4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 40

1. การกำหนดให้ศูนย์กลางการแพทย์ (Medical hub) ครบวงจร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-curve) โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC) โดยอุตสาหกรรมเชื่อมโยง คือ การผลิตเครื่องมือแพทย์ (Medical device) มีผลิตภัณฑ์เป้าหมาย 11 กลุ่ม 

จุดมุ่งหมายคือการดึงดูด (Attract) การลงทุน (Investment) ของผู้ประกอบการทั้งในและต่างประเทศ  จากการให้สิทธิพิเศษทางภาษีภายใต้มาตรการของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment) โดยเฉพาะเครื่องมือแพทย์ประเภทความเสี่ยงสูง (High risk) หรือใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced technology)

ตัวอย่างเช่น เครื่อง X-ray, เครื่องตรวจร่างกายด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance imaging: MRI) เครื่องตรวจร่างกายด้วยคอมพิวเตอร์ Computerized tomography: CT) และวัสดุฝัง (Radioactive) ในร่างกาย รวมถึงผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่นำผลงานวิจัย (Research) จากภาครัฐหรือดำเนินการร่วมกับภาครัฐไปผลิตเชิงพาณิชย์ (Commercialization)

โดยผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ในเขต EEC และเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดตาก, สระแก้ว, เชียงราย, และนครพนม จะได้รับการลดหย่อนภาษีตามที่รัฐกำหนด ในปี พ.ศ. 2564 และ พ.ศ. 2565 กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว (Rapid expansion) ด้วยเม็ดเงินลงทุนกว่า 80,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยปีละ 8,090 ล้านบาท ในช่วงปี พ.ศ.2561 ถึง พ.ศ. 2562

2. การยกระดับอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ตามแผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG (=Bio-Circular-Green Economy) พ.ศ. 2564 ถึง พ.ศ. 2570 ตัวอย่างเช่น

  • การยกระดับคุณภาพการรักษาสู่ระบบการแพทย์แม่นยำ (Precision medicine)โดยการใช้บริการการแพทย์จีโนมิกส์ (Genomics) ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medical Products, ATMPs)  ที่จะช่วยหนุน (Bolster) ธุรกิจให้บริการทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง 
  • เร่งรัดการพัฒนาเครื่องมือและวัสดุทางการแพทย์ที่ใช้เทคโนโลยีระดับกลาง-สูง เพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวิสาหกิจขนาดเล็กและกลาง (Small and medium-sized enterprise: SME) และ 
  • ส่งเสริมการวิจัยทางคลินิก (Clinical research) เพื่อรองรับการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์และสุขภาพโดยนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ได้รับการส่งเสริม เช่น การถ่ายภาพรังสีระบบดิจิทัล (Digital imaging), เครื่องสแกนฟันแบบลำแสงรูปกรวย (Cone-beam computed tomography: CBCT), และวัสดุปลูกถ่ายกระดูกสังเคราะห์ (Bone-synthetic transplant)  

นานามาตรการ (Measure) ข้างต้นจะเป็นโอกาส (Opportunity) สำหรับการลงทุนกลุ่ม (Cluster) อุตสาหกรรมใหม่ อาทิ การผลิตเครื่องมือแพทย์ระดับสูง (High end), ชีวเภสัชภัณฑ์ (Bio-pharmaceuticals), ละการแพทย์แม่นยำ, จะช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ (Economic value) ให้แก่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ของไทย, ยกระดับการแข่งขัน (Competition) ของผู้ประกอบการ ซึ่งรวมถึงกลุ่ม SME, และพัฒนาไปสู่การเป็นศูนย์กลางการส่งออกเครื่องมือแพทย์สู่ตลาดโลก (Global market)

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/other-industries/medical-devices/io/medical-devices-2023-2025 [2024, September 10].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Medical_device [2024, September 10].