ทีโอโบรมีน (Theobromine)
- โดย เภสัชกร อภัย ราษฎรวิจิตร
- 7 ธันวาคม 2564
- Tweet
สารบัญ
- บทนำ: คืออะไร?
- ทีโอโบรมีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) ใช้ทำอะไร?
- ทีโอโบรมีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
- ทีโอโบรมีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
- ทีโอโบรมีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
- หากลืมรับประทานควรทำอย่างไร?
- ทีโอโบรมีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
- มีข้อควรระวังการใช้ทีโอโบรมีนอย่างไร?
- ทีโอโบรมีนมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
- ควรเก็บรักษาทีโอโบรมีนอย่างไร?
- ทีโอโบรมีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
- บรรณานุกรม
บทความที่เกี่ยวข้อง
- ยารักษาโรค (Pharmaceutical drug)
- ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด
- ยาขับปัสสาวะ (Diuretics Drugs) (Diuretics Drugs)
- ยาแก้ไอ (Tips cough)
- เลือกอาหารเสริมอย่างไร? (How to choose dietary supplements?)
- กาเฟอีน คาเฟอีน (Caffeine)
- แซนทีน อนุพันธุ์แซนทีน (Xanthine derivatives)
- อาหารเสริม (Dietary supplement)
- ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Dietary supplements)
บทนำ: คืออะไร?
สารทีโอโบรมีน (Theobromine) ทางคลินิกนำมาใช้เป็นเครื่องดื่มและ/หรืออาหารเสริมและ/หรือในผลิตภัณฑ์ยา ช่วยขับปัสสาวะ ช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ ช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้ความดันโลหิตลดลง ลดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
อนึ่ง อีกชื่อของสารนี้ คือ Xantheose สารนี้จัดเป็นสารประเภท อัลคาลอยด์ (Xanthine alkaloid) ที่พบมากในพืชประเภทโกโก้ ใบชา ของหวานประเภทช็อกโกแลต โครงสร้างทางเคมีของสารทีโอโบรมีนจะประกอบด้วยโครงสร้างคล้ายกับยาTheophylline และกับสาร Caffeine ประกอบกัน
เมื่อสารทีโอโบรมีนเข้าสู่กระแสเลือด จะถูกส่งลำเลียงไปยังตับเพื่อเผาผลาญและเปลี่ยน แปลงโครงสร้างทางเคมี ร่างกายต้องใช้เวลามากกว่า 7 ชั่วโมงในการกำจัดสารทีโอโบรมีนออกจากกระแสเลือดในปริมาณครึ่งหนึ่งจากที่ได้รับ แถบประเทศอังกฤษได้พัฒนาสารทีโอโบรมีนมาเป็นตัวยาช่วยบรรเทาอาการไอและบำบัดอาการโรคหืดอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้าร่างกายได้รับยา/สารทีโอโบรมีนเป็นปริมาณมาก อาจจะพบอาการใกล้ เคียงกับการดื่มกาแฟ (สารคาเฟอีน) มากเกินไปได้เช่นกัน โดยจะพบอาการนอนไม่หลับ มือ/ตัว สั่น กระสับกระส่าย วิตกกังวล ปัสสาวะมากและบ่อย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ เป็นต้น
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารทีโอโบรมีนจะเป็นรูปแบบของอาหาร เครื่องดื่ม เสีย เป็นส่วนมาก ประเทศไทยยังไม่พบเห็นผลิตภัณฑ์สารทีโอโบรมีนในรูปแบบของยาแผนปัจจุบัน ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์อาหารที่มีสารทีโอโบรมีนผสมอยู่เช่น นมผสมช็อกโกแลต โกโก้ผงสำ หรับชงดื่ม ชาดำ พุดดิ้ง ลูกกวาด เครื่องดื่มประเภทมอลต์ และคุกกี้ที่ผสมช็อกโกแลต
อาจมองในภาพรวมได้ว่าสารทีโอโบรมีนที่ผสมในสารอาหารนั้นค่อนข้างปลอดภัยกับมนุษย์โดยต้องรับประทานอย่างพอดี แต่สารชนิดนี้มักจะเป็นอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงเช่น สุนัข ด้วยเหตุสุนัขไม่มีเอนไซม์ในการย่อยและทำลายสารทีโอโบรมีน จึงมักเห็นข้อห้ามนำช็อกโก แลตมาเลี้ยงสุนัข
ทีโอโบรมีนมีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) ใช้ทำอะไร?
สารทีโอโบรมีนเป็นอนุพันธุ์ของแซนทีน (Xanthine derivative) ด้านสุขภาพจะมีสรรพ คุณ/ข้อบ่งใช้:
- ใช้ช่วยลดความดันโลหิตและกระตุ้นการเต้นของหัวใจ
ทีโอโบรมีนมีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?
สารทีโอโบรมีนออกฤทธิ์โดยเข้าไปยับยั้งการทำงานของสารเอนไซม์ Phosphodiesterase (เอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการทางเคมีต่างๆของร่างกาย) ส่งผลให้เกิดการเพิ่มและ/หรือการลดระดับสารเคมีหลายชนิดที่ใช้ในกระบวนการทำงานของเซลล์ร่างกาย เช่น
- เพิ่มระดับของ cAMP (Cyclic adenosine monophosphate, สารเคมีที่เกี่ยวข้องกับการ ทำงานของฮอร์โมนบางชนิด)ในระดับเซลล์
- ยับยั้งการทำงานของ TNF-alpha (Tumor necrosis factor alpha, สารที่เกี่ยวข้องกับการเกิดการอักเสบของเซลล์)
- ชะลอการสังเคราะห์สาร Leukotriene (สารที่ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์) ทำให้ลดการอักเสบของร่างกาย
- เข้าแข่งขันและแย่งจับกับตัวรับ (Receptor)ที่มีชื่อว่า Adenosine receptor ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของ Adenosine สารที่เกี่ยวข้องกับใช้พลังงานของร่างกาย
ดังนั้น จากกลไกข้างต้นทำให้ลดภาวะอักเสบของระดับเซลล์และก่อให้เกิดฤทธิ์ตามสรรพคุณ
ทีโอโบรมีนมีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?
