4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 42
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 9 ตุลาคม 2567
- Tweet
-
- การจัดการขยะทางการแพทย์ จึงเป็นโจทย์สำคัญของผู้ประกอบการในการพัฒนาวัสดุที่สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ (Naturally bio-degradable)ตั้งแต่การพิจารณาเลือกวัตถุดิบ (Raw material), กระบวนการทำลาย (Disposition process), การหมุนเวียนมาใช้ใหม่ (Recycle), และการนำมาใช้ซ้ำ (Reuse) ซึ่งถือเป็นแนวทางสำคัญในการลดมลภาวะ (Pollution) ทางสิ่งแวดล้อม และสอดคล้องกับทิศทาง (Direction) ของการขับเคลื่อนสู่สังคมไร้ขยะ (Zero waste society) ของโลก
ปกิณกะ
เครื่องมือแพทย์ (Medical device) หมายถึง เครื่องใช้, ผลิตภัณฑ์หรือวัตถุสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม, การประกอบวิชาชีพพยาบาลและการผดุงครรภ์ (Midwifery), หรือเครื่องใช้ให้เกิดผลแก่สุขภาพและโครงสร้าง (Structure)ของร่างกายมนุษย์ เช่น เครื่องเอกซเรย์, เครื่องอัลตราซาวน์ (Ultrasound), ชุดน้ำยาตรวจวินิจฉัยโรค (Diagnostic kit), และเครื่องมือทันตกรรม (Dental device) เป็นต้น
ส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical equipment) หมายถึง อุปกรณ์ผ่าตัด (Surgery) และอุปกรณ์อื่นๆ เช่น มีดผ่าตัด (Scalpel), เครื่องวัดปรอท (Mercury meter) รวมถึงวัสดุที่ใช้ทางการแพทย์ (Medical supplies) เช่น ถุงมือยางทางการแพทย์ (Medical glove) และผ้าก๊อซ (Gauze) เป็นต้น
วัสดุทางการแพทย์ จำแนกเป็น
- วัสดุใช้ภายนอกร่างกาย เช่น ถุงมือยางสำหรับการตรวจโรค (Examination glove) และศัลยกรรม (Surgical glove) และเข็มฉีดยา (Syringe)
- วัสดุสอดใส่ (Insert) เข้าร่างกายชั่วคราว (ระยะเวลา 6-12 ชั่วโมง) เช่น สายน้ำเกลือ (Saline line), สายให้อาหารทางจมูก (Nasogastric tube), และไหมเย็บแผลชนิดละลาย (Absorbable suture) และ
- วัสดุฝังในร่างกาย (Implant)
รายการที่ (3) อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (Medical Device Act) พ.ศ. 2551 โดยมีกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) [Food and Drug Administration] เป็นหน่วยงานกำกับดูแล (Regulator) และรับผิดชอบในการออกใบอนุญาต (License) เพื่อผลิต/จำหน่าย/นำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐานตามที่สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) [Industrial Standards Institute] กำหนด เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีมาตรฐานเดียวกัน
มาตรการนี้ จะเพิ่มศักยภาพ (Potential) การแข่งขันทางการค้า (Trade competition) ให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและตลาดส่งออกเครื่องมือกายมนุษย์ (Implant devices) ทั้งหมดหรือบางส่วน เพื่อทดแทนอวัยวะ (Organ replacement) ส่วนที่ขาดหาย (Missing) หรือบกพร่อง (Defect) ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเนื้อเยื่อ (Tissue) หรือวัสดุที่ใช้ศัลยกรรมกระดูก (Orthopedic surgery) หรือใช้แทนเยื่อบุ (Mucosa) หรือพื้นผิว (Surface) ดวงตา
การดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการขายส่ง (Wholesale)-ขายปลีก (Retail)nสินค้าทางการแพทย์ ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์, เครื่องมือและเครื่องใช้ทางการแพทย์, วัสดุที่ใช้แต่งแผล (Wound dressing) ที่มีสารยึดติด, ชุดปฐมพยาบาล (First-aid kit), ผลิตภัณฑ์เคมี (Chemical) ที่ใช้ภายนอกสำหรับคุมกำเนิด (Birth control) และการจัดจำหน่ายสินค้าทางเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical)
แหล่งข้อมูล –