อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ (Adrenergic agonist)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

ยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ (Adrenergic agonist หรือ Adrenergic amine หรือ Adrenergic drug หรือ Adrenergic agent) เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อร่างกายโดยตัวยาจะกระตุ้นตัวรับ (Receptor) ของร่างกายที่ถูกเรียกว่า อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ (Adrenergic receptors) ซึ่งสามารถแบ่งตัว รับเหล่านี้เป็นอีก 5 ประเภทย่อยคือ แอลฟา1 (Alpha 1 Adrenergic receptor หรือ Alpha 1 recep tor), แอลฟา2 (Alpha 2 Adrenergic receptor หรือ Alpha 2 receptor), เบต้า1 (Beta 1 Adrener gic receptor หรือ Beta 1 receptor), เบต้า2 (Beta 2 Adrenergic receptor หรือ Beta 2 recep tor), และเบต้า3 (Beta 3 Adrenergic receptor หรือ Beta 3 receptor) โดยการถูกกระตุ้นที่ตัวรับดังกล่าวจะทำให้เอนไซม์บางตัวในร่างกายสามารถทำงานได้หรือไม่ก็ถูกยับยั้งการทำงานอย่างเช่น

  • ยากลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ชนิดที่กระตุ้นตัวรับแอลฟา1 (Alpha1-receptors) จะเกิดการปลดปล่อยและการกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานของเซลล์ต่างๆได้แก่ เอนไซม์ Phospholipase C และ Protein kinase A
  • หากยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ชนิดกระตุ้นที่ตัวรับแอลฟา2 (Alpha2-receptors) จะเกิดการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่เกี่ยวกับการใช้พลังงานของเซลล์ต่างๆที่มีชื่อว่า เอนไซม์ Adenylate cyclase และ Protein kinase A
  • กรณียาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ชนิดกระตุ้นที่ตัวรับกลุ่มเบต้า (Beta-receptors) จะกระตุ้นการทำงานของเอนไซม์ Adenylate cyclase และ Protein kinase A

การที่ตัวรับต่างๆถูกกระตุ้นโดยยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ จะส่งผลให้ร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงสารของชีวะเคมี (Biochemical substance) ต่างๆและมีการตอบสนองต่อสารสื่อประสาทต่างๆเช่น ทำให้มีความดันโลหิตเพิ่มขึ้น หลอดลมเกิดการขยายตัว ลดการบีบตัวหรือการเคลื่อนตัวของกระเพาะอาหาร รูม่านตาขยาย เป็นต้น

อาจกล่าวโดยสรุปให้ง่ายและให้กระชับอีกครั้งว่า ยากลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์เป็นยาที่มีโครงสร้างใกล้เคียงหรือเลียนแบบสารสื่อประสาทต่างๆของร่างกายที่ช่วยกระตุ้นให้มีการทำงานของอวัยวะต่างๆภายในร่างกายให้เกิดความสมดุลและให้ทำงานอย่างเหมาะสม ทางคลินิกจึงได้นำยากลุ่มนี้มาช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยได้หลายกลุ่มอาการ/โรคอาทิเช่น

  • เพิ่มความดันโลหิตในภาวะผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตต่ำ
  • ทำให้หลอดเลือดหดตัวจึงช่วยในเรื่องการห้ามเลือด/ช่วยให้เลือดหยุดไหลกรณีมีเลือดออกผิดปกติ
  • ช่วยเป็นยาขยายหลอดลมทำให้ผู้ป่วยหายใจได้สะดวกและไม่รู้สึกทรมานเหมือนขาดอากาศ/ภาวะหายใจลำบากจากหลอดลมหดตัวตีบแคบ
  • เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจในกรณีที่หัวใจมีการเต้นช้าผิดปกติ

อย่างไรก็ตามบุคคลที่ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยากลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ได้แก่ ผู้ป่วยโรคหัว ใจเช่น ผู้ที่มีอาการของหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมถึงผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ยากลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ยังสามารถก่อให้เกิดอาการข้างเคียง (ผลข้างเคียง) ที่พบเห็น ได้บ่อยๆเช่น เกิดภาวะวิตกกังวล ตื่นตัว/ตื่นเต้นค่อนข้างมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ และคลื่นไส้

