ภาวะขาดวิตามินบี5 (Vitamin B5 deficiency)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ: คือโรคอะไร? และแหล่งอาหาร

ภาวะขาดวิตามินบี5 (Vitamin B5 deficiency หรือ Pantothenic acid deficiency)คือ ภาวะที่ร่างกายมีวิตามินบี5 (Pantothenic acid)ที่ไม่เพียงพอจนส่งผลให้ร่างกายเกิดอาการผิดปกติต่างๆ เช่น อ่อนเพลีย เหนื่อยล้า ปวดหัวเรื้อรัง นอนไม่หลับ ชาตามปลายมือปลายเท้า แต่อย่างไรก็ตามภาวะขาดวิตามีนบี5เพียงชนิดเดียวพบน้อยมากๆทั่วไปจะพบร่วมกับการขาดวิตามินบีรวมเสมอ

วิตามินบี5 (Vitamin B 5) อีกชื่อคือ กรดแพนโทเทนิก(Pantothenic acid) จัดเป็นหนึ่งในกลุ่มวิตามินบีรวม โดยเป็นวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย มีหน้าที่ช่วยสร้างโคเอนไซม์ที่ชื่อ Coenzyme-A (CoA)ที่ช่วยการใช้พลังงานของเซลล์(เซลล์-เนื้อเยื่อ-อวัยวะ)ทั้งจาก คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เพื่อการดำรงชีวิตของเซลล์ต่างๆในร่างกาย

อนึ่ง :

  • วิตามินบี5 ที่อยู่ในรูปแบบอาหารเสริมมักอยู่ในรูปเกลือที่ทำให้วิตามินบี5มีความคงตัวได้ดีขึ้น คือ เกลือ Pantotheate เช่น Calcium pantotheate
  • ส่วนวิตามินบี5 ที่ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อ หรือเป็นส่วนประกอบของเครื่องสำอาง มักอยู่ในรูปแบบของสารตั้งต้นของวิตามินบี5 ซึ่งคือสาร Panthenol หรือ Pantothenol ที่มีลักษณะเป็นของเหลวในอุณหภูมิห้อง และเมื่อสารตั้งต้นฯนี้สัมผัส/เข้าสู่ร่างกาย จะเปลี่ยนไปเป็นวิตามินบี5

ร่างกายต้องการวิตามินบี5วันละเท่าไร?

วิตามินบี5 มีอยู่ในอาหารทุกชนิดมากบ้างน้อยบ้าง ทั้งจากพืชและจากสัตว์ จึงเป็นสาเหตุให้ร่างกายได้รับวิตามินบี5อย่างพอเพียงเสมอ ทั้งนี้แหล่งอาหารที่มีวิตามินบี5สูง เช่น

  • อาหารเช้าซีเรียลที่เสริมอาหารด้วยวิตามินบีรวมที่รวมถึงบี5
  • จากพืช เช่น เห็ดต่างๆ เมล็ดทานตะวัน ธัญพืชต่างๆ ผักใบเขียว
  • จากสัตว์ เช่น เนื้อแดง ไข่แดง นม ปลา

วิตามินบี5มีประโยชน์และโทษอย่างไร?

ตามคำแนะนำสำหรับคนทั่วไปต่อปริมาณวิตามินบี5 ที่ควรบริโภค/ความต้องการต่อวัน(AI, Adequate intake )ของสถาบันการแพทย์แห่งชาติ แห่งสหรัฐอเมริกา (U.S. Food and Nutrition Board, Institute of Medicine, National Academies)ในปีค.ศ. 2011 คือ

            

อายุ
ปริมาณวิตามินบี5 (มิลลิกรัมต่อวัน)
.
.
ชายและหญิง
0-6เดือน
1.7
6-12 เดือน
1.8
1-3 ปี
2
4-8 ปี
3
ชายและ หญิง
9-13 ปี
4
14-มากกว่า 70 ปี
5
หญิงตั้งครรภ์
14-50 ปี
6
หญิงให้นมบุตร
14-50 ปี
7

            

ภาวะขาดวิตามินบี5มีสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงจากอะไร?

