4. ตลาดเครื่องมือแพทย์ - ตอนที่ 16
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 25 กันยายน 2566
- Tweet
ตัวเลขการค้าของโลก (Global trade) ในตลาดเครื่องมือแพทย์ (Medical device) อยู่ 80 ล้านล้านบาท ในปี พ.ศ. 2562 โดยที่ครึ่งหนึ่งเป็นการนำเข้า (Import) และอีกครึ่งหนึ่งเป็นการส่งออก (Export) โดยที่มูลค่าของน้ำยา (Re-agent) และชุดทดสอบ (Test kit) มีอัตราส่วนคงที่อยู่ที่ 4.1% ของมูลค่าตลาดรวม ตลอดระยะเวลา 10 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2552 ถึง พ.ศ. 2562
เครื่องมือแพทย์ครุภัณฑ์ (Durable) ที่เพิ่มขึ้น จาก 73.3% ของมูลค่าตลาดรวม ในปี พ.ศ. 2552 เป็น 75.1% ของมูลค่าตลาดรวม ในปี 2562 ส่วนเครื่องมือแพทย์ชนิดใช้ครั้งเดียว (Single use) ลดลงจาก 22.6% ของมูลค่าตลาดรวม ในปี พ.ศ. 2552 เป็น 20.8% ของมูลค่าตลาดรวม ในปี 2562
ตลาดเครื่องมือแพทย์ในบรรดาประเทศอาเซียน (ASEAN = Association of South-East Asia Nations) นั้น ไทยมีมูลค่าตลาดสูงสุด (โดยมีสัดส่วน [Proportion] นำเข้า ต่อ ส่งออก อยู่ที่ 28% กับ 72%), รองลงมา คือ สิงคโปร์ (โดยมีสัดส่วนนำเข้า ต่อ ส่งออก อยู่ที่ 44% กับ 56%), มาเลเซีย (โดยมีสัดส่วนนำเข้า ต่อ ส่งออก อยู่ที่ 38% กับ 62%), อินโดนีเซีย (โดยมีสัดส่วนนำเข้า ต่อ ส่งออก อยู่ที่ 47% กับ 53%), และฟิลิปปินส์ (โดยมีสัดส่วนนำเข้า ต่อ ส่งออก อยู่ที่ 85% กับ 5%) ตามลำดับ
สำหรับตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 มีการส่งออกรายการ (Item) ชนิดใช้ครั้งเดียว 88.3%, รายการครุภัณฑ์ 10.3%, และรายการน้ำยาและชุดทดสอบเพียง 1.4% โดยส่งไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา 29.7%, ญี่ปุ่น 12.3%, เนเธอร์แลนด์ 7.3%, เยอรมนี 6.3%, ฝรั่งเศส 4.9%, จีน 4%, สหราชอาณาจักรอังกฤษ 3.3%, เบลเยียม 2.6%, และส่วนที่เหลือของโลก (Rest of the world) 29.7%
สำหรับตลาดเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทยในปี พ.ศ. 2562 มีการน้ำเข้า รายการครุภัณฑ์ 42.7%, รายการ (Item) ชนิดใช้ครั้งเดียว 40.5%, และรายการน้ำยาและชุดทดสอบเพียง 16.8% โดยนำเข้าจากประเทศสหรัฐอเมริกา 29%, จีน 15.1%, เยอรมนี 11.4%, ญี่ปุ่น 8.3%, เวียดนาม 5.1%, ไอร์แลนด์ 4.7%, เม็กซิโก 3.2%, สิงคโปร์ 2.9%, และส่วนที่เหลือของโลก (Rest of the world) 28.3%
สายโซ่คุณค่า (Value chain) ของเครื่องมือแพทย์ เริ่มต้นที่ผู้ขายสินค้า (Supplier) วัตถุดิบในการผลิต อันได้แก่ ยางพารา (Rubber), พลาสติก (Plastic), และอื่นๆ แล้วส่งต่อให้ผู้ผลิต (Manufacture) ซึ่งนับเป็นเพียง 20% ของทั้งหมด อีก 80% เป็นการนำเข้าสินค้าสำเร็จรูป (ดังรายละเอียดในย่อหน้าก่อนหน้านี้) ทั้งหมดนี้ส่งต่อไปยังผู้แทนจำหน่าย (Distributor)
ผู้แทนจำหน่ายแบ่งจำหน่าย 30% ให้ตลาดภายในประเทศ (Domestic) อีก 70% ส่งออกไปยังต่างประเทศ (ดังรายละเอียด 2 ย่อหน้าก่อนหน้านี้) ส่วนที่นำเข้า + ส่วนที่ผลิตในประเทศ ก็จะนำไปจำหน่ายผ่านโรงพยาบาล (ซึ่งรวมคลินิกด้วย) และร้านปลีก (ซึ่งรวมร้านขายยาด้วย) ส่วนผู้บริโภคคนสุดท้าย (End-user) ก็คือผู้ป่วย (Patient)
ในบรรดาผู้เล่น (Player) ในตลาดเครื่องมือแพทย์ ธุรกิจขนาด (Size) เล็กนับเป็น 98.3% ของจำนวนรายทั้งหมด แต่มีรายได้เพียง 41% ของรายได้ทั้งหมด, ขนาดกลางนับเป็น 1.2% ของจำนวนรายทั้งหมด แต่มีรายได้ถึง 13% ของรายได้, ส่วนขนาดใหญ่นับเป็น 0.5% ของจำนวนรายทั้งหมด แต่มีรายได้ถึง 46% ของรายได้ทั้งมด
แหล่งข้อมูล –
- https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/Other-Industries/Medical-Devices/IO/medical-devices [2023, September 24].
- https://asean.org/ [2023, September 24].