อะดีโนซีน (Adenosine)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 12 สิงหาคม 2558
- Tweet
- บทนำ
- อะดีโนซีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
- อะดีโนซีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- อะดีโนซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- อะดีโนซีนมีขนาดการบริหารยาอย่างไร?
- เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
- อะดีโนซีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้อะดีโนซีนอย่างไร?
- อะดีโนซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาอะดีโนซีนอย่างไร?
- อะดีโนซีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- โรคหัวใจ: โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease)
- หัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะหัวใจเสียจังหวะ (Arrhythmia)
- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ อีเคจี อึซีจี (Electrocardiogram หรือ EKG หรือ ECG)
- ยาขยายหลอดลม (Bronchodilator)
- กาเฟอีน คาเฟอีน (Caffeine)
บทนำ
ยาอะดีโนซีน (Adenosine) เป็นสารประเภทนิวคลีโอไซด์ (Nucleoside, สารชนิดหนึ่งในกระบวนการทำงานของเซลล์) ใช้เป็นยารักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยไปชะลอคลื่นไฟฟ้าที่ถูกส่งไปที่หัวใจส่งผลให้หัวใจเต้นช้าลงและกลับมาสู่ภาวะการเต้นที่เป็นปกติ ลักษณะยาแผนปัจจุบันของยานี้จะเป็นยาฉีดโดยการใช้แต่ละครั้งจะมีปริมาณที่น้อยๆ
ตามสถานพยาบาลต่างๆจัดให้ยาอะดีโนซีนเป็นยาอันตรายที่มีความเสี่ยงสูง และในประเทศไทยจะพบเห็นภายใต้ชื่อการค้าว่า Adenocor ลักษณะยาจะถูกผลิตเพื่อเป็นยาฉีดทำเป็นสารละ ลายใสบรรจุในขวดเฉพาะขนาดเล็กที่เรียกว่าไวแอล (Vial) โดยมีปริมาณยาเทียบเท่า 6 มิลลิกรัม /2 มิลลิลิตร การใช้ยานี้เพื่อให้อัตราการเต้นของหัวใจกลับมาเป็นปกติโดยเร็ว แพทย์/เจ้าหน้าที่ต้องใช้ความระมัดระวังและต้องมีความรู้ทางด้านพยาธิสภาพต่างๆของหัวใจเป็นอย่างดีรวมถึงข้อ จำกัดของผู้ป่วยในการใช้ยานี้เช่น
- เคยแพ้ยาชนิดนี้มาก่อน
- มีความผิดปกติของการนำไฟฟ้าหัวใจจากห้องบนสู่ห้องล่างในระดับที่ 2 หรือ 3 (Second or third-degree AV block) โดยผู้ป่วยยังมิได้ติดตั้งเครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ (Artificial pacemaker)
- ผู้ป่วยมีโรคหืดอยู่ก่อนแล้วหรือไม่
- หรือต้องพิจารณาภาวะเสี่ยงด้านอื่นๆของผู้ป่วยเช่น มีการใช้ยาบางกลุ่มอยู่ก่อนที่หากได้ รับยาอะดีโนซีนเพิ่มเข้าไปอาจกระตุ้นให้เกิดการชัก หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้น หรือก่อให้เกิดอา การข้างเคียง (ผลข้างเคียง) จากยาอะดีโนซีนเพิ่มมากยิ่งขึ้น หรือตรงกันข้ามยาเหล่านั้นไปลดฤทธิ์การบำบัดรักษาของยาอะดีโนซีน ซึ่งการใช้ยานี้หากเกิดข้อผิดพลาดสามารถทำให้ผู้ป่วยถึง กับเสียชีวิต (ตาย) ได้