ประโยชน์และโทษของวิตามินบี5 ได้แก่

ก. ประโยชน์: ได้แก่

  • ช่วยสร้าง CoA ที่ช่วยเซลล์สร้างและใช้งานสารต่างๆที่จำเป็นในการดำรงชีวิต เช่น กรดไขมัน คลอเลสเตอรอล และในการสร้างสารสื่อประสาท ชนิด Acetylcholine
  • ช่วยในการสร้างฮอร์โมนบางชนิดของต่อมหมวกไต เช่น ฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนความเครียด(Stress hormone)
  • ช่วยการทำงานของ ระบบประสาท ระบบทางเดินอาหาร และตับ
  • ช่วยให้เซลล์ ผิวหนัง ผม และตา มีสุขภาพที่ดี
  • นอกจากความสำคัญที่เซลล์จำเป็นต้องใช้เพื่อการดำรงชีวิตแล้ว จากคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับการสร้างไขมันไตรกลีเซอไรด์ และกระบวนการสันดาปสารประเภท Lipoprotein (ไขมันที่จับกับโปรตีน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการใช้ไขมันของร่างกาย) นักวิทยาศาสตร์จึงกำลังศึกษาวิจัยเพื่อนำวิตามินบี3 มาผลิตเป็นยาลดไขมันในเลือด
  • ใช้เป็นอาหารเสริม ที่มักอยู่ในรูปแบบของอาหารเช้าซีเรียล หรือในวิตามินบีรวม
  • ใช้เป็นส่วนประกอบในเครื่องสำอางต่างๆเพื่อให้ความชุ่มชื้นกับผิวหนัง เช่น สบู่
  • ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อในผลิตภัณฑ์ที่ใช้กับผิวหนัง เช่น ยาบีแพนเธน

ข. โทษจากการบริโภคในปริมาณสูง: ปัจจุบัน ยังไม่มีรายงานการเกิดโทษของวิตามินบี5จากการบริโภคในปริมาณสูง ทั้งนี้เพราะวิตามินบี5จะถูกร่างกายกำจัดออกได้ทั้งหมดทางไต/ทางปัสสาวะ แต่อย่างไรก็ตาม มีรายงานผลข้างเคียงของวิตามินบี5ในอาสาสมัครที่บริโภควิตามินบี5เสริมอาหารในปริมาณสูงถึง 10กรัม/วัน ได้แก่ เกิดอาการ ท้องเสีย และระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร แต่เป็นอาการที่ไม่รุนแรง

ภาวะขาดวิตามินบี5มีอาการอย่างไร?

ในผู้ป่วยทั่วไป ยังไม่เคยมีรายงานภาวะขาดวิตามินบี5เพียงชนิดเดียว เพราะดังกล่าวแล้วว่า วิตามินนี้มีในอาหารทุกชนิด แต่อย่างไรก็ตาม ในผู้ป่วยทั่วไปสามารถพบภาวะขาดวิตามินบี5ได้แต่เป็นการพบเกิดร่วมกับการขาดวิตามินบีรวมทุกชนิด และในผู้ป่วยภาวะทุโภชนารุนแรง

นอกจากนั้นคือ เป็นการขาดวิตามินบี5ในกลุ่มอาสาสมัครที่นักวิทยาศาสตร์ศึกษาเพื่อการเรียนรู้ในกรณีร่างกายขาดบี5 ว่าผู้ป่วยจะมีอาการเป็นอย่างไร

ควรพบแพทย์เมื่อไร?

