1.ตลาดโรงพยาบาล – ตอนที่ 31

ตลาดคนไทย คาดว่าจะเติบโตได้ดีจากการไม่มีข้อจำกัดในการเดินทาง (Unlimited travel) ของประชาชน รวมทั้งผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ในธุรกิจต่างๆ สามารถดำเนินธุรกิจได้ และแรงงาน (Labor) สามารถออกมาทำงานนอกบ้านได้ ทำให้เศรษฐกิจในประเทศทยอยฟื้นตัว (Gradual recovery)

ประชาชนที่เจ็บป่วย (Sickness) สามารถออกมาใช้บริการทางการแพทย์ (Medical service) ได้ตามปรกติ นอกจากนี้ ในตลาดภายในประเทศ (Domestic) โรงพยาบาลเอกชนยังมีรายได้เพิ่มเติม (Revenue increase) จากการรักษาผู้ป่วยไวรัสโควิด-19 ที่ยังคงมีอยู่ (Existing)

ตลาดชาวต่างชาติ (Foreigner) ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2564) หดตัวค่อนข้างรุนแรง (Severe shrinkage) จากการไม่อนุญาต (Ban) ให้นักชาวต่างชาติเข้ามาในประเทศ แต่นับตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา ภาครัฐผ่อนคลาย (Relax) เปิดประเทศให้ชาวต่างชาติเข้ามาในราชอาณาจักร (Kingdom) ได้

ทำให้ชาวต่างชาติที่ต้องการ (Demand) รักษาพยาบาลในไทยเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยเฉพาะตลาดตะวันออกกลาง (Middle East)นอกจากนี้ จากการที่ธุรกิจในประเทศสามารถดำเนินกิจการได้ ส่งผลให้แรงงานต่างด้าวถูกกฎหมาย (Legal foreign labor) ที่ทำประกันตน (Self-insurance) กับประกันสังคม (Social security) จำนวนกว่า 9.6 แสนคน (คิดเป็น 40% ของแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายรวม) ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ+ปริมณฑล และภาคตะวันออก ออกมาใช้บริการทางการแพทย์จากโรงพยาบาลเอกชนได้ ทำให้รายได้ของโรงพยาบาลเอกชนในตลาดชาวต่างชาติภาพรวม (Overall) ฟื้นตัวขึ้น

ttb analytics ประเมินว่าสถานการณ์การเปิดประเทศ (Open up) และการดำเนินธุรกิจในประเทศที่เป็นปรกติ จะส่งผลให้ (Result) ตลาดชาวไทยและชาวต่างชาติเติบโตต่อไป (Further growth) โดยคาดว่ารายได้ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนภาพรวมจะเติบโตได้ +8 ถึง +10% ในปี พ.ศ. 2566

แม้ว่าธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนจะฟื้นตัวแล้ว แต่ความเสี่ยงสำคัญ (Major risk) ที่ต้องติดตาม (Monitor) คือ ราคาสินค้าที่ปรับเพิ่มสูงขึ้น (Upward pricing) จากแรงกดดันด้านต้นทุน (Cost pressure) พลังงาน (Energy) และอาหาร (Food) โดย ttb analytics คาดว่า อัตราเงินเฟ้อ (Inflation rate) ในปี พ.ศ. 2565 จะปรับเพิ่มขึ้นกว่า +6.7% และในปี พ.ศ. 2566 จะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (Continuous increase) อีก +2.1%

ทั้งนี้เป็นผลจากค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำ (Minimum wage) ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผล (Impact) ต่อกำลังซื้อ (Purchasing power) ของตลาดคนไทยและแรงงานต่างด้าวที่อยู่ในประเทศ นับเป็นปัจจัยลบ (Negative factor) ของธุรกิจในปี พ.ศ. 2566 ในขณะที่ปัจจัยบวก (Positive factor) ของธุรกิจในปี พ.ศ. 2566 ได้แก่ แนวโน้มเงินบาทอ่อนค่า (Devalue)

ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากทิศทางนโยบาย (Policy direction) ดอกเบี้ยขาขึ้น (Higher interest) ของธนาคารกลางของสหรัฐอเมริกา (U.S. Federal Reserve Bank: FED) ทำให้เงินไหลกลับ (Backward flow) ไปหาเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย (Safe assets)

หากค่าเงินบาทของไทยเปรียบเทียบกับประเทศที่ชาวต่างชาติอาศัยอยู่ มีทิศทางอ่อนค่ามากกว่า จะเป็นตัวกระตุ้น (Stimulate) ให้ชาวต่างชาติเข้ามารักษาพยาบาลและท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งเป็นโอกาสของตลาดชาวต่างชาติ ที่จะเข้ามาใช้บริการทางการแพทย์มากขึ้น

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.ttbbank.com/th/analytics/business-industry/tourism-healthcare/20220922-ttb-analytics-private-hospital-outlook2022 [2024, May 4].
  2. https://www.statista.com/outlook/hmo/hospitals/thailand#:~:text=The%20Hospitals%20market%20in%20Thailand,US%2412.59bn%20by%202028. [2024, May 4].