4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 35
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 3 กรกฎาคม 2567
- Tweet
- การลงทุนในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ (Medical device) ปี พ.ศ. 2565 ตามโครงการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนจาก BOI (Board of Investment หรือ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) มีมูลค่าลดลง -7% จากปี พ.ศ. 2564 ซึ่งการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเพื่อรับมือกับวิกฤติ (Crisis) ไวรัส COVID-19 โดยหมวดการผลิตเครื่องมือแพทย์ชนิดอื่นๆ (ยกเว้นการผลิต [Manufacture] เครื่องมือแพทย์จากผ้าหรือเส้นใย [Fiber] ชนิดต่างๆ) เช่น ถุงมือยาง (Rubber glove)ทางการแพทย์, ชุดน้ำยาตรวจวินิจฉัยโรค (Re-agent), เลนส์สายตา (Optical lens), และน้ำยาฆ่าเชื้อ (Disinfectant) มีมูลค่าลงทุนเพียง 5.6 พันล้านบาท หดตัว -90.0% จากปีก่อน
และหมวดการผลิตเครื่องมือแพทย์จากผ้าหรือเส้นใยชนิดต่างๆ (เช่น หน้ากากอนามัย [Sanitary mask], สำลีทางการแพทย์ (Medical cotton), ผ้าพันแผล (Bandage), และผ้าซับ [Absorbent] ที่ใช้ทางการแพทย์) หดตัว -87.5% จากปีก่อน ขณะที่การลงทุนหมวดการผลิตเครื่องมือแพทย์ที่อยู่ในประเภทความเสี่ยง (Risk) สูงหรือเทคโนโลยีสูงมีมูลค่า 699.6 ล้านบาท (เช่น อุปกรณ์ตรวจและขยายหลอดเลือด (Blood vessel), รากฟันเทียม (Denal implant), และผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อทางการแพทย์)
สำหรับโครงการที่ได้รับส่งเสริมเป็นพิเศษ เพื่อกระตุ้นการลงทุนผลิตภัณฑ์การแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้ในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 มีมูลค่า 923.8 ล้านบาท ลดลง -1.6% จากปี พ.ศ. 2564 ได้แก่ การผลิตแอลกอฮอล์ทางการแพทย์ (Pharmaceutical grade) มูลค่า 571.7 ล้านบาท (+24.1%จากปีก่อน) และการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ (Non-woven fabric) อื่นๆ หรือผลิตภัณฑ์สุขอนามัย (Hygienic products) จากเส้นใยสังเคราะห์ มูลค่า 352.1 ล้านบาท (-26.3% จากปีก่อน)
- ช่วงครึ่งแรกปี พ.ศ. 2566 ตลาดเครื่องมือแพทย์มีสัญญาณเติบโตต่อเนื่อง ผลจากการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม (Economic and social activities) ที่กลับมาเป็นปกติ ทำให้ประชาชนคลาย (loosen) ความระมัดระวัง (Caution) ทั้งด้านการเว้นระยะห่าง (Physical distance) หรือสวมหน้ากากอนามัย ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อ (Infected patient) มีจำนวนเพิ่มขึ้น (ครึ่งปีแรก ผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น +390.9% จากปีก่อน)
จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ (Foreign tourist) ที่ 12.9 ล้านคน ซึ่งมีกลุ่มที่เข้ามาใช้บริการ (Service recipient)การแพทย์ในไทยรวมอยู่ด้วย และไวรัส COVID-19 ที่ยังคงอยู่ (Existent) ทำให้ความต้องการ (Demand) อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ (Infection-prevention equipment) มีอยู่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ ความต้องการเครื่องมือแพทย์ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง (Continuous increase) ในประเทศคู่ค้าที่เป็นตลาดส่งออกหลักของไทย
ภาพรวมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ช่วงครึ่งแรกของปี พ.ศ. 2566 สรุปได้ดังนี้
- ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (Industrial output index) อุปกรณ์การแพทย์ เฉลี่ยที่ 1 ใกล้เคียงกับปี 2565 และอัตราการใช้กำลัง (Capacity utilization) การผลิตเครื่องมือแพทย์เฉลี่ยที่ 74.5% เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ย +67.7% ปี พ.ศ. 2565 ทั้งนี้ ความต้องการใช้อุปกรณ์การแพทย์และอุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อเพิ่มขึ้น +3.3% จากปีก่อน โดยถุงมือยางทางการแพทย์ เพิ่มขึ้น +5.2% จากปีก่อน และชุดถ่ายเลือด (Blood infusion) และน้ำเกลือ (Saline solution) เพิ่มขึ้น +17.4% จากปีก่อน
แหล่งข้อมูล –