8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 39

ทั้งนี้ จึงเป็นเหตุผลให้กิจการภายใต้การศึกษานี้ ต้องความน่าเชื่อถือ (Credibility) และจุดโดดเด่น (Outstanding) ที่แตกต่าง (Differentiate) กว่าธุรกิจคลินิกกายภาพบำบัด (Physical therapy) ในลักษณะที่คล้ายกันนี้ เพื่อให้เหนือกว่า (Superior) คู่แข่งขันรายใหม่ที่ จะเข้ามาสู่ตลาด

  1. การคุมคามจากสินค้าหรือการบริการทดแทน (Threat of substitutes) เนื่องจากกิจการภายใต้การศึกษานี้ เป็นธุรกิจการให้บริการที่เกี่ยวกบการบำบัด, รักษา, และฟื้นฟูสมรรถกาพร่างกาย ในแง่ของสินค้าได้แก่ เครื่องมือ-อุปกรณ์ (Device-equipment) สมัยใหม่ที่เป็นเครื่องช่วยผ่อนคลาย (Relax) และบำบัดให้อาการทุเลาลง (Relieve) ได้บ้าง 

ตัวอย่างเช่น เครื่องนวด (Massage) โดยการสั่นกระเทือน (Vibration) ซึ่งหาซื้อได้ง่ายตามท้องตลาด และในส่วนของบริการที่อาจมาทดแทน (Substitute) ได้จากร้านนวดแก้อาการ ตามหลักของแพทย์แผนไทย (Traditional medicine) ด้วยสินค้าและบริการทางเลือกนั้นมีราคาถูกกว่า จึงถือเป็นการคุมคามที่อาจเข้ามาทดแทนกันได้

ดังนั้นกิจการภายใต้การศึกษานี้ จึงมุ่งเน้น (Focus) เป็นคลินิกกายภาพบำบัดและฟื้นฟู โดยใช้นักกายภาพบำบัดมืออาชีพ (Professional) ซึ่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะเรื่องของแพทย์ (Physician) และการให้บริการที่มีจุดเด่นเหมารวม (Package) ที่ใช้ในการรักษา

จุดเน้นอยู่ที่การรักษาอาการบาดเจ็บ (Injury) เรื้อรัง (Chronic) ให้หายขาด จนผู้รับบริการกลับมา (Return) ใช้ชีวิตประจำวัน (Daily life) ได้ตามปรกติ แต่สินค้ และบริการทดแทนที่ข้างต้น เป็นเพียงการชะลอ (Slow down) อาการให้ทุเลา (Relief) ลง ได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น ที่ใช้การรักษาในแนวทางเดียวกบการรักษานักกีฬา (Athlete) แต่จะมีเพียงคลินิกกายกาพบำบัดที่ให้การรักษาได้ใกล้เคียง จึงทำให้แรงผลักดัน (Drive) จากสินค้าทดแทนนั้นต่ำ

  1. อำนาจการต่อรองของลูกค้า (Bargaining power of customers) ลูกค้าที่เข้ามารับบริการของคลินิกกายภาพบำบัด เมื่อมีอาการ จึงต้องเข้าบำบัดรักษา เพราะหากปล่อยเอาไว้จนเรื้อรัง จะยิ่งยากในการฟื้นฟู (Rehabilitation) ในระยะยาว (Long term) เมื่อลูกค้าเข้ามารับการรักษาตามโปรแกรมที่เหมาจ่าย ที่คลินิกได้วางแผนไว้ จะถือเป็นการสร้างความสัมพันธ์ (Relationship) กับลูกค้าในระยะยาว

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณภาพ (Quality) ของการรักษา และการดูแลเอาใจใส่ติดตาม (Follow up) อาการ รวมถึงการให้คำปรึกษา (Consultation) และแนะนำ (Advice) โอกาสที่ลูกค้าจะเปลี่ยนไปใช้บริการคลินิกกายภาพบำบัดอื่นๆ คงเป็นได้ได้ยาก (Improbable)

หรือโอกาสที่ลูกค้าจะต่อรอง (Negotiate) การรับบริการในแต่ละโปรแกรมการรักษานั้น ก็เป็นไปได้ยากด้วยเช่นกัน เนื่องจากการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัด จะมีการรักษาที่แตกต่างจากการรักษาความผิดปรกติ (Abnormal) โดยวิธีแพทย์แผนปัจจุบัน (Modern medicine) ทั่วไป

ดังนั้นหากผู้รับบริการมีความจำเป็น (Necessity) ต้องทำกายภาพหรือฟื้นฟูอาการก็ต้องใช้ศาสตร์กายภาพบำบัดด้านนี้เท่านั้น ไม่สามารถเลือกวิธีอื่นมาทดแทนได้ แต่หากเป็นในส่วนของโรงพยาบาล (โดยเฉพาะของรัฐ [Public hospital]) ในปัจจุบัน มักทำกายภาพบำบัดให้แผู้ป่วยหลังจากที่ประสบอุบัติเหตุ (Accident) หรือมีกรณีอาการเรื้อรังจนส่งผลกระทบ (Impact) ต่อสุขภาพเท่านั้น

แหล่งข้อมูล

  1. https://archive.cm.mahidol.ac.th/bitstream/123456789/4916/1/TP%20EM.004%202566.pdf [2024, August 31].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Physical_medicine_and_rehabilitation [2024, August 31]/