6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 13
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 16 สิงหาคม 2566
- Tweet
- ระบบความปลอดภัยที่ต้องมีในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Medical laboratory)ประกอบไปด้วย
-
- ต้องมีระบบป้องกันไฟฟ้ารั่ว (Electric leakage) หรือมีการติดตั้งสายดิน (Ground wire) ไว้
- มีแผนและระบบป้องกันอัคคีภัย (Fire protection)
- มีอุปกรณ์ล้างตาพร้อมใช้ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency eye wash)
- มีแนวทางปฏิบัติเรื่องความปลอดภัย (Safety) ทางห้องปฏิบัติการ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ (Infection prevention) ในบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน
- มีป้ายเครื่องหมายแสดงพื้นที่ต่างระดับ (Different levels)
- มีอ่างล้างมือ (Sink) ในพื้นที่ที่อาจมีการสัมผัสเลือด หรือสารคัดหลั่ง (Secretion)
- มีชุดทำความสะอาด (Cleansing kit) สำหรับจัดการสารเคมี เลือดหรือสารคัดหลั่ง หรือเชื้ออันตรายที่ร่วงแตก (Spill)
- มีชุดปฐมพยาบาลเบื้องต้น (First-aid kit)
- ต้องปฏิบัติตามหลักข้อควรระวังไปทั่ว (Universal precaution) อย่างถูกต้อง
- บุคลากร (Staff) ต้องได้รับการฝึกอบรม (Training) ด้านความปลอดภัยเป็นอย่างดี
- ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่อง (Continuous) และนำข้อมูลการทบทวน(Review) ระบบบริหารคุณภาพ, การปฏิบัติแก้ไข, และการป้องกันโอกาสเสี่ยง (Risk) รวมทั้งนำข้อมูลกระบวนการก่อน (Pre-), ระหว่าง (During), และหลัง (Post-) การทดสอบ มาเป็นข้อมูลสำหรับกำหนดแผนพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
บริการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ควรมีเครื่องมือ (Tool) ที่ความทันสมัย, ครบครัน, และได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO 15189:2023* จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้ โดยสร้างมั่นใจในคุณภาพ ที่ส่งมอบ (Delivery) ให้แก่ผู้รับบริการ
*ISO มาจากคำว่า International Organization for Standardization ซึ่งเป็นสหพันธ์ (Federation) ระดับโลก ของผู้กำหนดมาตรฐาน (Standard body) จากนานาชาติ ซึ่งทำงานร่วมกันผ่านคณะกรรมการเทคนิค (Technical committee) โดยแต่ละสมาชิกมีความสนใจในหัวข้อ (Subject) ที่ได้รับการสถาปนา (Established) ให้เป็นตัวแทน (Represent) คณะกรรมการนั้นๆ
ISO 15189:2023 คือ มาตรฐานคุณภาพ (Quality) ในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Medical laboratory) ซึ่งประยุกต์ใช้ได้ (Applicable) ในการพัฒนาระบบบริหาร (Management system) และประเมินสมรรถนภาพ (Competence) มาตรฐานนี้ ยังสามารถใช้ในการยืนยัน หรือรับรู้ (Recognize) สมรรถนภาพของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ โดยผู้ใช้ห้องปฏิบัติการ, ผู้มีอำนาจในการกำกับดูแล (Regulatory authority), และผู้รับรองมาตรฐาน (Accreditation body)
นอกจากนี้ มาตรฐานนี้ ยังสามารถประยุกต์ใช้ได้กับการทดสอบ ณ จุดดูแลผู้ป่วย (Point-of-care testing: POCT) และการกำกับดูแล ณ ระดับภูมิภาค (Regional), ระดับชาติ (National), และระดับสากล (International) ทั้งเฉพาะบางหัวข้อ (Specific topic) หรือทุกหัวข้อในองค์รวม (Holistic)
แหล่งข้อมูล –