สารทีโอโบรมีนมีรูปแบบการจัดจำหน่าย:
- เป็นเครื่องดื่ม อาหารบำรุงสุขภาพ ที่มีส่วนผสมของช็อกโกแลต หรือส่วนประกอบของโกโก้
ทีโอโบรมีนมีขนาดรับประทานอย่างไร?
ขนาดการบริโภคสารทีโอโบรมีนตรวจสอบได้จากฉลากอาหารหรือฉลากโภชนาการของผลิต ภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของสารทีโอโบรมีน อย่างไรก็ตามข้อมูลทางด้านอาหารระบุการใช้สารทีโอโบรมีนในรูปแบบของอาหารเสริม เช่น ให้บริโภคครั้งละ 500 มิลลิกรัมวันละ 1 - 2 ครั้ง
หากลืมรับประทานควรทำอย่างไร?
การลืมรับประทานสารทีโอโบรมีนไม่มีผลต่อสุขภาพร่างกายแต่อย่างใด ด้วยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของอาหารและเครื่องดื่ม จึงไม่จำเป็นต้องมีการบริโภคเมื่อนึกขึ้นได้หรือเพื่อชดเชยมื้อที่ลืม
ทีโอโบรมีนมีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?
สารทีโอโบรมีนมีผล/ อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (ผลข้างเคียง/อาการข้างเคียง) เช่น
- นอนไม่หลับ
- มือ/ตัวสั่น
- กระสับกระส่าย
- วิตกกังวล
- ปัสสาวะบ่อยและปริมาณมาก เบื่ออาหาร
- คลื่นไส้อาเจียน
มีข้อควรระวังการใช้ทีโอโบรมีนอย่างไร?
มีข้อควรระวังการใช้สารทีโอโบรมีน เช่น
- ไม่รับประทานในผู้แพ้สารนี้ เช่น เคยรับประทานแล้วขึ้นผื่นที่ผิวหนังหรือเกิดลมพิษ แน่นหน้าอก หรือหายใจลำบาก และหากรับประทานแล้วมีอาการแพ้ ต้องรีบไปพบแพทย์/ไปโรงพยาบาลทันที/ฉุกเฉิน
- แต่ละวันไม่ควรรับประทานสารอาหารที่มีทีโอโบรมีนอยู่มากกว่าที่ระบุในฉลากโภชนาการ
- ไม่รับประทานผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุแล้ว
- ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารทีโอโบรมีนเป็นส่วนประกอบไปเลี้ยงสัตว์เช่น สุนัข แมว
- ไม่เก็บผลิตภัณฑ์ที่หมดอายุ
***** อนึ่ง: ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ผลิตภัณฑ์ที่อุดมไปด้วยสารอาหารต่างๆ และ/หรืออาหารเสริมต่างๆ” ที่รวมถึงสารทีโอโบรมีน ซึ่งควรต้องเป็นไปตามหลักโภชนาการที่ถูกต้อง ไม่หลงเชื่อผลิตภัณฑ์ที่โฆษณาเกินความเป็นจริง สามารถตรวจสอบความปลอดภัยจากเครื่องหมาย ที่มีการรับรองจาก อ.ย.(สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข) และบริโภคในปริมาณที่เหมาะสมโดยดูรายละเอียดจากฉลากโภชนาการที่แนบมากับตัวผลิตภัณฑ์
ทีโอโบรมีนมีปฏิกิริยากับยาตัวอื่นอย่างไร?
การรับประทานสารทีโอโบรมีนร่วมกับยากลุ่ม เอมเอโอไอ (MAOIs) อาจเพิ่มความเป็นพิษของสารทีโอโบรมีนได้มากยิ่งขึ้น หากไม่มีความจำเป็นใดๆควรหลีกเลี่ยงการรับประทานร่วมกัน
ควรเก็บรักษาทีโอโบรมีนอย่างไร?
ควรเก็บผลิตภัณฑ์สารทีโอโบรมีน: เช่น
- เก็บผลิตภัณฑ์สารทีโอโบรมีนในอุณหภูมิห้องที่เย็น 15-23 องศาเซลเซียส(Celsius)
- ไม่เก็บในช่องแช่แข็งของตู้เย็น
- เก็บในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสง/แสงแดด ความร้อน และความชื้น
- เก็บให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ไม่เก็บในห้องน้ำหรือรถยนต์
ทีโอโบรมีนมีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?
สำหรับประเทศไทยยังไม่มีผลิตภัณฑ์สารทีโอโบรมีนที่ใช้เป็นยา มีแต่ที่อยู่ในเครื่องดื่ม และ /หรือในอาหารเสริมดังได้กล่าวแล้วใน’หัวข้อ บทนำ’ และใน ‘หัวข้อ รูปแบบการจัดจำหน่าย’
บรรณานุกรม
1 https://en.wikipedia.org/wiki/Theobromine#Pharmacology [2021,Dec4]
2 https://www.sciencedirect.com/science/article/abs/pii/0014299971900331 [2021,Dec4]
3 https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4335269/ [2021,Dec4]
4 https://www.theoptimizingblog.com/theobromine/ [2021,Dec4]