เจ็บไข้ได้ป่วย ตอนที่ 28 – สารอาหาร (5)

เจ็บไข้ได้ป่วย – สารอาหาร (5)

ลองคิดดูให้ดีว่า ร่างกายของเราประกอบด้วยน้ำเกินกว่า 70% ส่วนที่เป็นสมองประกอบด้วยน้ำถึง 80% ดังนั้น น่าจะสมเหตุผล (Make sense) ที่เปอร์เซ็นต์ส่วนใหญ่ของอาหาร (Diet) ที่เรากินควรประกอบด้วยน้ำ ในปริมาณสูง (High water-content)

คำว่า “Live food” (อาหารสดเพื่อชีวิต) หมายถึงอาหารที่ให้กำลังวังชา (Vitality) ในปริมาณสูงและเอนไซม์ (Enzyme = โปรตีนที่ควบคุมปฏิกิริยาชีวเคมีในร่างกาย) อันเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทั้ง 2 ปัจจัยนี้จะถูกทำลายเมื่ออาหารได้รับความร้อนสูงถึง 40 องศาเซลเซียส

“Live Food” หมายถึงอาหารที่เป็นพืชซึ่งยังไม่ได้รับการปรุง (Cooked), แปรรูป (Processed), หรือปรุงแต่ง (Refined) ในหนทางใดๆ

“Live Food” ได้แก่ผัก (Vegetable) และ ผลไม้ (Fruit) อินทรีย์ (Organic) ที่ยังไม่ได้รับการปรุงแต่ง, เมล็ดถั่วดิบ (Raw nuts and seeds), หญ้า (Grass), ถั่วงอกทุกประเภท (Sprouted grains and beans) อาทิ หญ้าตระกูลถั่ว (Alfalfa), ถั่วเขียว (Mung beans), ใยป่าน (Flax), กัญชง (Hemp), เมล็ดเชีย (Chia), ฟักทอง (Pumpkin), งา (Sesame), และดอกทานตะวัน (Sun-flower)

อาหารเหล่านี้อุดม (Loaded) ด้วยสารอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ และมีคุณสมบัติในการรักษา (Healing property) และควรประกอบเป็น 70 ถึง 80% ของอาหารในชีวิตประจำวันของเรา

อาหารทุกชนิดมีพลังงานไฟฟ้า (Electrical energy) ถ้าเรายังคง (Constantly) กินอาหารที่ไม่ได้ให้พลังงาน ร่างกายของเราจะเริ่มกลายเป็นพิษ (Toxic) และมีกรดมาก (Acidic) อันที่จริง สารที่ช่วยเพิ่มพลังงานของเรา ได้แก่ ออกซิเจน, น้ำ, แสงแดด, และ “Live Food”

อาหารประเภทถั่วงอก รวมเมล็ดและหญ้า ล้วนให้พลังงานสูงสุด ในบรรดาอาหารด้วยกัน

แม้อยู่ในรูปแห้ง (Dried) เมล็ดเหล่านี้ก็มีชีวิตชีวา (Alive) แต่สงบเงียบ (Dormant) ระหว่างที่พรมน้ำให้เปียกชุ่ม (Soak) ส่วนที่งอกขึ้นจากเมล็ดจะช่วยปลุก (Awaken) ชีวิตที่เต็มไปด้วยกิจกรรมของเอนไซม์อย่างล้นหลาม (Abundance of enzyme activity)

กระบวนการงอกขึ้นจากเมล็ด (Germination) ช่วยเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ (Nutritional value) อย่างทวีคูณ (Exponential) เพื่อให้เมล็ดถั่ว กลายเป็นแหล่งที่อุดม (Rich source) ด้วยสารสีเขียวในพืช (Chlorophyll) และโปรตีนที่ช่วยทำให้เซลล์ของเราเกิดใหม่ (Re-generate) และสร้างเสริม (Boost) ระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น

หมายเหตุ- บล็อกเรื่องอาหารเป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ชัดเจน เพียงแต่มีกลุ่มคนที่ศึกษาในเรื่องนี้มีข้อเสนอแนะที่ต่างออกไป อยากให้ผู้อ่านตระหนักว่า ยังเป็นแนวคิดใหม่ ที่กำลังศึกษาว่า น่าจะเป็นประโยชน์ แต่ต้องระมัดระวังด้วย ในทางปฏิบัติจึงต้องพิจารณาให้ดี ถึงสุขภาพ, นานาโรค, ยาต่างๆ, และคำแนะนำของแพทย์ที่เป็นที่ยอมรับแล้ว ข้อสำคัญ ต้องไม่ให้เกิดโทษ เช่น ปฏิเสธวิธีเดิมทั้งๆ ที่แพทย์แนะนำ เป็นต้น

แหล่งข้อมูล

  1. Traverso, Matt. (2014). Health, Vitality, and Energy in Your Body (eBook). USA.
  2. Nutrient - https://en.wikipedia.org/wiki/Nutrient [2022, April 12].