6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 19
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 8 พฤศจิกายน 2566
- Tweet
รูปแบบการประกอบการ (Entrepreneurship) แบ่งออกได้เป็นดังนี้
- บริษัทย่อย (Subsidiary company) ซึ่งเป็นบริษัทที่ จัดตั้งและจดทะเบียนขึ้น (Register) ในประเทศไทย โดยเป็นบริษัทที่เจ้าของ (Owner) ผลิตภัณฑ์เข้ามาประกอบการภายในประเทศไทยเอง กล่าวคือผู้ประกอบการจากในประเทศหรือต่างประเทศที่เป็นผู้ผลิต (Manufacturer) สินค้า มาจัดตั้งบริษัทในประเทศไทยเพื่อทำการตลาด (Marketing) และจัดจำหน่ายสินค้า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวด้วยตนเอง โดยใช้บุคลากรของทางบริษัทเอง
- บริษัทผู้แทนจำหน่าย (Distributor company) ซึ่งเป็นผู้แทนรับจำหน่ายสินค้าจากผู้ประกอบการผลิตรายอื่นทั้งจากภายใน (Domestic) และต่างประเทศ (Overseas) กล่าวคือ ผู้ประกอบการที่เป็นเพียงตัวแทนจำหน่าย มิใช่เจ้าของผลิตภัณฑ์ นำสินค้าเข้ามา (Import) จำหน่ายในตลาดภายในประเทศไทย โดยใช้บุคลากรของบริษัทตัวแทนจำหน่ายนั้นเอง โดยในการประกอบการของผู้ประกอบการในแต่ละรายนั้น อาจมีผลิตภัณฑ์ที่สามารถตอบสนอง หรือสามารถเสนอผลิตภัณฑ์ได้ในหลากหลาย (Variety) หน่วยงานภายในห้องปฏิบัติการหนึ่งๆ อาจ ตัวอย่างเช่น สามารถขายได้ทั้งในห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก (Bio-chemistry) และห้องปฏิบัติการภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology) หรือสามารถจำหน่ายได้ในห้องปฏิบัติการทางคลังโลหิต (Blood bank) อีกด้วย หรือบางบริษัทมีเพียงผลิตภัณฑ์ สินค้าและบริการที่เฉพาะเจาะจงเพียงห้องปฏิบัติการเพียงหน่วยเดียวจากหน่วยงานภายในห้องปฏิบัติการทั้งหมด เป็นต้น
ในการทำแผนธุรกิจ (Business plan) นี้จะมุ่งเน้นในส่วนของบริษัทที่มีสินค้าและบริการ หรือมี ผลิตภัณฑ์ซึ่งมุ่งเน้นในการจำหน่ายให้แก่หน่วยจุลชีววิทยา (Micro-biology) หรือห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยาเป็นสำคัญ เนื่องจากจะมีการแข่งขันกนทั้งทางด้านชนิดของการตรวจวิเคราะห์และหลักการในการตรวจวิเคราะห์อย่างหลากหลาย (Numerous)
ตัวอย่างเช่น การตรวจวินิจฉัยภาวการณ์ติดเชื้อ (Infectious) ของผู้ป่วยด้วยวิธีการเพาะเลี้ยงเชื้อ (Culture) หรือทดสอบด้วยวิธีพื้นฐานปกติ (Conventional culture and identification), วิธีการตรวจวิเคราะห์ภาวะการติดเชื้อด้วยวิธีแบบเร่งด่วน (Rapid test), และวิธีการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีหลักการทางโมเลกุล (Molecular diagnostics) ซึ่งมีข้อดี (Strength) และข้อด้อย (Weakness) ที่มีการแข่งขันอย่างสูง (Highly competitive) ในการนำเสนอลูกค้า เพื่อให้ลูกค้ามีการเลือกใช้ (Choice)
ด้านกล่มลูกค้าเป้าหมาย (Target group) ในประเทศไทย ในมิติปริมาณความต้องการ (Demand) หรือตลาดของสินค้าและบริการ หรือลูกค้านั้น อาจแบ่ง หรือจำแนกประเภท (Classification) ของลูกค้าในธุรกิจสินค้าเครื่องมือทางการแพทย์ได้ดังนี้
- โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลขนาดใหญ่ ที่มีความสามารถในการให้การรักษาผู้ป่วยเกี่ยวกับโรคติดเชื้อรุนแรง (Severe infection) พบว่า ในประเทศไทย มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่จำนวนมาก อาจจำแนกออกได้ตาม รายละเอียดดังนี้
-
- โรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) คือ สถานพยาบาลที่เอกชนเปิดขึ้นเพื่อประกอบการสถานพยาบาลเอง ซึ่งอาจมีทั้งเป็น การเปิดดำเนินการขึ้นเองและการเปิดดำเนินการเป็นเครือข่าย (Net-work) เช่น โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ, โรงพยาบาลในกลุ่มโรงพยาบาลรามคำแหง, โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ เป็นต้น
แหล่งข้อมูล –
- file:///C:/Users/user/Downloads/TP%20BM.021%202557%20(1).pdf [2023, November 7].
- https://allied.tu.ac.th/eng/health-care-service-center/molecular-diagnostic-laboratory-center/ [2023, November 7].