ยาคลายกล้ามเนื้อ (Muscle relaxants drugs)
- โดย ภก. กรชัย ฉันทจิรธรรม
- 1 มีนาคม 2557
- Tweet
- โรคกระดูก (Bone disease)
- โรคข้อรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis)
- โรคกล้ามเนื้อ โรคระบบกล้ามเนื้อ (Muscle disease)
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
ยาคลายกล้ามเนื้อ หมายถึงยาที่ใช้บรรเทาอาการเจ็บปวดเฉียบพลัน เนื่องจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle spasm) เนื่องจากการบาดเจ็บ หรือโรคของกล้ามเนื้อ และ/หรือของกระดูก (Muscu loskeletal disease) โดยใช้ยาคลายกล้ามเนื้อร่วมกับการพักการใช้งานกล้ามเนื้อ, การทำกาย ภาพบำบัด, และการรักษาด้วยยาชนิดอื่นๆ (เช่น ยาแก้ปวด) เพื่อช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ
ยาในกลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อนี้ ออกฤทธิ์ที่ระบบประสาทสวนกลาง
ทั้งนี้ไม่รวมถึงยาที่ใช้ในการคลายการแข็งเกร็งของกล้ามเนื้อ (Muscle spasticity) จากโรคของไขสันหลัง และ/หรือโรคของสมอง (เช่นยา Baclofen และ Tizanidine) และไม่รวมถึงยาที่ใช้คลายกล้ามเนื้อระหว่างการดมยาสลบเพื่อการผ่าตัด (Neuromuscular blockers)
ตัวอย่างยาในกลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อที่มีจำหน่ายในประเทศไทย เช่นยา Carisoprodol (Arisoprodol), Chlorzoxazone, Methocarbamol, Orphenadrine (Norflex), Tolperisone (Mydocalm), และ Eperisone (Myonal)
ตัวอย่างยาในกลุ่มคลายกล้ามเนื้อหลายชนิดผลิตออกจำหน่ายในรูปยาผสมกับตัวยาชนิดอื่นๆ เช่นยา Carisoprodol + phenylbutazone (Alaxan), Arisoprodol + paracetamol, Chlorzoxazone + paracetamol, และ Orphenadrine+ paracetacetamol (Norgesic)
ข้อบ่งใช้ของยาคลายกล้ามเนื้อ
ยาแต่ละชนิดในกลุ่มยาคลายกล้ามเนื้อนี้ ต่างระบุข้อบ่งใช้ที่แตกต่างกัน
ในสหรัฐอเมริกา Methocarbamol, Carisoprodol, Chlorzoxazone และ Orphenadrine ได้รับการขึ้นทะเบียนในปีพ.ศ. 2500, 2502, 2502 และ 2530 ตามลำดับ โดยมีข้อบ่งใช้ดังนี้คือ “ใช้เป็นยาเสริมสำหรับรักษาอาการปวดกล้ามเนื้อฉับพลัน” (“Adjunct therapy for acute, painful musculo skeletal conditions”), ส่วน Tolperisone ไม่มีจำหน่ายในสหรัฐอเมริกา
จากข้อบ่งใช้และข้อสังเกตข้างต้นสรุปได้ว่า ยาในกลุ่มนี้
- ใช้โดยไม่ใช่ยาหลัก แต่เป็นยาเสริม (Adjunct therapy) ยาตัวอื่นๆ
- ใช้ในกรณีที่มีอาการเฉียบพลัน (Acute) ไม่ใช่อาการจากโรคเรื้อรัง (Chronic)
- และโดยใช้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ (Short-term)
- เพื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับความเจ็บปวดของระบบกล้ามเนื้อและกระดูก (Musculoskeletal) เนื่องจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle spasm)
- ไม่มีการระบุข้อบ่งใช้ในโรคของข้อ (Joint disease) เช่น ข้อเสื่อม (Osteoarthritis) หรือ ข้ออัก เสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid arthritis) แต่อย่างใด
ที่ใช้ของยาคลายกล้ามเนื้อในทางคลินิก (Place in therapy)
สรุปว่าประสิทธิภาพของยาในกลุ่มนี้ ยังไม่ได้รับการพิสูจน์อย่างแน่ชัด และใช้ในกรณีที่มีอา การปวดกล้ามเนื้อเฉียบพลัน ไม่ใช่โรคเรื้อรัง โดยใช้ยานี้ในช่วงสั้นๆ
ปัญหาการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อในประเทศไทย
ยาในกลุ่มคลายกล้ามเนื้อนี้ เป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง ทั้งที่ไม่ใช่ยาหลักในการรักษาโรคโดยมีผู้ป่วยจำนวนมากได้รับยาดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง ในภาวะโรคเรื้อรัง และมีการใช้ในโรคที่ไม่ ได้ระบุไว้ในข้อบ่งชี้ เช่น โรคข้อเสื่อม (Osteoarthritis)
ในการบรรเทาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อและกระดูกเฉียบพลัน แพทย์ส่วนหนึ่งนิยมจ่ายยาเอ็นเสด (NSAIDs) ร่วมกับ Paracetamol (หรือยาแก้ปวดอื่น) ซึ่งการให้ยาในกลุ่มยาร่วมด้วยเท่ากับผู้ ป่วยต้องใช้ยาถึง 3 ชนิด (ยาเอ็นเสด, ยาพาราเซตามอล, และยาคลายกล้ามเนื้อ) ในการบรรเทาอา การดังกล่าว และจากการตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานตามสถานพยาบาลต่างๆพบว่า มีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยได้รับยาถึง 5-6 รายการ คือได้รับ Paracetamol + NSAIDs + ยาคลายกล้ามเนื้อ (บางรายได้ รับ Diazepam เพื่อใช้เป็นยาช่วยคลายกล้ามเนื้อร่วมด้วย) + ยาถูนวด + ยาป้องกันอาการอาหารไม่ย่อย (Dyspepsia) หรือป้องกันแผลในกระเพาะอาหาร เช่นยา Alum milk หรือยา H2-blocker เป็นต้น เพื่อป้องกันผลข้างเคียงของยาเอ็นเสด ซึ่งลักษณะการใช้ยาดังกล่าว เป็นการใช้ยาที่เกินความจำเป็น (Over prescribing) ส่งผลให้เกิดความสูญเปล่า และเพิ่มความเสี่ยงจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาแก่ผู้ป่วยอีกด้วย
นอกจากนี้ เนื่องจากยาดังกล่าวหลายชนิดเป็นยาผสม จึงมีปัญหาการสั่งยาซ้ำซ้อน (Drug duplications) เกิดขึ้นในหลายกรณี ซึ่งลักษณะดังกล่าว ไม่เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาในเกือบทุกกรณีของการสั่งยาซ้ำซ้อน
หลักฐานเกี่ยวกับประสิทธิภาพของยาคลายกล้ามเนื้อพบว่า
- Orphenadrine มีประสิทธิภาพเหนือกว่ายาหลอก (Placebo) และการเพิ่ม Paracetamol เข้าไปมีส่วนเพิ่มประสิทธิภาพได้เพียงเล็กน้อย
- Carisoprodol มีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการเจ็บปวดไม่แตกต่างจากยาหลอก
- Methocarbamol มีประสิทธิภาพเหนือกว่ายาหลอกในการบรรเทาอาการหดเกร็งของกล้าม เนื้อ
ความเสี่ยงจากการใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ
ความเสี่ยงหรือผลข้างเคียงของยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น
ยา Orphenadrine: อาจพบอาการมึนงง/วิงเวียน (Dizziness) และตาพร่ามัว (Blurred vision) ได้มากกว่า 10% ของผู้บริโภคยา หรือพบผลข้างเคียงที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต เช่น ภาวะโลหิตจางจากไขกระดูกทำงานลดลง (Aplastic anemia) นอกจากนั้น Orphenadrine มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาหลายชนิดเช่น
- หากให้ร่วมกับ Haloperidol (ยาทางจิตเวช) อาจทำให้อาการของโรคจิตเภท (Schizo phrenia) เลวลง
- หากให้ร่วมกับยา Diazepam, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์l, ยาแก้ปวด Tramadol
สรุป
ยาคลายกล้ามเนื้อ เช่น ยา Carisoprodol, Chlorzoxazone, Methocarbamol, Orphena drine, Tolperisone, และ Eperisone เป็นยาที่มีข้อบ่งใช้เป็นยาเสริม เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดเนื่องจากการหดเกร็งของกล้ามเนื้อแบบเฉียบพลัน โดยควรใช้ยาในระยะสั้นๆ
แต่ในประเทศไทยมีการใช้ยาดังกล่าวอย่างไม่สมเหตุผล อย่างกว้างขวาง ในหลายกรณี เช่น ใช้ในโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคของกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น โรคข้อ,ใช้ระยะยาวอย่างต่อเนื่องแทน ที่จะใช้ระยะสั้น,ใช้ซ้ำซ้อนกับยาอื่นโดยเฉพาะ ยาเอ็นเสด และยา Paracetamol เนื่องจากยาในกลุ่มนี้หลายชนิดเป็นยาผสมกับ NSAIDs หรือ Paracetamol ดังได้กล่าวแล้วในตอนต้นบทความ
ยาคลายกล้ามเนื้อเหล่านี้จัดเป็นยาที่ไม่ควรใช้ในผู้สูงอายุ, เด็ก, ผู้หญิงตั้งครรภ์, และผู้หญิงให้นมบุตร เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงสูง
ยาคลายกล้ามเนื้อนี้ ไม่มีข้อกำหนดชัดแจนว่า “ไม่ควรใช้ยานานเกินเท่าไหร่” ตราบใดที่ทานยาในขนาดที่ใช้รักษา กล่าวคือ ตามแพทย์สั่ง หรือตามที่ระบุในฉลากยา) และเมื่อมีอาการดีขึ้นก็ควรหยุดใช้ยา หรือถ้าอาการไม่ดีขึ้น ก็ควรพบแพทย์ ไม่ควรกินยาต่อเนื่องด้วยตนเอง
***** หมายเหตุ
ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึง ยาแผนปัจจุบันทุกชนิดที่รวม ถึงยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกชนิด ควรต้องปฏิบัติตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน
บรรณานุกรม