชน (Buffer) สภาวะกรด (Acidity) จากแร่ธาตุที่เป็นด่าง (Alkaline) หรือแคลเซียมนั่นเอง”
หมายเหตุ - บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ชัดเจน เพียงแต่มีกลุ่มคนที่ศึกษาในเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะที่ต่างออกไป อยากให้ผู้อ่านตระหนักว่า ยังเป็นแนวคิดใหม่ที่กำลังศึกษาอันน่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องระมัดระวังด้วย ในทางปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้ดีถึงสุขภาพ, นานาโรค, ยาต่างๆ, และคำแนะนำของแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันแล้ว ข้อสำคัญ ต้องไม่ให้เกิดโทษ เช่น ปฏิเสธวิธีเดิมทั้งๆ ที่แพทย์แนะนำ เป็นต้น
แหล่งข้อมูล
- Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
- Milk - https://en.wikipedia.org/wiki/Milk [2022, August 23].
- Kurt Julius Isselbacher - https://en.wikipedia.org/wiki/Kurt_Julius_Isselbacher [2022, August 23].