6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 20

โรงพยาบาลรัฐบาล (Public hospital) คือสถานพยาบาลที่รัฐบาลให้การสนับสนุน ทางด้านงบประมาณและการดำเนินงาน อันได้แก่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์, และโรงพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์ในมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้เป็นสถาบันผลิตแพทย์, โรงพยาบาลศูนย์, แพทยศาสตร์ศึกษาชั้นคลินิก, โรงพยาบาลส่วนกลาง, โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค, โรงพยาบาลเฉพาะทาง, โรงพยาบาลสังกดหน่่วยงานอื่นๆ อันได้แก่ สภากาชาดไทย, สำนักการแพทย์กรุงเทพมหานคร, กรมแพทย์ทหารบก, กรมแพทย์ทหารเรือ, กรมแพทย์ทหารอากาศ (ทั้ง 3 กองทัพ สังกัดกระทรวงกลาโหม), สำนักงานแพทย์ใหญ่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, การรถไฟแห่งประเทศไทย, การท่าเรือแห่งประเทศไทย, การไฟฟ้านครหลวง, กระทรวงการคลัง, และกระทรวงยุติธรรม

จากข้อมูลดังกล่าว พบว่าประเทศไทยมีสถานพยาบาลจำนวน ทั้งสิ้น 17,106 แห่งแบ่งออกได้เป็น โรงพยาบาลศูนย์ (Regional) 28 แห่ง, โรงพยาบาลทั่วไป (General) 68 แห่ง, โรงพยาบาลเอกชน จำนวน 326 แห่ง, ฯลฯ ซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่สำคัญ อย่างยิ่งสำหรับธุรกิจนี้ ทำให้มีการแย่งชิงลูกค้าที่มีอยู่อย่างรุนแรง (Highly competitive)

มีทั้งการแข่งขันทั้งทางด้านราคา (Pricing), คุณภาพ (Quality) ในการตรวจวิเคราะห์, คุณภาพของผลิตภัณฑ์, ความสะดวกในการใช้งานของผลิตภัณฑ์, การให้บริการและความครอบคลุม (Comprehensive) ในการให้บริการ, ความสะดวกในการติดต่อ (Contact convenience) และเข้าให้บริการ (Service providing) ของบริษัทที่จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์

โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มโรงพยาบาลขนาดใหญ่ อันได้แก่โรงพยาบาลระดับมหาวิทยาลัย, แพทย์โรงพยาบาลศูนย์, หรือโรงพยาบาลประจำจังหวัดต่างๆ ที่มีศักยภาพ (Potential) สูงในการดำเนินการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ, มีบุคลากรทางการแพทย์ (Professional staff) ที่พร้อม, มีจพนวนการทดสอบ (Test) ต่อเดือนที่สูง กล่าวคือมีปริมาณการซื้อสินค้าในอัตราที่สูง

ดังนั้นโรงพยาบาลในกลุ่มนี้ จึงมีอำนาจในการต่อรองกับบริษัทผู้จัดจำหน่ายที่สูงกว่าโรงพยาบาลขนาดเล็ก ที่มีปริมาณการใช้งาน หรือปริมาณการซื้อสินค้าและบริการที่ต่ำกว่า

ในส่วนของแนวคิดการรับรู้ สำหรับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ในการดำเนินธุรกิจด้านเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์นั้น มักเป็นผู้เล่น (Player) รายแรกๆ ที่ริเริ่ม (Initiate) นำการตรวจ วิเคราะห์ หรือเทคโนโลยีใหม่ที่มีประโยชน์ และตรงกับความต้องการ (Demand) จึงจะทำให้ผู้เล่นรายนั้นมีความ ได้เปรียบคู่แข่งขัน (Competitive advantage) เป็นอย่างยิ่ง เนื่องจาก

  1. กลุ่มเป้าหมายโดยมาก จะมีความเข้าใจถึงภาระต้นทุน (Cost) ของบริษัท ในการนำเข้าเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีใหม่ เพื่อนำมาจัดจำาหน่ายเป็นอย่างดี ดังนั้นหากมีการตกลงซื้อ-ขาย สินค้าที่มีเงื่อนไขว่าผู้จัดจำหน่ายจะต้องมีการลงทุน (Invest) ติดตั้ง (Install) เครื่องมือที่มีราคาสูงให้ใช้งาน โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย (Charge) กลุ่มเป้าหมายมักจะยินยอมทำสัญญาที่เป็นลายลักษณ์อักษร ว่าจะซื้อขายสินค้าดังกล่าวเป็นระยะเวลาตามที่ตกลงกัน เพื่อให้ผู้จัดจำหน่ายรายนั้น เกิดภาวะคุ้มทุน (Cost recovery) และเกิดกำไรจากการลงทุน (Return on investment) ดำเนินธุรกิจดังกล่าว

 

แหล่งข้อมูล

  1. file:///C:/Users/user/Downloads/TP%20BM.021%202557%20(1).pdf [2023, November 21].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Competitive_advantage#Focus_strategy [2023, November 21].