ทั้งนี้อาจจำแนกกลุ่มยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ตามชนิดของตัวรับที่ถูกกระตุ้นได้ดังนี้

1. แอลฟา1-อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (Alpha1-adrenergic receptor agonist) มีตัวอย่างของยาดังต่อไปนี้เช่น Amidephrine, Anisodamine, Anisodine, Cirazoline, Dipivefrine, Dopamine, Ephedrine, Epinephrine, Etilefrine, Ethylnorepinephrine, 5-Fluoronorepine phrine, 6-Fluoronorepinephrine, Indanidine, Levonordefrin, Metaraminol, Methoxamine, Methyldopa, Midodrine, Naphazoline, Norepinephrine, Octopamine, Oxymetazoline, Phenylephrine, Phenylpropanolamine, Pseudoephedrine, Synephrine, Tetrahydrozoline

2. แอลฟา2-อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (Alpha2-adrenergic receptor agonist) มีตัวอย่างของยาดังต่อไปนี้เช่น Amitraz, Apraclonidine, Brimonidine, Cannabivarin, Clonidine, Detomidine, Dexmedetomidine, Dihydroergotamine, Dipivefrine, Dopamine, Ephedrine, Ergotamine, Epinephrine, Esproquin, Etilefrine, Ethylnorepinephrine, 6-Fluoronorepine phrine, Guanabenz, Guanfacine, Guanoxabenz, Levonordefrin, Lofexidine, Medetomidine, Methyldopa, Mivazerol, Naphazoline, Norepinephrine, Phenylpropanolamine, Piperoxan, Pseudoephedrine, Rilmenidine, Romifidine, Talipexole, Tetrahydrozoline, Tizanidine, Tolonidine, Urapidil, Xylazine, Xylometazoline

3. ยากลุ่มเบต้า-อะดรีเนอร์จิก รีเซพเตอร์ อะโกนิสต์ (Beta-adrenergic receptor agonist) มีตัวอย่างของยาในกลุ่มนี้ดังต่อไปนี้เช่น Abediterol, Amibegron, Arbutamine, Arformoterol, Arotinolol, Bambuterol, Befunolol, Bitolterol, Bromoacetylalprenololmenthane, Broxaterol, Buphenine, Carbuterol, Cimaterol, Clenbuterol, Denopamine, Detereno, Dipivefrine, Dobu tamine Dopamine, Dopexamine, Ephedrine, Epinephrine, Etafedrine, Etilefrine, Ethylnore pinephrine, Fenoterol, 2-Fluoronorepinephrine, 5-Fluoronorepinephrine, Formoterol, Hexoprenaline, Higenamine, Indacaterol Isoetarine, Isoprenaline, N-Isopropyloctopamine, Isoxsuprine, Labetalol, Levonordefrin, Levosalbutamol, Mabuterol, Methoxyphenamine, Methyldopa, Norepinephrine, Orciprenaline, Oxyfedrine, Phenylpropanolamine, Pirbuterol, Prenalterol, Ractopamine, Procaterol, Pseudoephedrine, Quinterenol, Reproterol, Rimite rol, Ritodrine, Salbutamol, Salmeterol, Solabegron, Terbutaline, Tretoquinol, Tulobuterol, Xamoterol, Zilpaterol, Zinterol

อนึ่งมียาในกลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์หลายรายการที่องค์การอนามัยโลกระบุให้เป็นยาจำเป็นขั้นพื้นฐานที่สถานพยาบาลต่างๆควรมีสำรองใช้เพื่อให้บริการรักษาผู้ป่วย ทั้งยังถูกบรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติของประเทศไทยอีกด้วยเช่น Dopamine, Epinephrine

รูปแบบของผลิตภัณฑ์ของยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีทั้งยาชนิดรับประทาน ยาอม ยาฉีด ยาใช้เฉพาะที่ ยาหยอดตา ยาพ่นจมูก พลาสเตอร์ปิดผิวหนัง ซึ่งการจะเลือกใช้ยาตัวใดในกลุ่มนี้เพื่อการรักษากลุ่มอาการโรคต่างๆจะต้องอาศัยแพทย์ผู้ชำนาญการทั้งสิ้น ห้ามมิให้ผู้บริโภค/ผู้ป่วยไปซื้อหายากลุ่มนี้มาใช้เองโดยเด็ดขาด

อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

อะดรีเนอร์จิก_อะโกนิสต์

สรรพคุณ/ข้อบ่งใช้ของยาในกลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีมากมาย ทั้งนี้ขึ้นกับโครงสร้างทางเคมีและตำแหน่งของการออกฤทธิ์ที่ตัวรับชนิดต่างๆของแต่ละตัวยาย่อยตามที่ระบุในหัวข้อ “บทนำ” ซึ่งพอสรุปสรรพคุณที่นำมาใช้ทางคลินิกของยากลุ่มนี้เช่น

  • ช่วยเพิ่มความดันโลหิตในผู้ป่วยที่มีภาวะช็อก
  • หยุดการไหลของเลือดจากบาดแผล/ใช้เป็นยาห้ามเลือด
  • ช่วยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจให้กลับมาเป็นปกติ
  • บำบัดภาวะหัวใจล้มเหลว
  • ทำให้หลอดลมขยายตัว/ยาขยายหลอดลม ทำให้การไหลเวียนของอากาศเข้าสู่ปอดเป็นไปอย่างปกติ
  • บำบัดอาการโรคต้อหินโดยลดปริมาณของเหลวในลูกตาส่งผลให้แรงดันในลูกตาลดลง
  • ลดอาการคัดจมูกหรือภาวะแน่นจมูกด้วยมีสารคัดหลั่งออกมาในโพรงจมูกเป็นปริมาณมาก
  • บำบัดภาวะเกลือโพแทสเซียมในเลือดสูง
  • ช่วยบำบัดอาการภาวะ/โรคภูมิแพ้ของร่างกาย
  • บำบัดอาการปัสสาวะบ่อย
  • บำบัดอาการผู้ที่ได้รับพิษจากยากลุ่มเบต้า บล็อกเกอร์ (Beta blocker poisoning)

อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

ยากลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธิ์ในบริเวณตัวรับชนิด Alpha1 receptor, Alpha2 receptor และตัวรับในกลุ่ม Beta ได้แก่ Beta1 receptor, Beta2 receptor และ Beta3 receptors ส่งผลให้ร่างกายมีการตอบสนองโดยเป็นไปตามธรรมชาติของตัวยาที่มากระตุ้นหรือที่ออกฤทธิ์ที่อวัยวะต่างๆภายในร่างกายอย่างเช่น หลอดเลือด หลอดลม หัวใจ กระเพาะปัสสาวะ ฯลฯ ซึ่งการตอบสนองของร่างกายดังกล่าวจะต้องได้รับตัวยาเหล่านี้ในปริมาณที่ถูกต้องและเหมาะสมกับอาการโรคของผู้ป่วย จึงจะส่งผลดีและช่วยบำบัดอาการเจ็บป่วย และเป็นที่มาของสรรพคุณ

อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายเช่น

  • ยาชนิดรับประทานทั้งชนิดเม็ด แคปซูล และน้ำ
  • ยาฉีดทั้งชนิดฉีดเข้าหลอดเลือด เข้ากล้ามเนื้อ และฉีดเข้าใต้ผิวหนัง
  • ยาพ่นจมูก
  • ยาหยอดตา
  • ยาทาเฉพาะที่
  • ยาพลาสเตอร์ปิดผิวหนัง

อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีขนาดการบริหารยาอย่างไร?

การใช้ยา/การบริหารยากลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์กับผู้ป่วยแต่ละรายจะต้องเป็นไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น โดยมีปัจจัยของลักษณะโรค อายุ เพศ โรคประจำตัว รวมถึงยาอื่นๆที่ผู้ป่วยมีใช้อยู่ก่อนนำมาประกอบกันเพื่อแพทย์สั่งจ่ายยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ได้ถูกต้องเหมาะสมและปลอดภัยที่สุด

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดรวมยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและ เภสัชกรดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยา/ใช้ยาแล้วคลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยา/ใช้ยาอะไรอยู่ เพราะยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรืออาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กิน/ที่ใช้อยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารกจนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

