6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 45
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 22 พฤศจิกายน 2567
- Tweet
และในขั้นก่อนที่จะสั่งซื้อ (Purchaser) ผู้ปฏิบัติงานต้องมีการคำนวณ (Calculate) และนำเสนอความคุ้มค่าในการลงทุน (Profitability of investments) หรือ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Rate of return (ROI) โดยการคิดคำนวณดังกล่าว จะอ้างอิง (Refer) กับปริมาณ (Quantity) การสั่งซื้อและราคาขาย (Selling price) ของสินค้าของลูกค้าแต่ละแห่ง หากทางผู้อนุมัติเห็นชอบ (Approve) ให้ดำเนินการได้ จึงจะเริ่มสั่งซื้อ
- น้ำยาสาหรับการตรวจวิเคราะห์ที่มีการสั่งซื้อเป็นประจำ
รายการน้ำยา (Reagent) หรือวัสดุสิ้นเปลือง (Supplies) ที่มีการสั่งซื้อประจำ (Regularly) มีความต้องการในตลาด (Market demand) มาก มีผลกระทบ (Effect) ต่อยอดขายในปริมาณมาก หรือเป็นสินค้าที่มีปริมาณความต้องการของลูกค้าคงที่ (Steady) ตลอดทั้งปี จะได้มาจากการประเมิน (Assess) ยอดขายหลังจากดำเนินธุรกิจไปในระยะแรก (1 ปีแรก) เพื่อความผิดพลาด (Mistake) จากการขาด (Lack) การสั่งซื้อ และลดขั้นตอนการสั่งเป็นครั้งคราว (Periodic) และสะดวก (Convenient) ต่อโรงงานผลิต (Factory) ที่จำเป็น (Necessary) จะต้องวางแผนในการผลิต (Production planning) น้ำยาดังกล่าว ทางเจ้าหน้าที่ในประเทศไทยจะวางแผนการสั่งซื้อ (Purchasing plan) เป็นรายเดือนตลอดทั้งปี และทาการปรับแก้ไข (Adjust) ในกรณีจะเพิ่มปริมาณหรือลดปริมาณการนาเข้าเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้มั่นใจ (Ensure) ว่าปริมาณที่จะนำเข้านั้นถูกต้องตรงกับความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง โดยอาจมีการตั้งปริมาณสินค้าคงคลังขั้นต่ำ (Safety Stock) สำหรับสินค้ารายการดังกล่าวอีกด้วย 5
- น้ำยาสาหรับการตรวจวิเคราะห์พิเศษ
ในการจัดจาหน่ายวัสดุสิ้นเปลือง หรือน้ำยาที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ อาจมีสินค้าบางรายการที่ได้รับคำสั่งซื้อเป็นครั้งคราว หรือมีความต้องการเฉพาะเรื่อง (Specific) ยากแก่การวางแผนในการนำเข้าเป็นประจำได้ ดังนั้น จึงได้กำหนดวิธีการนำเข้า (Import) สินค้าซึ่งมีลักษณะในการสั่งซื้อดังกล่าวไว้
- อะไหล่สาหรับเครื่องมือตรวจวิเคราะห์
ในการบำรุงรักษา (Maintenance) เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ (Analyzer) ให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ จำเป็นต้องมีการสั่งซื้อวัสดุประเภทอะไหล่ (Spare part) เพื่อใช้ในการให้บริการลูกค้า โดยกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบและดำเนินงาน โดยเมื่อสินค้าถูกส่งมายังประเทศไทยแล้ว จะถูกนาเข้าคลังสินค้า (Warehouse) ของบริษัทจัดจำหน่าย (Distributor) ซึ่งบริษัทฯ ได้ว่าจ้างให้เป็นผู้ดูแลคลังสินค้าผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
- การจัดการคลังสินค้า, การรับคาสั่งซื้อ, และการนำส่งสินค้าแก่ลูกค้าปลายทาง
เพื่อประหยัด (Save) ค่าใช้จ่ายและเพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) แก่กระบวนการนี้ บริษัทฯ ได้ตัดสินใจเลือกที่จะใช้วิธีการจัดจ้างจากภายนอก (Outsourcing) ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในส่วนนี้ โดยความต้องการของบริษัทฯ ได้แก่ การบริหารงานคลังสินค้า (Warehousing), ความต้องการด้านงานเอกสาร (Documentation) ในการจัดจำหน่าย, งานการจัดเก็บ (Collection) ค่าสินค้าและบริการ, และงานจัดส่ง (Delivery) สินค้าให้แก่ลูกค้าปลายทาง ซึ่งได้คัดเลือกจากผู้ให้บริการ (Service provider) ที่มีความคุ้นเคยอยู่ในอุตสาหกรรมการจัดส่งสินค้าทางการแพทย์, มีระบบคลังสินค้าตรงตามมาตรฐาน (Standard) ของบริษัทฯ โดยจะแบ่งความรับผิดชอบออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่
- ส่วนงานของบริษัทฯ
ทำหน้าที่เป็นด่านแรก (Frontier) ในการรับคำสั่งจากลูกค้า (Order taker) โดยจะรับข้อมูลรายละเอียด (Detail) ทั้งด้านรายการ (Transaction), ราคาสินค้า (Pricing), สถานที่จัดส่งสินค้า (Destination), บุคคลติดต่อ (Contact person) และข้อกำหนด (Requirement) เอกสารที่ต้องการเพิ่มเติม (Additional)
แหล่งข้อมูล –
- https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, November 21].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, November 21].