ตัวยาอะดีโนซีนเมื่อถูกฉีดเข้าร่างกายภายในเวลาไม่เกิน 10 วินาที จะถูกกำจัดออกจากร่างกายถึงครึ่งหนึ่งจากปริมาณยาที่ได้รับ ขณะที่ใช้ยาต้องมีเครื่องมือคอยตรวจสอบการทำงานของคลื่นไฟฟ้าหัวใจกำกับควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อดูการพัฒนาการเต้นของหัวใจหลังใช้ยาว่าสม ควรต้องให้ยานี้ซ้ำหรือหยุดการให้ยาได้แล้ว
กรณีเป็นสตรีควรต้องทราบถึงสภาวะทางร่างกายอย่างชัดเจนว่าอยู่ในระหว่างการตั้งครรภ์หรือไม่ด้วยการให้ยาทางกระแสเลือดย่อมมีผลต่อทารกในครรภ์โดยตรง
ข้อพึงระวังอีกประการ หลังการให้ยานี้แล้วพบว่าร่างกายผู้ป่วยมีอาการผื่นคันขึ้น เป็นลมพิษ ใบหน้า-ปาก-คอมีอาการบวม การเต้นของหัวใจผิดจังหวะมากขึ้น เจ็บหน้าอก อึดอัดหายใจไม่ออก/หายใจลำบาก อาจแสดงถึงผลของอาการข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงหรือถึงขั้นแพ้ยาก็ได้ ด้วยยานี้เป็นยาที่มีความเสี่ยงสูง สถานพยาบาลจึงต้องเก็บในสถานที่ที่ปลอดภัยเพื่อป้องกันการหยิบยาผิด มีการตรวจสอบความถูกต้องในสถานะของยาว่าพร้อมใช้งานหรือไม่ หมดอายุแล้วหรือยัง ซึ่งขั้นตอนรายละเอียดดังข้างต้นต้องอาศัยการเรียนรู้และฝึกหัดอยู่เป็นประจำ
อะดีโนซีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?
ยาอะดีโนซีนมีสรรพคุณ/ข้อบ่งใช้เพื่อรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภท Paroxysmal supraventricular tachycardias
อะดีโนซีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
กลไกการออกฤทธิ์ของยาอะดีโนซีนคือ ตัวยาจะควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อและของหลอดเลือดบริเวณหัวใจ โดยทำให้กล้ามเนื้อหัวใจมีแรงบีบตัวมากขึ้น หลอดเลือดเกิดการขยาย ตัว และยังออกฤทธิ์กดการทำงานของเนื้อเยื่อต้นกำเนิดสัญญาณไฟฟ้าหัวใจ (Sinoatrial node และ Atrioventricular node) ประกอบกับช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสารเคมีโดยมีการสร้างสมดุลใหม่จนทำให้ภาวะการเต้นผิดจังหวะของหัวใจกลับมาเป็นปกติเหมือนเดิม
อะดีโนซีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
ยาอะดีโนซีนมีขนาดการบริหารยา/การใช้ยาเช่น
- ผู้ใหญ่: เริ่มต้นฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ 3 มิลลิกรัม หากอาการของผู้ป่วยยังไม่ดีขึ้นอาจต้องฉีดยาอีก 6 มิลลิกรัมเข้าหลอดเลือด และหากต้องฉีดยาเป็นครั้งที่ 3 เพื่อเร่งช่วยชีวิตผู้ป่วย อาจฉีดยาอีก 12 มิลลิกรัม ซึ่งการใช้ยาต้องเป็นไปตามความเห็นของแพทย์ผู้รักษาในขณะนั้น
- เด็ก: การใช้ยาจะคำนวณจากน้ำหนักตัวของเด็ก และใช้ยาในช่วง 0.022 - 0.037 มิลลิ กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม และต้องอยู่ในการดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
*****หมายเหตุ:
- ขนาดยาและระยะเวลาในการใช้ยาที่ระบุในบทความนี้เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถใช้ทดแทนคำสั่งใช้ยาของแพทย์ได้ การใช้ยาที่เหมาะสมควรต้องปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?
เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมถึงยาอะดีโนซีน ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรดังนี้
- ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยา/ใช้ยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
- มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาหรืออาหารเสริมอะไรอยู่ เพราะยาอะดีโนซีนอาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาและ/หรือกับอาหารเสริมอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
- หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประ เภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้
อะดีโนซีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
ยาอะดีโนซีนสามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ดังนี้เช่น
- อาการข้างเคียงที่พบได้บ่อยมาก: เช่น หน้าแดง หัวใจเต้นช้า หัวใจหยุดเต้น และเกิดอา การผิดปกติต่างๆของการเต้นของหัวใจทั้งห้องล่างและห้องบนจากกระแสไฟฟ้าหัวใจผิดปกติเช่น Sinus pause, AV block, Atrial extrasystole, Ventricular excitability disorders
- อาการข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป: เช่น ปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้
- อาการข้างเคียงที่ไม่ค่อยพบเห็นแต่อาจเกิดขึ้นได้: เช่น ตาพร่า ชีพจรเต้นผิดจังหวะ
- อาการข้างเคียงที่พบได้น้อยมาก: เช่น หัวใจเต้นช้าอย่างรุนแรง หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้น ความดันในสมองสูง/ความดันในกระโหลกศีรษะสูง
หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?
หากลืมรับประทานยา 5-ไฮดร็อกซีทริปโตเฟนสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า
มีข้อควรระวังการใช้อะดีโนซีนอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้ยาอะดีโนซีนเช่น
- ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยานี้
- ห้ามใช้ยานี้กับผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจชนิดมีการผิดปกติในการทำงานของกระแสไฟฟ้าหัวใจ เช่น Second third-degree AV block, Sick sinus syndrome และไม่ได้ใช้เครื่องกำหนดจังหวะการเต้นของหัวใจ
- ระวังการใช้ยานี้กับผู้ป่วยภาวะหัวใจห้องบนเต้นผิดจังหวะ
- ระหว่างการให้ยานี้ทางหลอดเลือดดำ การใช้น้ำเกลือที่ปราศจากเชื้อฉีดไล่และผลักดันให้ยากระจายตัวได้เร็วขึ้นอาจมีความจำเป็นต้องใช้ร่วมด้วยที่ปกติผู้ปฏิบัติการให้ยาจะเตรียมความพร้อมในประเด็นนี้อยู่แล้ว
- ระวังการใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์และสตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร
- ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
- ห้ามใช้ยาหมดอายุ
- ห้ามเก็บยาหมดอายุ
***** อนึ่ง:
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาอะดีโนซีนด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวม ทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
อะดีโนซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
ยาอะดีโนซีนมีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น
- การใช้ยาอะดีโนซีนร่วมกับยาขยายหลอดลมเช่น Theophylline หรือกับสาร Caffeine อาจก่อให้เกิดการลดประสิทธิภาพของอะดีโนซีน ทางคลินิกแนะนำให้หยุดการใช้ยา Theophyl line หรือสาร Caffeine เป็นเวลา 12 - 24 ชั่วโมงก่อนการใช้อะดีโนซีน กรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แพทย์อาจต้องปรับขนาดการใช้ยากับผู้ป่วยเป็นรายบุคคลไป
- การใช้ยาอะดีโนซีนร่วมกับยา Amiodarone อาจเพิ่มความเสี่ยงของหัวใจเต้นผิดจังหวะได้มากขึ้น หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
ควรเก็บรักษาอะดีโนซีนอย่างไร?
สามารถเก็บยาอะดีโนซีนได้ในอุณหภูมิห้องที่เย็น เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง แดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
อะดีโนซีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
ยาอะดีโนซีนที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าอื่นและบริษัทผู้ผลิตเช่น
ชื่อการค้า | บริษัทผู้ผลิต |
---|---|
Adenocor (อะดีโนคอร์) | sanofi-aventis |
บรรณานุกรม
- http://mims.com/Thailand/drug/info/Adenocor/?type=brief [2015,July25]
- http://www.drugs.com/cdi/adenosine.html [2015,July25]
- http://www.cvpharmacology.com/antiarrhy/adenosine [2015,July25]
- http://hyper.ahajournals.org/content/18/5/565 [2015,July25]
- http://druginfosys.com/Drug.aspx?drugCode=1216&drugName= [2015,July25]
- http://www.drugs.com/drug-interactions/adenosine-with-theomar-gg-105-0-1214-2067.html [2015,July25]