6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 44

สืบเนื่องจากธุรกิจของบริษัทฯ ได้ดำเนินการโดยนำเข้า (Import) สินค้าสำเร็จรูป (Finished goods) มาจัดจำหน่าย (Distribution) แก่ลูกค้าในประเทศไทย ดังนั้น แผนการดำเนินงาน (Operations plan) จะมิได้กล่าวถึงส่วนของการวิจัย (Research), การพัฒนา (Development) และการผลิต (Production) เครื่องมือหรือน้ำยาในการตรวจวิเคราะห์

แต่จะประกอบด้วยส่วนสำคัญในการดำเนินงานในประเทศไทย ซึ่งแต่เดิม บริษัทฯ ได้มีการกำหนดแผนการดำเนินการอยู่แล้ว แต่ผู้วิจัยมีความคิดเห็นว่าในบางขั้นตอน (Step) ควรพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ (Efficiency) และรวดเร็ว (Rapid) มากขึ้น จึงได้มีการปรับแก้ไขในขั้นตอนดังกล่าว โดยแผนการดำเนินงาน ประกอบด้วย

  1. การขึ้นทะเบียน (Registration) สินค้าเพื่อขอนำเข้า (Import) เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical device and equipment)
  2. การสั่งสินค้า (Order) และนาเข้าจากประเทศผู้ผลิต (Manufacturer)
  3. การจัดการคลังสินค้า (Warehousing), การรับคำสั่งซื้อ (Purchase order), และการนำส่ง (Delivery) สินค้าแก่ลูกค้าปลายทาง (End-user)
  4. การดำเนินงานในส่วนการให้บริการหลังการขาย (After-sales service)

โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. การขอนำเข้าและขายเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ของประเทศไทยนั้น จำเป็น (Necessary) ที่จะต้องการขออนุญาตนำเข้าและจำหน่าย โดยหน่วยงานทางภาครัฐที่กำกับดูแล (Regulatory) อยู่ คือ กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ (Medical Device Control Division) สานักงานคณะกรรมการอาหารและยา อย. (Food and Drug Administration: FDA) โดยมีกฎกระทรวง (Ministerial regulation) ที่เกี่ยวข้องอยู่ 2 ฉบับ 

กล่าวคือ พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ (Medical Device Act) พ.ศ. 2555 และ กฎกระทรวงการขออนุญาตและการออกใบอนุญาตขายเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2555 โดยในขั้นตอนการขึ้นทะเบียนสินค้าและการขออนุญาตดังกล่าวของทางบริษัท จะมีฝ่ายที่ทำหน้าที่ขึ้นทะเบียนสินค้าภายในบริษัทซึ่งเรียกว่า ฝ่าย Regulatory Affair (RA)

กระบวนการ (Process) ดังกล่าว ปรกติจะใช้ระยะเวลาประมาณ 3 เดือนจึงจะเสร็จสิ้น ดังนั้น ในการวางแผนการดำเนินธุรกิจนี้ จึงได้กำหนดให้มีการวางแผนการขึ้นทะเบียนขออนุญาตดังกล่าวก่อนล่วงหน้า (Advance) ไม่น้อยกว่า 3 เดือน เพื่อให้มีความพร้อม (Readiness) ในการเริ่มธุรกิจได้ โดยไม่จำเป็นต้องรอกระบวนการดังกล่าว ที่อาจล่าช้า (Delay) ได้ หากเกิดการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบ (Format) หรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

2. การดาเนินการสั่งสินค้าและนำเข้าจากประเทศผู้ผลิต หลังจากได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานทางราชการ โดยบริษัทจะดำเนินการสั่งซื้อสินค้าเข้ามายังคลังสินค้า เพื่อจัดจาหน่าย โดยการนำเข้าแบ่งออกได้ตามลักษณะ (Nature) ตามความต้องการ ดังนี้

  • สินค้าเครื่องมือตรวจวิเคราะห์

เนื่องจากเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ (Analyzer) มีราคาสูง (Expensive) และเป็นต้นทุนหลัก (Major cost) ในการดำเนินธุรกิจที่จำเป็นต้องให้เกิดความคุ้มค่า (Cost effectiveness) สูงสุดในการสั่งซื้อแต่ละครั้ง ดังนั้น จึงได้กำหนดแนวทาง (Guideline) การดาเนินการสั่งซื้อเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ จากประเทศผู้ผลิต (Manufacturer) โดยจะต้องมีลูกค้าเป้าหมายที่จะติดตั้ง (Install) เครื่องมือตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, November 7].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, November 7].