
4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 50
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 29 มกราคม 2568
- Tweet
ต่อไปนี้เป็นเนื้อหาจากหนังหนังสือ : สมุดปกขาว การพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ด้วยนวัตกรรมของไทย 2567 ของ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา, วิทยาศาสตร์, วิจัย, และนวัตกรรมแห่งชาติ (Office of National Higher Education, Science, Research, and Innovation Policy Council
บทสรุปผู้บริหาร
1. ความจำเป็นของการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย – เครื่องมือแพทย์ (Medical device) เป็นอุตสาหกรรมที่ไทยจำเป็น (Necessary) ต้องให้ความสำคัญ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
- ลดค่าใช้จ่ายในการนำเข้าเครื่องมือแพทย์ – ปัจจุบันการแพทย์และสาธารณสุข (Public health) ของไทยทั้งภาครัฐและ เอกชน (Private) นำเข้าเครื่องมือแพทย์เฉลี่ย 73,000 ล้านบาทต่อปี เป็นการจัดซื้อโดยงบประมาณภาครัฐ (Government budget) 52,000 ล้านบาท
ส่วนมากเป็นกลุ่มครุภัณฑ์ (Durable articles) ทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีซับซ้อน (Complex technology) ตัวอย่างเช่น เครื่องอัลตราซาวนด์, เครื่องเอกซเรย์, เครื่องตรวจวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram: ECG/EKG), ผลิตภัณฑ์ทางจักษุวิทยา (Ophthalmology), และกลุ่มน้ำยา (Reagent) และชุดวินิจฉัยโรค (Diagnostic kit)
หากประเทศไทยมีอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศ (Domestic) นอกจากจะลดการนำเข้า (Import) แล้วยังสามารถเพิ่มอำนาจการต่อรอง (Cheaper purchase) โดยคาดว่า จะประหยัด (Saving) งบประมาณภาครัฐในแต่ละรายการได้กว่า 30%
- ลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงเครื่องมือแพทย์ในพื้นที่ห่างไกล – เครื่องมือแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced) มีราคาแพง (Expensive) ส่งผลให้โรงพยาบาลขนาดเล็กในชนบท (Rural) สามารถเข้าถึง (Access) เครื่องมือแพทย์ได้น้อย
ประชาชนผู้ที่อยู่่ในพื้นที่ห่างไกล (Remote) และประชากรกล่มเปราะบาง (Fragile) ที่ขาดความสามารถในการจ่าย (Affordability) ค่ารักษาพยาบาล จึงมีความมั่นคง (Security) ทางสุขภาพต่ำกว่าประชาชนในเขตเมือง (Urban)
ตัวอย่างเช่น กรุงเทพมหานคร (Bangkok Metropolis) เพียงจังหวัดเดียว มีเครื่อง CT Scan 24.7 เครื่องต่อประชากร 1 ล้านคน ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (North-east Region) ทั้งภาคมี CT Scan เพียง 7 เครื่อง ต่อประชากร 1 ล้านคน เป็นต้น
แหล่งข้อมูล –