4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 49

International Healthcare Week 2024 เป็นโอกาสของประเทศ ที่จะได้เข้าถึงนวัตกรรม (Innovation), เทคโนโลยีอุตสาหกรรมทางการแพทย์ (Medical industry), รวมถึงแลกเปลี่ยน (Exchange) การเรียนรู้ระหว่างกลุ่มธุรกิจด้านสุขภาพ ซึ่งจะส่งผลให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีขึ้น (Improved health), สามารถเข้าถึง (Access) การรักษาที่ทันสมัย (Modern treatment) และทำให้ระบบสาธารณสุขมีความมั่นคง (Public health security)

"ประเทศไทยได้ชื่ออยู่แล้วว่ามีระบบการแพทย์ และระบบสาธารณสุขที่ดีในระดับโลก (World-class) และได้รับการยกย่องจากสหประชาชาติ (United Nations: UN) ให้เราเป็นต้นแบบ (Prototype) การวางระบบสุขภาพสำหรับประเทศกำลังพัฒนาได้เดินตาม สิ่งนี้สะท้อนว่าเรามีโครงสร้าง (Structure) สาธารณสุขที่แข็งแกร่ง (Solid) และบุคลากรทางการแพทย์ที่อยู่ในระดับชั้นเลิศ (Excellence) ซึ่งส่งผลมายังความเชื่อมั่นต่ออุตสาหกรรมการแพทย์ ให้เป็นที่ยอมรับในเวทีโลก (Global stage) ได้เช่นกัน และงานนี้จะยิ่งเป็นโอกาสอันดี ที่ทำให้ทั้งโลก ที่นอกจากจะรู้ว่าเรามีระบบการแพทย์ที่ดีแล้ว ในแง่อุตสาหกรรมการแพทย์ เราก็มีจุดแข็งและมีส่วนสำคัญต่อตลาดเครื่องมือแพทย์ (Medical-device market) ทั่วโลกด้วยเช่นกัน" 

อีกมิติหนึ่ง สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 2 กรมประชาสัมพันธ์ รายงานว่า ตลาดเครื่องมือแพทย์ของไทยเติบโตต่อเนื่อง (Continuous) โดยมีการพยากรณ์ (Forecast) กันว่า ปี พ.ศ. 2570 มีมูลค่ากว่าแสนล้านบาท อัตราการเติบโตต่อปีแบบทบต้น (Compound annual growth rate: CAGR) อยู่ที่ 8.1% ระหว่างปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2570

ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากความต้องการ (Demand) นวัตกรรมทางการแพทย์ที่เพิ่มมากขึ้น เชื่อมั่นว่า ไทยพร้อมตอบรับ (Respond) กระแส (Trend) ความต้องการดังกล่าว

ปัจจุบันทั่วโลกตระหนักถึง (Global awareness) ประเด็นทางด้านสุขภาพ (Health issue) มากขึ้น ส่งผลให้ตลาดเครื่องมือแพทย์เติบโต จากข้อมูลของสมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ไทย (Medical Device Technology Industry Association: THAI)  พบว่ามูลค่าตลาด (Market value) เครื่องมือแพทย์อยู่ที่ 7.44 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 260.4 แสนล้านบาท) ในขณะที่ตลาดเครื่องมือแพทย์ของไทย คาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 3.38 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 118.3 พันล้านบาท) หรือกว่าแสนล้านบาทในปี ค.ศ. 2570

นอกจากนี้ งานวิจัยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา พบว่าในปี พ.ศ. 2565 ถึง พ.ศ. 2566 มูลค่าจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศ (Domestic sales) ได้เติบโตเฉลี่ย 6.0% ต่อปี ความต้องการอุปกรณ์การแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย (Hygiene) และการดูแลสุขภาพ ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ เป็นผลมาจาก

  1. อัตราการเจ็บป่วยมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้นจากโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) แบบเรื้อรัง (Chronic)
  2. จำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่มีแนวโน้มกลับมา (Return) ใช้บริการในไทยเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2565 - 2566
  3. ผู้ประกอบการโรงพยาบาลมีแผนขยายการลงทุน (Investment expansion) ต่อเนื่อง
  4. กระแสการใส่ใจสุขภาพและการดูแลสุขภาพแบบครบวงจร (One-stop service)มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทั่วโลก
  5. ประเทศคู่ค้าหลัก (Major trade partner) ของไทยยังมีความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่อเนื่อง
  6. นโยบายสนับสนุน (Support policy) จากรัฐบาลในการพัฒนาให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)
  7. การพัฒนาผลิตภัณฑ์/นวัตกรรมการแพทย์ใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced) มากขึ้น

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thecoverage.info/news/content/7047 [2025, January 14].
  2. https://region2.prd.go.th/th/content/category/detail/id/1169/iid/189157 [2025, January 14].