4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 41

  • ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่เร่งขึ้น (Accelerate) ในช่วงการแพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของ COVID-19 ทำให้มีการพัฒนาและสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added) ให้กับผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์(Medical device)ทั้งด้านนวัตกรรมใหม่, การเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency), และการวินิจฉัยและรักษาโรค โดยเทคโนโลยีที่จะมีบทบาท (Role) มากขึ้นในการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ ตัวอย่างเช่น
    • ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence: AI) ช่วยด้านการวินิจฉัยโรค, ประเมินโรค, และคัดกรองโรคระยะแรกได้รวดเร็ว (Rapid) และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
    • หุ่นยนต์ (Robot) ช่วยศัลยแพทย์ในการผ่าตัด (Surgical) ทำให้บาดแผล (Wound) และแผลเป็นจากการผ่าตัดเล็กลง (Minimally invasive), การพักรักษาตัวในโรงพยาบาล (Length of stay: LOS) สั้นลง, และประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก (Cost saving) อันที่จริง ภาครัฐของไทยมีเป้าหมายขยายกิจกรรมการวิจัย (Research) หุ่นยนต์ทางการแพทย์ (Medical robotics) จากปัจจุบันมีการผลิตหุ่นยนต์ เช่น หุ่นยนต์ดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care), หุ่นยนต์ช่วยบำบัดผู้ที่มีความต้องการพิเศษ, และหุ่นยนต์กายภาพบำบัด (Robotic physical therapy)
    • การพิมพ์ 3 มิติ (3D printing) ช่วยอำนวยความสะดวก (Facilitate) ในการทำงานของทีมผ่าตัดทั้งด้านเครื่องมือผ่าตัด (Surgical instrument), แบบจำลองทางกายวิภาค (Anatomic model), และการสร้างผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรมที่มีราคาถูกและเร็วกว่าเทคโนโลยีแบบดั้งเดิม และ
    • เทคโนโลยี 5G (= 5th Generation หรือชั่วรุ่นที่ 5)/VR (= Virtual reality หรือ “เสมือนจริง”) เอื้อต่อการให้บริการเภสัชกรรมทางไกล (Tele-pharmacy) นอกจากนี้ ยังมีการแพทย์จีโนมิกส์ (Genomic medicine) หรือการแพทย์แม่นยำ (Precision medicine) ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนรักษาผู้ป่วยอย่างจำเพาะเจาะจง (Specific care planning) สำหรับเครื่องมือแพทย์ที่จะมีบทบาทในการวินิจฉัยและรักษาโรคในระยะต่อไป เช่น หุ่นยนต์การแพทย์ (Medical robots) หรืออัตโนมัติ (Automation), การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ และการสร้างอวัยวะเทียมด้วยเทคโนโลยีการพิมพ์  3 มิติ จึงคาด (Expect) ว่าอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์จะมีมูลค่าการตลาดเพิ่มขึ้นอีกมาก (Enormous)ในอนาคต
  • สำหรับปัจจัยท้าทายของธุรกิจ (Business challenge) ได้แก่
    • ผู้ประกอบการของไทยส่วนมากเป็น SMEs ซึ่งผลิตวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ (Medical supply) จึงเป็นข้อจำกัดในการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced technology)
    • ผู้ประกอบการส่วนมากต้องนำเข้า (Import) อุปกรณ์การผลิต (Manufacturing equipment) ซึ่ง รวมถึงเทคโนโลยีจากต่างประเทศจึงอาจเผชิญความเสี่ยง (Exposure) จากความผันผวนของค่าเงิน (Exchange fluctuation) และต้นทุนสินค้านำเข้ามีแนวโน้ม (Trend) เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่การปรับตัวสู่การผลิตที่เน้นนวัตกรรม/เทคโนโลยีมากขึ้นอาจมีข้อจำกัด (Limitation) ด้านเงินทุน และ
    • การใช้วัสดุอุปกรณ์การแพทย์แบบใช้แล้วทิ้ง (Disposable) แม้จะมีข้อดีด้านประสิทธิภาพการป้องกันการติดเชื้อ (Infection prevention) แต่ก่อให้เกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental) จากการเพิ่มขึ้นของขยะติดเชื้อ (Infected waste) ทางการแพทย์ ซึ่งแม้จะผ่านกระบวนการกำจัดเชื้อ (Disinfection) แล้ว แต่ตัววัสดุไม่สามารถย่อยสลายได้ (Bio-degradable) ในบางประเทศ เช่น จีนและอินเดีย รัฐบาลได้ออกมาตรการควบคุม (Control) การกำจัดขยะให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมถึงสนับสนุนงานวิจัยนวัตกรรมเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ผลิต 
  •  

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/other-industries/medical-devices/io/medical-devices-2023-2025 [2024, September 24].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2024, September 24].