โดยทั่วไปการรับประทานยากลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์จะต้องเป็นไปตามคำสั่งแพทย์ ผู้ป่วยต้องรับประทานยาตรงเวลาและไม่ควรปรับขนาดรับประทานด้วยตนเอง กรณีลืมรับประทานยากลุ่มนี้ผู้ป่วยสามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ หากเวลาใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า ให้ข้ามมื้อยาที่ลืมรับประทานและให้รับประทานยาในขนาดปกติ

อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

การใช้ยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์สามารถก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) ต่อระบบอวัยวะต่างๆของร่างกายดังนี้เช่น

  • ผลต่อหัวใจ: เช่น มีอาการเจ็บหน้าอก/แน่นหน้าอก ชีพจรหรือหัวใจเต้นเร็ว ชีพจรเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตสูง หนังตา-ใบหน้า-มือ-เท้ามีอาการบวม
  • ผลต่อระบบประสาท: เช่น ปวดศีรษะ มีไข้ หนาวสั่น วิงเวียน เป็นลม
  • ผลต่อสภาพจิตใจ: เช่น วิตกกังวล กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ
  • ผลต่อกล้ามเนื้อ: เช่น ปวดกล้ามเนื้อ เป็นตะคริว กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ผลต่อระบบทางเดินอาหาร: เช่น คลื่นไส้ อาเจียน เจ็บคอ
  • ผลต่อระบบทางเดินปัสสาวะ: เช่น ปัสสาวะไม่ออก/ปัสสาวะขัด
  • ผลต่อผิวหนัง: เช่น มีผื่นคัน
  • ผลต่อระบบทางเดินหายใจ: เช่น หายใจขัด/หายใจลำบาก

มีข้อควรระวังการใช้อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์เช่น

  • ห้ามใช้กับผู้ป่วยแพ้ยาในกลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์
  • ห้ามใช้ยานี้กับสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ โดยไม่มีคำสั่งจากแพทย์
  • ห้ามปรับขนาดการใช้ยานี้หรือหยุดการใช้ยานี้ด้วยตนเอง
  • ห้ามไปซื้อหายานี้มาใช้เองโดยมิได้ขอคำปรึกษาจากแพทย์
  • กรณีพบอาการแพ้ยานี้เช่น มีผื่นคันขึ้นเต็มตัว หายใจไม่ออก/หายใจลำบาก ตัวบวม ต้องรีบนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
  • หากใช้ยานี้ตามระยะเวลาที่แพทย์แนะนำแล้วอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรกลับมาพบแพทย์/มาโรงพยาบาลเพื่อแพทย์พิจารณาปรับแนวทางการรักษา
  • แจ้งแพทย์ถึงประวัติ โรคประจำตัว มียาอื่นชนิดใดที่ใช้อยู่บ้างโดยละเอียดก่อนที่จะเข้ารับการรักษา/การใช้ยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ทุกครั้ง
  • ปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัดและมาพบแพทย์/มาโรงพยาบาลตามนัดทุกครั้ง
  • ห้ามแบ่งยาให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามใช้ยาหมดอายุ
  • ห้ามเก็บยาหมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยากลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิดและสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นเช่น

  • การใช้ยากลุ่มอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ร่วมกับยากลุ่มอะดรีเนอร์จิก แอนตาโกนิสต์ (Adrenergic antagonist/Adrenergic receptor antagonist/Sympatholytic drug) จะเกิดการต้านฤทธิ์ซึ่งกันและกันในระหว่างยาทั้ง 2 กลุ่ม หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • การใช้ยา Pseudoephedrine ร่วมกับยากลุ่ม MAOIs อาจนำมาซึ่งภาวะความดันโลหิตสูง เพื่อป้องกันภาวะดังกล่าวควรเลี่ยงการใช้ยาร่วมกัน
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยา Phenylephrine ร่วมกับยากลุ่ม TCA และยา Hydrocortisone ด้วยการใช้ยาร่วมกันจะก่อให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงตามมา

ควรเก็บรักษาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์อย่างไร?

