6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 17
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 11 ตุลาคม 2566
- Tweet
จากความผิดพลาดดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้ในปัจจุบัน ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Clinical laboratory) รวมถึงบริษัทผู้ผลิต (Manufacturer) เครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์ทางการแพทย์ ได้ประยุกต์นำวิวัฒนาการและนวัตกรรม (Innovation) ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อนำมาช่วยสร้างสรรค์หาทางตอบโจทย์ (Solution) ดังกล่าว
อันเป็นที่มาของเครื่องมืออัตโนมัติเต็มรูปแบบ (Fully-automated system) หรืออีกชื่อหนึ่งว่า Total automation laboratory (TAL) จากต่างประเทศมากมายและได้นำมาใช้อย่างแพร่หลาย (Wide-spread) ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ในประเทศไทย ซึ่งสามารถพบเห็นได้ตามโรงพยาบาลทั้งภาครัฐบาลและเอกชน
ตัวอย่างเครื่องมือตรวจวิเคราะห์ดังกล่าว ได้แก่ เครื่องมืออัตโนมัติเต็มรูปแบบสำหรับห้องปฏิบัติการ . . .
- เคมีคลินิก (Bio-chemistry automation system)
- ภูมิคุ้มกันวิทยา (Immunology automation system)
- ธนาคารเลือด (Blood bank automatic system)
- โลหิตวิทยา (Hematology automated system)
เครื่องมืออัตโนมัติที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นนี้ สามารถทดแทนแรงงานคน (Labor) ได้ อยางมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และช่วยให้การรายงานผลการตรวจวิเคราะห์ (Analysis report) รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ยกเว้นเพียงแต่ห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา (Micro-biology) เท่านั้น ที่ยังไม่มีเครื่องมือชนิดดังกล่าวเข้ามาช่วยให้การปฏิบัติการรวดเร็วและการรายงานผลได้ถูกต้องมากยิงขึ้น
สัดส่วนของวิธีการตรวจวิเคราะห์ที่ใช้ในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ดังนี้
- วิธีเพาะเชื้อ 85%
- ชุดทดสอบแบบเร่งด่วน (Rapid test)
- เครื่องตรวจวิเคราะห์กึ่งอัตโนมัติ (Semi-automated system)
- เครื่องตรวจวิเคราะห์อัตโนมัติ (Fully-automated system)
เนื่องจากการปฏิบัติงานของห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา จำเป็นที่จะต้องเพาะเลี้ยงเชื้อจากตัวอย่างของผู้ป่วยที่ต้องสงสัยว่าติดเชื้อก่อน ถ้าหากพบเชื้อก่อโรคแล้วจึงค่อยนำไปทดสอบหาชนิด (Type) และความไว (Sensitivity) ต่อการใช้ยาต้านจุลชีพ ซึ่งโดยปรกติแล้ว การรายงานผล (Result) ของห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยานี้ จำทำได้รวดเร็วที่สุด คือ ภายใน 3 – 7 วันทำการ
ระยะเวลาดังกล่าวถือว่าค่อนข้างล่าช้า เมื่อเทียบกับความรุนแรง (Severity) ในการติดเชื้อและอัตราการเสียชีวิต (Mortality rate) อันอาจ ยกตัวอย่าง การติดเชื้อในกระแสเลือด ซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ 30 ถึง 50% หรือในรายที่มีการติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง จะมีอัตราการ เสียชีวิตมากถึง 88% เลยทีเดียว
แหล่งข้อมูล –
- file:///C:/Users/user/Downloads/TP%20BM.021%202557%20(1).pdf [2023, October 10].
- https://en.wikipedia.org/wiki/Good_laboratory_practice [2023, October 10].