6. ตลาดห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ – ตอนที่ 12
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 2 สิงหาคม 2566
- Tweet
ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (Medical laboratory) ของไทยในปัจจุบัน เพิ่มมากขึ้นกว่าสมัยก่อนเป็นจำนวนมาก ทั้งห้องปฏิบัติการที่เป็นของหน่วยงานภาครัฐ หรือแม้แต่ห้องปฏิบัติการที่อยู่ในการกำกับดูแลของภาคเอกชน เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือก (Alternative) ให้แก่ผู้คนในการเข้ารับการตรวจสุขภาพ (Physical examination)
นอกจากนี้ ยังสามารถช่วยให้การตรวจรักษาโรคร้ายแรงบางอย่างเป็นไปได้อย่างรวดเร็วและทันท่วงทีมากยิ่งขึ้น แต่ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ต้องได้มาตรฐาน (Standard) ตามข้อกำหนดที่ลักษณะที่จำเป็นเกี่ยวกับระบบคุณภาพ (Quality system) ที่พึงมี ซึ่งข้อควรรู้ต่างๆ ในการปฏิบัติงานดังต่อไปนี้
- มีการประเมินสมรรถนะ (Competency) ของบุคลากรในการปฏิบัติงาน
- มีพื้นที่ปฏิบัติงานเหมาะสมต่อการดำเนินงานมีการออกแบบให้มีความสะดวก (Convenience) และปลอดภัย (Safety) ต่อทั้งผู้รับบริการและผู้ปฏิบัติงาน โดยแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่
-
- สถานที่จัดเก็บตัวอย่างสิ่งตรวจ (Specimen)
- พื้นที่ปฏิบัติการเตรียมตัวอย่าง (Sample) และการทดสอบ (Testing)
- พื้นที่ปฏิบัติงานธุรการ (Clerical) หรือเอกสาร (Documentation)
- ส่วนที่พักบุคลากร (Staff residence) โดยให้คำนึงถึงเรื่องการปนเปื้อน (Contamination) ประโยชน์การใช้งานคุณภาพและความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเป็นสำคัญ
- มีแผน (Plan) และมีผลการสอบเทียบ (Calibration) เครื่องมือหลัก (Major instrument) ที่มีผลกระทบต่อคุณภาพ
- มีระบบควบคุมภายใน (Internal quality control : IQC)และมีบันทึกติดตามผลการตรวจวิเคราะห์ตามวิธีปฏิบัติในทุกรายการทดสอบที่เปิดให้บริการ รวมทั้งการจัดทำช่วงค่าที่ยอมรับได้ (Tolerance limit)
-
- มีการกำหนดจำนวน (Quantity) และความถี่ (Frequency) ของการควบคุมตามความเหมาะสม (Appropriate) ของการทดสอบ
- มีการตรวจสอบผล (Out-come), การนำข้อมูลการควบคุมคุณภาพและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องมาสู่ปฏิบัติการ, ตลอดจนการหาแนวทางการแก้ไขและการดำเนินการแก้ไขปัญหา เพื่อยืนยันความน่าเชื่อถือ (Reliability) ของผลการทดสอบ ในกรณีที่ผลการควบคุมคุณภาพภายใน (IQC) ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ มีการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาสาเหตุและดำเนินการแก้ไขก่อนดำเนินการตรวจตัวอย่างจากผู้ป่วย
- มีการเข้าร่วมโปรแกรมการประเมินคุณภาพการตรวจวิเคราะห์จากองค์กรภายนอก (External laboratory) ในทุกรายการทดสอบที่เปิดให้บริการกรณีที่ไม่มีแหล่งทดสอบให้เข้าร่วม ให้ทำการเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการ (Inter-laboratory comparison) หรือหากยังไม่สามารถเปรียบเทียบผลระหว่างห้องปฏิบัติการได้ ให้ทำการประเมินความสามารถผ่านการทดสอบ (Laboratory’s performance in test)
แหล่งข้อมูล –
- https://www.medicallinelab.co.th/บทความ/ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ [2023, August 1].
- https://web.rmutp.ac.th/woravith/?page_id=7572 [2023, August 1].