ไม่มีอาการเฉพาะของการขาดวิตามินบี5 แต่จะเป็นอาการเช่นเดียวกับอาการของการขาดวิตามินบีรวม ร่วมกับอาการจากภาวะทุพโภชนา ซึ่งอาการต่างๆพบได้ เช่น

  • อ่อนเพลีย, เหนื่อยล้า, อ่อนแรง
  • เบื่ออาหาร
  • นอนไม่หลับ
  • สับสน
  • กระสับกระส่าย
  • ชาตามเนื้อตัว ปลายมือ ปลายเท้า
  • เป็นตะคริวง่าย
  • อาจมีภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
  • คลื่นไส้-อาเจียน
  • ปวดท้อง เรื้อรัง
  • อาจมีโรคซีด

แพทย์วินิจฉัยภาวะขาดวิตามินบี5ได้อย่างไร?

เมื่อมีอาการดังกล่าวในหัวข้อ”อาการฯ”และอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการเลวลงหลังการดูแลตนเองตามอาการนานประมาณ 7-10วัน ควรรีบพบแพทย์/มาโรงพยาบาลเสมอ

รักษาภาวะขาดวิตามินบี5อย่างไร?

ทั่วไป ทางคลินิกไม่มีการวินิจฉัยภาวะขาดวิตามินบี5เฉพาะวิตามินเดียว มักเป็นกาวินิจฉัยรวมในการขาดวิตามินบีรวมและในภาวะทุพโภชนา แต่มีการวินิจฉัยจากการศึกษาทางการแพทย์ในอาสาสมัคร ด้วยการตรวจหาระดับวิตามินบี5ในเลือดและในปัสสาวะ

ทั้งนี้ในผู้ป่วยที่มีอาการดังกล่าวใน’ หัวข้อ อาการฯ’ซึ่งจะเป็นอาการที่เกิดได้กับโรคเกือบทุกสาเหตุ แพทย์จะวินิจฉัยหาสาเหตุได้จาก

  • ประวัติอาการ ประวัติการบริโภคอาหารและยา ประวัติโรคประจำตัว วิถีการใช้ชีวิตประจำวัน
  • การตรวจสัญญาณชีพ
  • การตรวจร่างกายทั่วไป
  • การตรวจอื่นๆเพื่อการสืบค้นเพิ่มเติมตามความผิดปกติที่แพทย์ตรวจพบและดุลพินิจของแพทย์เป็นกรณีๆไป เช่น
    • การตรวจเลือด เช่น ซีบีซี
    • ปัสสาวะ: การตรวจปัสสาวะ
    • การตรวจอุจจาระกรณีมีโรคซีด
    • ตรวจเลือดดูค่า น้ำตาลในเลือด ไขมันในเลือด ดูการทำงาน ของตับ ของไต ดูค่าเกลือแร่ในเลือด เป็นต้น

ภาวะขาดวิตามินบี5มีการพยากรณ์โรคอย่างไร? มีผลข้างเคียงอย่างไร?

ดังกล่าวแล้วว่า ทั่วไปจะไม่เกิดภาวะขาดวิตามินบี5เพียงชนิดเดียว แต่จะเป็นการขาดวิตามินบีรวม ร่วมกับมีภาวะทุพโภชนา ดังนั้นแนวทางการรักษา จึงเป็นการ

  • ให้วิตามินรวม และ/หรือ วิตามินบีรวม เพื่อเสริมอาหาร อาจเป็นรูปแบบยาฉีด หรือ ยารับประทาน ขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์
  • ร่วมกับการจัดเมนูอาหารเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ อย่างเพียงพอในแต่ละมื้ออาหารในทุกๆวัน

นอกจากนั้น คือ

  • การดูแล รักษา แก้ไขสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยเกิดภาวะทุพโภชนา เช่น ในการดูแลผู้ป่วยในกรณีผู้ป่วยเป็นเด็กหรือผู้สูงอายุที่ขาดคนดูแล
  • การรักษาโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายขาดอาหารเรื้อรัง เช่น โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง เป็นต้น

อีกประการคือ การรักษาตามอาการ: เช่น

  • การให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
  • การรักษาโรคซีด
  • การรักษาอาการของภาวะตะคริว,

(แนะนำอ่านเพิ่มเติม รายละเอียดของการดูแลรักษาอาการต่างๆเหล่านี้ได้จากเว็บ haamor.com)

ดูแลตนเองอย่างไร?ควรพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อไร?