ควรเก็บยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ตามเงื่อนไขที่ระบุในเอกสารกำกับยาหรือตามคำแนะนำของแพทย์/เภสัชกร เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง ไม่เก็บยาในช่องแช่แข็งตู้เย็น และไม่เก็บยาในห้องน้ำหรือในรถยนต์

อะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาอะดรีเนอร์จิก อะโกนิสต์ที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าและบริษัทผู้ผลิต/ผู้จำหน่ายเช่น

ชื่อการค้าบริษัทผู้ผลิต
Aerotamol 100 (เอโรทามอล 100)Aerocare
Antomol (แอนโทมอล)Medicine Products
Asmasal SDU (แอสมาซอล เอสดียู)Silom Medical
Asmasal Syrup (แอสมาซอล ไซรัป)Silom Medical
Asmol (แอสมอล)Suphong Bhaesaj
Asthalin CFC-Free (แอสทาลิน ซีเอฟซี-ฟรี)Cipla
Asthamol (แอสทามอล)Okasa Pharma
Asthmolin (แอสโมลิน)Pharmasant Lab
Bronchosol (บรอนโชซอล)Siam Bheasach
Buto-Asma (บูโท-แอสมา)Lab Aldo-Union
Buventol Easyhaler (บูเวนทอล อิสซีเฮเลอร์)Orion
Durasal-CR (ดูราซอล-ซีอาร์)Raptakos
Naso (นาโซ)T.Man Pharma
Sabumol (ซาบูมอล)GPO
Salbusian (ซาลบูเซียน)Asian Pharm
Salbutac (ซาลบูแทค)Polipharm
Salbutamol GPO (ซาลบูทามอล จีพีโอ)GPO
Salbutamol Inhalation CFC-Free (ซาลบูทามอล อินฮาลาชั่น ซีเอฟซี-ฟรี)Jewim
Salbutamol Medicpharma (ซาลบูทามอล เมดิฟาร์มา)Medicpharma
Salbutamol Osoth (ซาลบูทามอล โอสถ)Osoth Interlab
Salbutamol Utopian (ซาลบูทามอล ยูโทเปียน)Utopian
Saldol (ซาลดอล)The Forty-Two
Salmol Atlantic (ซาลมอล แอทแลนติก)Atlantic Lab
Salmol Syrup (ซาลมอล ไซรัป)Biolab
Salvent (ซาลเวนท์)Okasa Pharma
Sulbuta-N (ซาลบูทา-เอ็น)L. B. S.
Venterol (เวนเทอรอล)Greater Pharma
Ventolin (เวนโทลิน)GlaxoSmithKline
Violin (ไวโอลิน)T.O. Chemicals
Zalbu Nebule (ซาลบู เนบลู)Pharma Innova
Asthnyl (แอสนิล)Osoth Interlab
Broncholine (บรอนโชลีน)T.O. Chemicals
Cofbron (คอฟบรอน)MacroPhar
P-Canyl (พี-คานิล)Osoth Interlab
Terbu Expectorant (เทอร์บู เอกซ์เปคโทแรนท์) Community Pharm PCL
Terbutaline Sulfate GPO (เทอร์บูทาลีน ซัลเฟต จีพีโอ) GPO
Terbutaline T.O. (เทอร์บูทาลีน ที.โอ.) T. O. Chemicals
Tolbin (ทอลบิน)Unison
Caterol (แคเธอรอล)Pharmasant Lab
Meptin (เมพทิน)Otsuka
Aerobidol (แอโรบิดอล)Aerocare
Berodual/Berodual Forte (เบโรดูแอล/เบโรดูแอล ฟอร์ท)Boehringer Ingelheim
Inhalex/Inhalex Forte (อินแฮเล็กซ์/อินแฮเล็กซ์ ฟอร์ท) Silom Medical
Iperol/Iperol Forte (ไอเพอรอล/ไอเพอรอล ฟอร์ท)L. B. S.
Iprateral (อิแพรเทอรอล)Pharma Innova
Punol (พูนอล)Biolab
Seretide (เซเรไทด์)GlaxoSmithKline
Serevent (เซเรเวนท์)GlaxoSmithKline
Seroflo 125 (เซโรโฟล)Cipla
Oxis (อ๊อกซิส)AstraZeneca
Symbicort/Symbicort Fort (ซิมบิคอร์ท/ซิมบิคอร์ท ฟอร์ท) AstraZeneca
Zenhale (เซนเฮล)MSD
Bambec (แบมเบค)AstraZeneca
