5. ตลาดอาหารเสริม - ตอนที่ 32
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 23 พฤษภาคม 2567
- Tweet
- มีกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มลูกค้าที่ชัดเจน
ด้วยความที่พฤติกรรม (Behavior) ของลูกค้ามักมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (Ever-changing) ทำให้ความต้องการ (Demand) ผลิตภัณฑ์อาหารเสริม (Food supplement) ของแต่ละกลุ่มอาจจะแตกต่างกัน (Differential) ออกไป ดังนั้นธุรกิจจะต้องเข้าใจพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย (Target customer) ที่ชัดเจนอย่างถ่องแท้
อย่างอาหารเสริม จะมี 2 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ (New generation) กับกลุ่มลูกค้าวัยสูงอายุ (Elderly) ดังนั้นเมื่อเรารู้จักกลุ่มเป้าหมาย เข้าใจความต้องการของลูกค้าอย่างชัดเจน ก็จะทำให้ธุรกิจสามารถผลิต (Manufacture) และพัฒนา (Develop) อาหารเสริมออกมาให้ตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่มได้ดีมากยิ่งขึ้น
- เน้นคุณภาพในทุกๆ ขั้นตอน มีมาตรฐานการผลิตและความปลอดภัย
เนื่องจากอาหารเสริมเป็นสิ่งที่ใช้บริโภคเข้าไปในร่างกาย (In-take) เรื่องคุณภาพ (Quality) และความปลอดภัย (Safety) จึงเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาในอันดับต้นๆ (Primary consideration) แม้ว่ากระบวนการผลิต (Manufacturing process) จะเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของโรงงาน (Factory) ผลิตอาหารเสริม แต่เจ้าของธุรกิจจะต้องติดตาม (Monitor) แต่ละขั้นตอนอย่างใกล้ชิด เพื่อให้สามารถวางแผนการปล่อยสินค้าออกสู่ตลาด (Market launch) ได้ พร้อมๆ กับการตรวจเช็ค (Inspection) ความถูกต้อง ทั้งส่วนประกอบ (Component) และวันหมดอายุ (Expiry date)
- ธุรกิจควรมีเว็บไซต์, มีตัวตน, และสร้างความน่าเชื่อถือ
คงไม่มีลูกค้าคนไหนอยากจะเสี่ยง (Risk) ซื้อสินค้ากับร้านที่ไม่มีที่มาที่ไปอย่างแน่นอน การมีเว็บไซต์จึงเป็นตัวช่วย (Aid) ที่จะสร้างความน่าเชื่อถือ (Credibility) ให้กับธุรกิจ ว่าจะไม่ถูกโกง ร้านมีตัวตนจริง (Real existence) และติดตามได้ อีกทั้งยังช่วยให้หากมีใครสักคนค้นหา (Search) สินค้าบน Google ก็มีโอกาสที่เจอเว็บไซต์ของบริษัท
- สร้างการรับรู้ที่ดี, สร้างจุดขายให้ยี่ห้อ, และมีเนื้อหาต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
หนึ่งในกลยุทธ์ (Strategy) ที่จะช่วยสร้างรายได้ (Revenue generation) ให้กับธุรกิจได้เป็นอย่างดี คือการสร้างการรับรู้ (Awareness) ที่ดีและสร้างจุดขายที่โดดเด่น (Unique selling point) ให้กับยี่ห้อ (Brand) ด้วย การทำ SEO (= Search engine optimization) หรือการใช้ประโยชน์สูงสุดจากเครื่องค้นหาคำหลัก (Key word) บนเว็บไซต์
ไม่จำเป็นต้องใช้ทุนมากใน SEO โดยใช้ในการสร้างความน่าเชื่อถือ และต้องการให้เว็บไซต์หรือหน้าเนื้อหา (Content) นั้นปรากฎบนผลการค้นหาในระยะยาว ถือเป็นการเน้นย้ำ (Emphasize) ตัวตนของยี่ห้อ (Brand identity) ซึ่งใช้ระยะเวลาในการประมวลผล (Processing time) ที่นานพอควร
แต่ก็เป็นการสร้างรากฐาน (Foundation) ที่มั่นคง (Solid) ให้กับธุรกิจผ่านทางเนื้อหา และคำหลัก ซึ่งกลุ่มที่อาจเป็นลูกค้าในอนาคต (Prospect) อาจจะค้นหาคำหลัก แล้วพบเว็บไซต์รับลูกต่อ (Landing page) ของบริษัท ก็จะช่วยเพิ่มโอกาส (Opportunity) ในการขายมากขึ้น
แหล่งข้อมูล –