ผลข้างเคียงจากภาวะขาดวิตามินบี5 คือ ผลข้างเคียงในภาพรวมของการขาดวิตามินบีรวมทั้งหมด และภาวะทุพโภชนา เช่น

  • อ่อนเพลีย
  • ร่างกายไม่แข็งแรง
  • ถ้าเป็นเด็กจะเจริญเติบโตและมีพัฒนาการช้ากว่าเด็กปกติ
  • เจ็บป่วยติดเชื้อต่างๆง่ายจากร่างกายมีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำจากขาดอาหารและจาก โรคซีด เป็นต้น

ส่วนการพยากรณ์โรค /ความรุนแรงของโรค: ภาวะขาดวิตามินบี5/ขาดวิตามินบีรวม เป็นภาวะที่รักษาได้หายเสมอด้วยการบริโภคอาหารมีประโยชนห้าหมู่ให้ครบถ้วนในทุกมื้ออาหาร แต่อย่างไรก็ตามภาวะทุพโภชนา/ขาดวิตามินต่างๆที่รวมถึงวิตามินบี5/วิตามินบีรวม ก็จะเกิดซ้ำได้เสมอเมื่อเกิดภาวะขาดอาหารจากการบริโภคอาหารไม่ครบหมวดหมู่

ป้องกันภาวะขาดวิตามินบี5อย่างไร?

ดังได้กล่าวในตอนต้นๆว่า มักไม่มีการขาดวิตามินบี5เพียงชนิดเดียว แต่จะเกิดร่วมกับการขาดวิตามินบีรวม/ภาวะทุพโภชนาเสมอ ดังนั้นการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะขาดวิตามินบี5จึงเช่นเดียวกับในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะขาดวิตามินบีรวม ซึ่งได้แก่

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำ ของแพทย์ พยาบาล เภสัชกร
  • กินยา/ใช้ยาต่างๆที่แพทย์สั่งให้ถูกต้อง ไม่หยุดยาเอง
  • กินอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ให้ครบถ้วนในทุกมื้ออาหาร
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อลดโอกาสติดเชื้อต่างๆ โดยเฉพาะ กินร้อน ช้อนกลาง และล้างมือบ่อยๆโดยเฉพาะหลังเข้าห้องน้ำและก่อนกินอาหาร
  • รู้จักใช้หน้ากากอนามัย
  • หลีกเลี่ยงการไปอยู่ในสถานที่แออัด
  • พบแพทย์/มาโรงพยาบาลตามแพทย์นัดเสมอ
  • และพบแพทย์/มาโรงพยาบาลก่อนนัดเมื่อ
    • อาการที่มีอยู่เลวลง ทั้งๆที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของ แพทย์ พยาบาล แล้ว
    • มีอาการใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน เช่น บวมตามตัว แขน ขา มือเท้า
    • มีผลข้างเคียงจากยาที่แพทย์สั่งจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น วิงเวียนศีรษะมาก คลื่นไส้มาก ท้องผูกหรือท้องเสียมาก
    • เมื่อกังวลในอาการ

บรรณานุกรม

วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการป้องกันภาวะขาดวิตามินบี5 ที่รวมถึงการป้องกันการขาดวิตามินบีรวม และป้องกันภาวะทุพโภชนา คือ

  • การรับประทานอาหารมีประโยชน์ห้าหมู่ให้ครบถ้วนในทุกมื้ออาหาร หรืออย่างน้อยในทุกๆวัน

บรรณนานุกรม

  1. https://ods.od.nih.gov/factsheets/PantothenicAcid-HealthProfessional/ [2020,March14]
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Pantothenic_acid [2020,March14]
  3. https://www.nutri-facts.org/en_US/nutrients/vitamins/b5/deficiency.html [2020,March14]
  4. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK56068/table/summarytables.t2/?report=objectonly [2020,March14]