Onbrez Breezhaler (ออนเบรซ บรีซแฮเลอร์)Novartis
Alergin (อะเลอจิน)Cipla Limited
Asthimo (แอสทิโม)Jagsonpal Pharmaceuticals Ltd
Binkof (บินคอฟ)Bini Laboratories Pvt. Ltd
Ephedrine Nasal Drops (เอฟีดรีน นาซอลดร็อป)Thornton and Ross Ltd.
Efipres (อีฟิเพรส)Neon Laboratories Ltd
Ephedrine (อีฟีดรีน)Unicure (India) Pvt.Ltd.
Ephedrine Hydrochloride (อีฟีดรีน ไฮโดรคลอไรด์) Cyper Pharma
Sulfidrin (ซัลไฟดริน)Samarth Pharma Pvt.Ltd.
Tedral SA (เทดรัล เอสเอ)Pfizer Limited
Aorinyl (เอโอรีนิล)Medicine Products
Apracur (อะพราเคอร์)Apracure
Asiatapp (เอเชียแท็ป)Asian Pharm
Bepeno (เบเพโน)Milano
Bepeno-G (เบเพโน-จี)Milano
Bromceryl (บรอมเซอริล)Suphong Bhaesaj
Bromesep (บรอมอีเซพ)Siam Bheasach
Bromlamine (บรอมลามีน)Chinta
Bromped (บรอมเพด)B L Hua
Bromtussia (บรอมทัสเซีย)Asian Pharm
C-Colotab (ซี-โคโลแท็บ)Chinta
Centapp (เซนแท็บ)Central Poly Trading
Chlorgest (คลอเจส)Ranbaxy
CliniCold (คลีนิโคล)Bangkok Lab & Cosmetic 
Coolby Cough (คูลบี คอท)Central Poly Trading
Decolgen (ดีคอลเจน)Great Eastern
Dimetapp Elixir (ไดมีแท็บ อิลิเซอร์)Pfizer Consumer Healthcare
Ditap (ไดแท็บ)T. O. Chemicals
Eye-Gene (อาย-จีน)LF Asia 
K.B. Fedamol (เค.บี. เฟดามอล)K.B. Pharma
McXY Cold (แม็กซ์ซี คูล)Millimed
Meditapp (เมดิแท็บ)Medifive
Mexy (เม็กซี่)Millimed
Nasotane (นาโซแทน)Community Pharm PCL
Nasotapp (นาโซแท็บ)Community Pharm PCL
Pacogen (พาโคเจน)Chinta
Painol (ไพนอล)The Forty-Two
Phemine (เฟมีน)T. Man Pharma
Phenylephrine HCl Silom Medical (ฟีนิลเอฟรีน เฮชซีไอ สีลม เมดิคอล)Silom Medical
Polydrop (โพลีดร็อป)Central Poly Trading
Sinufen (ซินูเฟน)Medicpharma
St Luke's Cold (เซนต์ ลุกส์ โคล)British Dispensary (L.P.)
Tiffy (ทิฟฟี่)Thai Nakorn Patana
Unihist (ยูนิฮิสท์)Unison
Visotone (วิโซโตน)British Dispensary (L.P.)

บรรณานุกรม

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_adrenergic_drugs [2016,July2]
  2. http://www.healthline.com/health/adrenergic-drugs#Overview1 [2016,July2]
  3. https://en.wikipedia.org/wiki/Adrenergic_agonist [2016,July2]
  4. http://www.codental.uobaghdad.edu.iq/uploads/lectures/Pharma%20lectures/7%20Adrenergic%20agonists-.pdf [2016,July2]
  5. http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/beta-2-adrenergic-agonist-oral-route-injection-route/side-effects/drg-20069364 [2016,July2]
  6. https://en.wikipedia.org/wiki/Beta-adrenergic_agonist [2016,July2]
  7. http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/2885407 [2016,July2]
  8. https://www.drugs.com/cons/beta-2-adrenergic-agonist-oral-injection.html [2016,July2]