เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 42 – นม (1)

เจ็บไข้ได้ป่วย – นม (1)

สารพิษ (Poison) อันตรายร้ายแรงตัวที่ 3 ได้แก่ นมวัว (Milk) ซึ่งก็เป็นอาหารเลิศ (Perfect) สำหรับลูกวัว (Baby calf)!!!

ผู้คนที่ได้รับการเสี้ยมสอนว่า นมวัวเป็นอาหารเลิศ จะต้องตกใจ (Shocked) เมื่อได้ยินว่า การบริโภคนมและผลิตภัณฑ์นม (Dairy product) เป็นปัจจัยหลักที่ก่อให้เกิด (Major contributor) โรคกว่า 20+ ชนิดในเด็กและผู้ใหญ่

ธรรมชาติได้สร้างนมแม่คน (Mother’s milk) สำหรับลูกคน และนมแม่วัวสำหรับลูกวัว

ถ้าจะถามว่า การเปลี่ยนแปลงใดในอาหารอเมริกันที่สร้างประโยชน์ต่อสุขภาพมากที่สุด? กุมารแพทย์ รัสเซล บูไน (Pediatrician Russell Bunai) ตอบว่า “นำผลิตภัณฑ์นมออกจากรายชื่ออาหาร”

การดื่มนมได้รับการส่งเสริม (Promoted) ว่า เป็นสิ่งจำเป็น (Essential) สำหรับสุขภาพที่ดี โดยกล่าวกันว่าเป็นอาหารเลิศ จึงมีคำโฆษณาว่า “นมทำให้ร่างกายแข็งแรง” ฝังอยู่ (Imprinted) ในจิตใจเรา ตั้งแต่เยาว์วัย

กล่าวคือ อุตสาหกรรมนมและผลิตภัณฑ์จากนม (Dairy industry) โฆษณาชวนเชื่อให้ผู้คนมีความคิด (Idea) ว่า นมเป็นสิ่งจำเป็นต่อการสร้างกระดูก (Bone) ให้แข็งแรง

แต่ความจริงก็คือ

งานวิจัยมากมายในเรื่องนมและแคลเซียม (Calcium) แสดงผลที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง (Completely different)

ดร. วิลเลียม เอลลิส (Dr. William Ellis) ผู้ซึ่งได้ศึกษาผลกระทบของผลิตภัณฑ์นมมากว่า 4 ทศวรรษ กล่าวว่า “การทดสอบเลือดนับพันๆ ครั้ง ที่ผมได้ดำเนินการ แสดงให้เห็นว่า ผู้คนที่ดื่มนม 3 ถึง 4 แก้ว ทุกๆ วัน มักจะ (Invariably) มีระดับต่ำสุดของแคลเซียมในเลือด”

การทดสอบดังกล่าว สรุปได้ (Conclusively) ว่า ผู้ใหญ่ที่บริโภคผลิตภัณฑ์นม ไม่ได้ดูดซึม (Absorb) สารอาหาร (Nutrient) ดีเท่ากับผู้ที่มิได้บริโภคผลิตภัณฑ์นม

นอกจากนี้ ดร. เอลลิส ได้แจกแจง (Outline) ถึงวิธีการที่การดื่มนมเป็นสาเหตุของปัญหาการดูดซึม (Mal-absorption)

ประการแรก นมและผลิตภัณฑ์นม มีความสามารถสูงในการทำให้กรดไฮโดรคลอริค (Hydro-chloric acid) กลายเป็นกลาง (Neutralize) [กรดนี้ช่วยในการย่อยอาหาร] จึงบังคับ (Force) ให้กระเพาะอาหารของเราทำงานหนักขึ้น เพื่อผลิตกรดดังกล่าวในการช่วยย่อยอาหาร                                                                                

หมายเหตุ - บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่ยังไม่ชัดเจน เพียงแต่มีกลุ่มคนที่ศึกษาในเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะที่ต่างออกไป อยากให้ผู้อ่านตระหนักว่า ยังเป็นแนวคิดใหม่ที่กำลังศึกษาอันน่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องระมัดระวังด้วย ในทางปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้ดีถึงสุขภาพ, นานาโรค, ยาต่างๆ, และคำแนะนำของแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับกันแล้ว ข้อสำคัญ ต้องไม่ให้เกิดโทษ เช่น ปฏิเสธวิธีเดิมทั้งๆ ที่แพทย์แนะนำ เป็นต้น

แหล่งข้อมูล

  1. Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
  2. Poison - https://en.wikipedia.org/wiki/Poison [2022, August 16].
  3. Milk - https://en.wikipedia.org/wiki/Milk [2022, August 16].