6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 14

หน่วยงานที่มีหน้าที่ในการกำกับดูแล (Supervision) ธุรกิจบริการทดสอบ (Testing) ทางการแพทย์และตรวจสุขภาพ (Physical examination) ได้แก่ สำนักงานมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กระทรวงสาธารณสุข), สภาเทคนิคการแพทย์, และแพทยสภา แต่ละหน่วยงานมีหน้าที่และมาตรการในการกำกับดูแล ดังนี้

  • สำนักงานมาตรฐานห้องปฏิบัติการ (Office of Laboratory Standard)

มีอำนาจหน้าที่ (Authority) ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลธุรกิจ อันได้แก่ ส่งเสริมและสนับสนุน (Promote and support) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพ (Quality assurance) และประเมินคุณภาพ (Quality assessment), การทดสอบความชำนาญ (Competency) ของบุคลากรห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Medical laboratory) และสาธารณสุข, การติดตาม (Monitor), การตรวจสอบระบบคุณภาพ (System inspection) และให้การรับรอง (Certification) ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อให้ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์มีคุณภาพตามมาตรฐานและรักษาไว้ซึ่งคุณภาพของการให้บริการ นอกจากนี้ยัง เป็นศูนย์ข้อมูล (Data center) ด้านคุณภาพและมาตรฐานห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการส่งเสริมและรักษาศักยภาพการแข่งขัน (Competitive potential) ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ไทย (Traditional medicine)

  • กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (Health Service Support)

มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตามกฎหมาย (Legality) ว่าด้วยการประกอบโรคศิลปะ, กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล, และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องการคุ้มครองผู้บริโภค (Consumer protection) ด้านการรักษาพยาบาล, พัฒนา, กำหนดมาตรฐาน, และจรรยาบรรณ (Ethics) การประกอบโรคศิลปะ, การกำหนดพัฒนามาตรฐาน, และประเมินมาตรฐาน ด้านอาคารสถานที่ (Facility) ของสถานบริการสุขภาพและสถาปัตยกรรมสาธารณสุข (Public-health architecture)

  • สภาเทคนิคการแพทย์ (Medical Technology Council)

มีหน้าที่ในการควบคุม, กำกับ, ดูแล, และกำหนดมาตรฐานการให้บริการของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ (Medical technologist) เช่น การเผยแพร่ (Disseminate) มาตรฐานการให้บริการวิชาชีพ (Professional service) แก่สมาชิก (Member) และประชาชนผู้สนใจ (General public) นอกจากนี้ยังควบคุมความประพฤติ (Conduct control) ของผู้ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ ให้ถูกต้องตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ เช่น การร้องเรียน Complaint), การกล่าวหา (Allegation), และการกล่าวโทษ (Accusation) ของประชาชนต่อผู้ประกอบวิชาชีพ หรือผู้ที่ไม่ใช้ผู้ประกอบวิชาชีพ ในการคุ้มครองผู้บริโภค

  • แพทยสภา (Medical Council of Thailand)

มีหน้าที่หลักๆ คือ การควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม (Practicing medicine) ให้ถูกต้องตามจริยธรรม (Ethical conduct), ส่งเสริมการศึกษา (Education), การวิจัย (Research), และการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในทางการแพทย์ นอกจากนี้ยังส่งเสริมความสามัคคี (Harmony promotion) และเป็นตัวแทน (Representative) ของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.medicallinelab.co.th/บทความ/ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ [August 29].
  2. https://cdn.standards.iteh.ai/samples/76677/1173a97df1464b9aaa576db045d9d35f/SIST-ISO-15189-2023.pdf [2023, August 29].