5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 45

วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก 

ปัจจัยแรก คือ อุปสรรคที่กีดขวางการเข้าสู่ตลาดแข่งขันของผู้แข่งขันหน้าใหม่ (Barriers to entry) ด้วยมูลค่าตลาดที่สูง ประกอบกับการเข้ามาดำเนินกิจการในตลาดได้ง่าย เนื่องจากผู้ผลิตรายใหม่ไม่จำเป็นต้องมีโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร แต่สามารถจ้างโรงงานรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่สามารถผลิตภายใต้สูตรเฉพาะ (Specific formulation) และยี่ห้อ (Brand) ของตนเอง  

อีกทั้งโรงงานรับจ้างผลิต (Contract manufacturing)ส่วนใหญ่มีการให้บริการแบบครบวงจร (One-stop service) ตั้งแต่การออกแบบสูตร, การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ (Product registration), การออกแบบ (Design) ยี่ห้อตัวสินค้า, การออกแบบบรรจุภัณฑ์ (Packaging), และการแนะนำ (Recommendation) การทำการตลาดเบื้องต้น (Initial marketing) จึงทำให้ผู้ผลิตรายใหม่สามารถเข้าสู่ตลาด (Market entry) ได้ง่ายยิ่งขึ้น 

ในขณะเดียวกันสินค้าที่จะเข้าสู่ตลาดมีความจำเป็นจะต้องได้รับมาตรฐานบังคับ (Required standard) จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) [Food and Drug Administration: FDA] กล่าวตคือคือต้องผ่านการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์อาหารประเภท สบ. 3 หรือ สบ. 7 ขึ้นอยู่กับส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ จึงเป็นเงื่อนไข (Condition) สำคัญสำหรับผู้แข่งขันรายใหม่ที่จะต้องมีการปฏิบัติตาม (Compliance) ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับมาตรฐาน (Standard) ของสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร และให้ความไว้วางใจ (Trust) ต่อการเลือกซื้อสินค้าที่ได้รับ มาตรฐาน อย.  

นอกจากนี้การเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายผ่านช่องทาง (Channel) ออนไลน์ของผู้บริโภค เป็นแรงจูงใจ (Motivation) ให้เกิดผู้ผลิตรายใหม่ เนื่องจากมองเห็นโอกาสในการทำธุรกิจผ่านช่องทางออนไลน์แบบ B2C (Business to consumer) ที่ไม่จำเป็นต้องฝากสินค้าในร้านสะดวกซื้อ (Convenience store) หรือร้านขายยา (Drug store) ชั้นนำ (ที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการบริหารค่อนข้างมาก) เหมือนในอดีต (Historical) ที่ผ่านมา  

ปัจจัยต่อไป คือ อำนาจต่อรองของผู้ขาย (Bargaining power of supplier) เนื่องจากความนิยม (Popularity) ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเติบโตขึ้น ซึ่งได้อานิสงส์หนุนจากความสนใจในสุขภาพที่มีมากขึ้นจากสถานการณ์แพร่ระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส Covid-19 ส่งผลให้มีผู้ประกอบการธุรกิจ เริ่มขยายธุรกิจ (Business expansion) ด้านการรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมากขึ้น

ประกอบกับเกิดผู้ประกอบการธุรกิจรายใหม่ ที่รับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหารโดยตรงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous increase) ส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่สูง (Highly competitive) ในธุรกิจการรับจ้างผลิตผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จึงเกิดอำนาจการต่อรองของผู้ขายค่อนข้างน้อย กล่าวคือ ต้องมีการลดปริมาณการผลิตขั้นต่ำ (Minimum requirement)

จากเดิมที่ปริมาณขันต่ำของการผลิตของโรงงานอยู่ที่ 30,000 – 50,000 แคปซูล ณ ปัจจุบันได้มีการแข่งขันเพื่อชักจูงผู้ประกอบการรายใหม่ที่มีเงินลงทุน (Investment) ไม่สูง โดยการลดปริมาณการผลิตเหลือครั้งละ 10,000 แคปซูล และมีการแข่งขันด้านการให้บริการที่ครบวงจร (Comprehensive services)

บริการดังกล่าวนับตั้งแต่การออกแบบสูตร, การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์, การออกแบบยี่ห้อ, การออกแบบบรรจุภัณฑ์, และการแนะนำการทำการตลาดเบื้องต้น นอกจากนี้ยังมีการแข่งขันด้านคุณภาพของวัตถุดิบ (Raw material) ทั้งการนำเข้า (Import) และงานวิจัย (Research) ด้านสรรพคุณของสาร สกัด (Extract property)

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4712/1/TP%20FB.002%202565.pdf [2024, November 20].
  2. https://www.facebook.com/marketeeronline/posts/ตลาดยาและเสริมอาหาร/688529656725061/ [2024, November 20].