7. ตลาดศูนย์บริการทางรังสี – ตอนที่ 41

อินเทอร์เน็ตสรรพสิ่ง (Internet of things: IoT) เหล่านี้ จะช่วยแลกเปลี่ยนข้อมูล (Data exchange) ที่เป็นประโยชน์ต่อการแพทย์เพื่อช่วยปรับปรุง (Improve) การรักษาผู้ป่วยให้งมีประสิทธิภาพ (Efficient) มากขึ้น ผู้เข้ารับบริการ (Service recipient) ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไป เช่น ไม่จำเป็นต้องเดินทาง (Travel) ไปโรงพยาบาล

ตัวอย่างเช่น ระบบการแพทย์ทางไกล (Tele-medicine) ที่ช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการรักษา โดยไม่ต้องไปพบแพทย์ เพราะด้วยเรื่องส่วนตัวต่างๆ หรือแทนบริการที่สามารถเรียกผู้ให้บริการไปที่บ้านได้ [เช่น การเจาะเลือด (Phlebotomy)] การเข้ามาของระบบดิจิทัล (Digital) จะมีมากขึ้นในทุกๆ จุดของการดูแลสุขภาพ (Health-care) ตั้งแต่ผู้เข้ารับบริการจนถึงการรักษาของแพทย์

บุคลากรทางการแพทย์ (Medical staff) ก็จะมีการลดภาระงาน (Work-load) เพื่อให้สามารถมุ่งเน้น (Focus) ส่วนที่เป็นงานบริการได้และด้านงานบริหาร (Administrative) ก็จะได้ข้อมูลที่สามารถคาดการณ์ (Forecast) และวางแผนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากข้อมูลข้างต้น เพทาย กู่คำ [นักวิจัยการตลาด] เป็นผู้สนใจศึกษาเกี่ยวกับความต้องการ (Demand) และการดำเนินงานธุรกิจรถ (Vehicle) เอ็กซเรย์เคลื่อนที่ (Mobile x-ray) โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย ดังนี้

  1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกใช้บริการธุรกิจรถเอ็กซเรยเ์คลื่อนที่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร
  2. เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด (Marketing mix) ของการดำเนินงานธุรกิจเอ็กซเรยเ์คลื่อนที่ ในธุรกิจดูแลสุขภาพ ในอนาคต ซึ่งเป็นการปรับใช้ (Application) เทคโนโลยีในธุรกิจโรงพยาบาล

ขอบเขต (Scope) ของการวิจัยในครั้งนี้ การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาต้องการ (Demand) และการดา เนินงานธุรกิจเอ็กซเรย์์คลื่อนที่ในกรุงเทพมหานคร

  • ขอบเขตด้านเนื้อหาจะครอบคลุม
  • ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ (Demographics) ได้แก่ เพศ, อายุ, สถานภาพสมรส (Marital status), ระดับการศึกษาสูงสุด, อาชีพ (Occupation) และรายได้ (Income) ต่อเดือน
  • ข้อมูลปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด ที่มีผลต่อพฤติกรรม (Behavior) การเลือกใช้บริการรถเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ อันได้้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ (Product), ด้านราคา (Price), ด้านสถานที่ให้บริการ (Place), ด้านการส่งเสริมการขาย (Promotion), ด้านบุคลากร (Personnel), ด้านลักษณะทางกายภาพ (Physical evidence), และด้านกระบวนการ (Process) ให้บริการ [รวมกันเรียกว่า 7Ps]

ในด้านประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือลูกค้าบริษัทเอกชนที่การเลือกใช้บริการธุรกิจเอ็กซเรยเ์คลื่อนที่ ส่วนตัวแปรที่ศึกษาได้แก่

  • ตัวแปรอิสระ (Independent variable) โดย ใช้ข้อมูลด้านประชากรศาสตร์ ดังกล่าวข้างต้น
  • ตัวแปรตาม (Dependent variable) แบ่งเป็น 2 ด้าน ดังนี้
    • ด้านปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกใช้บริการรถเอ็กซเรย์เคลื่อนที่ ได้แก่ 7Ps ดังกล่าวข้างต้น
    • การวิเคราะห์ (Analysis) ปัจจัยของการบริการของธุรกิจรถเอ็กซเรยเ์คลื่อนที่

แหล่งข้อมูล

  1. http://www.ceos-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2564-1-1_1671003294.pdf [2024, September 27].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Radiology [2024, September 27].