6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 37

2. ห้องปฏิบัติการภายใน (Internal) โรงพยาบาลขนาดใหญ่ (Major hospital) หรือสถานพยาบาลที่เป็นโรงเรียนแพทย์ (Medical school) โดยห้องปฏิบัติการในสถานพยาบาลประเภทนี้ นอกจากงานตรวจวิเคราะห์ประจำวัน (Routine) แล้ว มักจะมีการตรวจวิเคราะห์พิเศษอื่นร่วมด้วย (Special Testing) ซึ่งอาจเป็นการตรวจวิเคราะห์ขั้นสูง (Advanced) ที่ห้องปฏิบัติการปรกติ ไม่ตรวจวิเคราะห์เอง หรือไม่สามารถดำเนินการทดสอบนั้นได้ และในบางแห่งอาจเปิดให้บริการตรวจวิเคราะห์แก่สถานพยาบาลอื่นอีกด้วย

3. ห้องปฏิบัติการภายนอก (External) โรงพยาบาลของทั้งภาครัฐ (Public) และเอกชน (Private) ห้องปฏิบัติการประเภทนี้ หากเป็นห้องปฏิบัติการของทางภาครัฐ มักจะเป็นหน่วยงานซึ่งสนับสนุน (Support) การตรวจวิเคราะห์พิเศษที่ห้องปฏิบัติการปรกติไม่สามารถดำเนินการได้ในการสนับสนุนให้กับทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชน หรือเป็นห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาวิจัย (Research) ส่วนหากเป็นห้องปฏิบัติการที่ทางภาคเอกชนเป็นผู้ประกอบการ (Entrepreneur) นั้นจะดำเนินการในลักษณะทางธุรกิจ คือ รับตรวจวิเคราะห์ให้กับสถานพยาบาลในลักษณะรับช่วงต่อและคิดค่าใช้จ่ายกับสถานพยาบาล

ในตลาดเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการนั้น จากการสำรวจพบว่ามีบริษัทผู้ประกอบการผลิต (Manufacture) และนำเข้า (Import) หรือผู้ประกอบการนำเข้าสินค้าทางด้านการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องหรือเป็นคู่แข่งกับบริษัทอยู่เป็นจำนวนมาก (Numerous) ดังนั้น เพื่อความสะดวกและง่าย (Simplicity) ในการมองภาพรวม (Overall) ของคู่แข่งในตลาด อาจเลือกวิเคราะห์คู่แข่งในเชิงคุณลักษณะ (Feature) ของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ง่ายแก่การเข้าใจ ซึ่งพบว่าผลิตภัณฑ์คู่แข่งหลักมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่

  • ชุดตรวจวิเคราะห์แบบเร่งด่วน (Rapid testing) เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ที่สามารถทดสอบได้ โดยอาจมีหรือไม่จำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ใช้ร่วมในการทดสอบก็ได้ ได้ผลการทดสอบรวดเร็ว มีราคาถูก อยู่ในช่วงระหว่าง 300 ถึง 700 บาทต่อหนึ่งการทดสอบ แต่เป็นวิธีการทดสอบที่มีความถูกต้องแม่นยำ (Accurate) ต่ำกว่าวิธีมาตรฐานสุดยอด (Gold standard) อยู่พอสมควร
  • เครื่องมือตรวจวิเคราะห์แบบกึ่งอัตโนมัติ (Semi-automated system) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ โดยต้องใช้ร่วมกับน้ำยาในการตรวจวิเคราะห์ (Reagent) โดยเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดแรงงานคน (Labor) ในการปฏิบัติงานได้บางส่วน และยังจำเป็นต้องใช้แรงงานคนร่วมในกระบวนการ (Process) ตรวจวิเคราะห์ ความถูกต้องแม่นยำของวิธีการตรวจวิเคราะห์ ขึ้นอยู่กับคุณภาพ (Quality) ของทั้งน้ำยาและเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ และอาจเทียบเท่าเคียง (Benchmark) กับวิธีการมาตรฐานสุดยอด สำหรับการตรวจวิเคราะห์แต่ละชนิด หากใช้น้ำยาที่มีประสิทธิผล (Effectiveness) สูง
  • เครื่องมือตรวจวิเคราะห์แบบอัตโนมัติ (Fully-automated system) เป็นเครื่องมือที่ใช้ร่วมกับน้ำยาในการตรวจวิเคราะห์เช่นเดียวกัน แต่หากเป็นเครื่องมือที่ช่วยประหยัด (Saving) แรงงานคนและเวลาในการปฏิบัติการได้เต็มรูปแบบ ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานคนเข้ามาร่วมในกระบวนการตรวจวิเคราะห์ คุณภาพและประสิทธิผลของการตรวจวิเคราะห์ขึ้นอยู่กับเครื่องมือและน้ำยาที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์เช่นเดียวกัน และบางชนิดได้ผลการตรวจวิเคราะห์เทียบเคียงกับวิธีการตรวจวิเคราะห์มาตรฐานสุดยอด ได้เช่นเดียวกัน แต่มักเป็นเครื่องมือการตรวจวิเคราะห์ที่ไม่มีความยืดหยุ่น (Flexibility) ในการใช้งาน คือ จำเป็นต้องใช้เพียงการตรวจวิเคราะห์ที่ทางบริษัทมีชุดน้ำยาในการตรวจวิเคราะห์เท่านั้น โดยในการตัดสินใจเลือกชนิดผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในห้องปฏิบัติการโดยทั่วไปนั้น จากการเก็บข้อมูลพบว่ามีการเลือกโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายด้าน เช่น ปัจจัยทางด้านแรงงานคน, ปัจจัยทางด้านปริมาณงาน (Quantity) ในแต่ละวันของห้องปฏิบัติการ, ปัจจัยด้านคุณภาพของวิธีการตรวจวิเคราะห์, และปัจจัยทางด้านราคา (Price) ของวิธีการตรวจวิเคราะห์ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมักจะเชื่อมโยงกับชนิดหรือประเภทของสถานพยาบาลที่ห้องปฏิบัติการนั้นให้บริการ

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/handle/123456789/769 [2024, August 1].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Marketing_plan [2024, August 1].