5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 46
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 5 ธันวาคม 2567
- Tweet
ปัจจัยที่ 3 คือ อำนาจต่อรองของลูกค้า (Bargaining power of buyer) - สำหรับลูกค้ากลุ่ม B2C มีอำนาจการต่อรองสูง เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food supplement) ประเภทผ่อนคลาย (Relax) ความเครียด (Stress) และช่วยในการนอนหลับ (Sleeping aid) อยู่ในตลาดค่อนข้างมาก
โดยผลิตภัณฑ์จะมีความแตกต่างด้านการใส่สารสกัด (Extract) เพื่อเป็นสารออกฤทธิ (Active ingredient) โดยสารสกัดที่ได้รับความนิยม เช่น L-theanine, GABA, และ Chamomile เป็นต้น โดยผู้บริโภคจะให้ความสำคัญแก่ความน่าสนใจ (Interesting) และความน่าเชื่อถือ (Reliable) ของยี่ห้อ (Brand) ทั้งการวิจัย (Research) ของสารสกัด หรือเป็นยี่ห้อที่รู้จักอยู่แล้ว
แต่ให้ความสำคัญที่สุดแก่ผลลัพธ์ (Outcome) ของการรับประทานผลิตภัณฑ์ มากกว่าการเลือก (Select) ชนิดของสารสกัด นอกจากนี้ยังรวมไปถึงสินค้าที่มีการนำเข้า (Import) จากประเทศต่างๆ โดยอาหารเสริมที่ได้รับความนิยม (Popular) คือ อาหารเสริมเมลาโทนิน (Melatonin) และเป็นที่รู้จัก (Well-known) สำหรับผู้บริโภคโดยทั่วไป
แต่กฎหมายยังไม่อนุญาตให้ผลิตในประเทศ (Domestic production) ได้ จึงจำเป็นจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ง่าย (Accessible) ผ่านช่องทาง (Channel) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce) อันได้แก่ Shopee และ Lazada ที่มีผู้นำข้ามาขายเป็นจำนวนมาก
ตลอดจนเว็บไซต์นำเข้าอาหารเสริมจากต่างประเทศที่ ได้รับความนิยม คือ iherb แต่สินค้ามีราคาที่ค่อนข้างสูง (Expensive) สำหรับผู้บริโภค จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่าผู้บริโภคมีทางเลือก (Choice) ผลิตภัณฑ์ยี่ห้อต่างๆ ได้มาก ประกอบกับช่องทางการจัดจำหน่าย (Distribution) ที่มีความหลากหลาย
ปัจจัยที่ 4 คือ ภัยจากสินค้าหรือบริการทดแทน (Threat of substitute products or services) - ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ช่วยผ่อนคลายความเครียดและช่วยในการนอนหลับ จะช่วยให้ผู้บริโภคที่รับประทานสินค้ารู้สึกผ่อนคลาย นอนหลับได้ง่ายขึ้น หรือในบางผลิตภัณฑ์สามารถช่วยให้คุณภาพ (Quality) การนอนหลับดียิ่งขึ้น
ในสินค้ากลุ่มนี้ สามารถมีสินค้าทดแทนได้ไม่สมบูรณ์ เช่น น้ำหอม (Aroma) หรือ เทียนหอม เพื่อการผ่อนคลาย ซึ่งอาจช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้นแต่ไม่สามารถช่วยในเรื่องคุณภาพของการนอนหลับได้ ยาแก้แพ้ (Antihistamine) หรือยานอนหลับ (Sleeping pill) ที่ช่วยให้นอนหลับได้ดียิงขึ้น
แต่ยังเป็นข้อกังวล (Concern) สำหรับผู้บริโภคถึงอาการติดยา (Drug addiction) หรืออาการดื้อยา (Drug resistance) ที่อาจเกิดขึ้นได้ ถ้ารับประทานติดต่อกัน (Consecutively) เป็นระยะเวลานาน และผลิตภัณฑ์ในกลุ่มกัญชง (Hemp) และกัญชา (Cannabis) ที่ช่วยในเรื่องของการผ่อนคลาย และนอนหลับ
แต่ยังมีข้อกังวลสำหรับผู้บริโภคบางกลุ่มถึงอันตรายของการบริโภคเกินขนาด (Overdose) และคุณภาพของสินค้าที่อาจมีการปนเปื้อน (Contamination) ของสาร THC (= Tetra-hydro-cannabinol) ซึ่งเป็นสารที่ออกฤทธิต่อสมอง ทำให้เคลิบเคลิ้ม หากสารนี้มีมากเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด จะเกิดอันตรายต่อสุขภาพ (Health hazard)
แหล่งข้อมูล –