4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 31
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 8 พฤษภาคม 2567
- Tweet
3) กลุ่มน้ำยาและชุดวินิจฉัยโรค มีจำนวนผู้ประกอบการ 6.3% ของผู้ประกอบการทั้งหมด เพิ่มขึ้นจาก 4.8% ในปี 2564 จากความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจหาเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มขึ้นมาก ส่วนใหญ่เป็นการร่วมทุนกับบริษัทต่างชาติ โดยผลิตภัณฑ์สำคัญในกลุ่มนี้ อาทิ น้ำยาตรวจโรคเบาหวาน โรคไต โรคตับอักเสบ น้ำยาตรวจการตั้งครรภ์ และอุปกรณ์ตรวจหาเชื้อ COVID-19 (ATK)
ผู้ผลิต (Manufacturer) และผู้นำเข้า (Importer) มีช่องทางการจำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์การแพทย์ ดังนี้
1) จำหน่ายต่อให้กับบริษัทตัวแทนจัดจำหน่าย (Distributor)/ร้านค้าทั้งที่เป็นบริษัทในเครือ (Affiliate) และร้านค้าทั่วไป เพื่อกระจายสินค้า (Distribution) ต่อไปยังกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย (Target customer) ในประเทศ ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ในธุรกิจนี้มักเป็นผู้ที่มีความรู้หรืออยู่ในวงการ (Circle) ด้านการรักษาสุขภาพ (Health care) ทำให้มีช่องทางการจำหน่ายกว้างขวาง
2) จำหน่ายโดยตรง (Direct selling) กับโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน โดยการจำหน่ายแก่โรงพยาบาลรัฐ/สถานพยาบาลภาครัฐจะเป็นไปตามนโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement) ของภาครัฐ ซึ่งปัจจุบัน กระทรวงการคลัง (Ministry of Finance) ได้พัฒนาระบบจัดซื้อจัดจ้างผ่านตลาดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic market: e-market) และการประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic bidding: e-bidding) จากเดิมใช้วิธีตกลงราคา (สำหรับการจัดซื้อไม่เกิน 5 แสนบาท) วิธีสอบราคา (สำหรับการจัดซื้อเกิน 5 แสนบาท แต่ไม่เกิน 2 ล้านบาท) และวิธีประกวดราคา (สำหรับการจัดซื้อเกิน 2 ล้านบาท) ส่วนโรงพยาบาลเอกชนจะใช้วิธีประมูล โดยนำส่งใบสั่งซื้อตามระเบียบ (Rule and regulation) ของโรงพยาบาลนั้นๆ
3) จำหน่ายในตลาดต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือแพทย์ประเภทวัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) โดยผลิตภัณฑ์ส่งออกที่สำคัญ คือ ถุงมือยางและถุงมือยางที่ใช้ทางการแพทย์ (Medical glove) มีตลาดส่งออกหลัก คือ สหรัฐอเมริกา, ญี่ปุ่น, และเยอรมนี ด้านผู้ประกอบการรายสำคัญ คือ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์คอร์ปอร์เรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
ตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ (Medical device) และอุปกรณ์การแพทย์ (Medical equipment) มีทั้งประเภทขายส่งและขายปลีก มีจำนวนรวมกันกว่า 10,000 ราย (ข้อมูลปี พ.ศ. 2565) ซึ่ง 90.6% เป็นผู้ประกอบการรายย่อย (Micro) และรายเล็ก (Small) มีรายได้รวมกันคิดเป็นสัดส่วน (Proportion) 8.6% ของรายได้ทั้งหมด
โดยที่รายย่อยมีจำนวน 51.7% ของจำนวนทั้งหมด แต่มีรายได้เพียง 1.2%% ส่วนรายเล็ก มีจำนวน 38.9% ของจำนวนทั้งหมด แต่มีรายได้เพียง 7.4% ของรายได้ทั้งหมด
ในขณะผู้ประกอบการรายกลาง (Medium-sized) และรายใหญ่ (Large) มีสัดส่วนรวมกันเพียง 9.4% แต่มีส่วนแบ่งรายได้ (Revenue) ถึง 91.4%
โดยที่ผู้ประกอบการรายกลาง มีจำนวน 6.6% ของจำนวนทั้งหมด แต่มีรายได้ถึง 13.3% ของรายได้ทั้งหมด และผู้ประกอบการรายใหญ่ มีจำนวน 2.7% ของจำนวนทั้งหมด แต่มีรายได้ถึง 78.1% ของรายได้ทั้งหมด
การแข่งขันในกลุ่มตัวแทนจำหน่ายค่อนข้างรุนแรง (Highly competitive) เนื่องจากมีผู้ประกอบการมากราย ผลจากการจดทะเบียน (Registration) เป็นผู้ประกอบการจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ในประเทศทำได้ไม่ยากนัก อีกทั้งสินค้าส่วนใหญ่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ผู้บริโภคจึงสามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์จากผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายรายอื่นทดแทน (Substitute) ได้ง่าย
แหล่งข้อมูล –