8. ตลาดศูนย์กายภาพฟื้นฟู – ตอนที่ 10

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ (Medical rehabilitation) มีความเชี่ยวชาญหลัก (Core competency) ในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ แก่คนพิการทางกาย (Disability) และการเคลื่อนไหว (Immobility) โดยมีขอบเขตการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายระดับชาติ (National) ด้วยภารกิจตามพระราชกฤษฎีกา (Decree) แบ่งส่วนราชการกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2537 ดังต่อไปนี้

  1. ให้บริการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่ผู้พิการ และผู้ป่วยตามกฎหมายว่าด้วยการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ที่รับส่งต่อ (Referral) จากหน่วยงานทั้งในภาครัฐ (Public) และภาคเอกชน (Private)
  2. ศึกษา (Study), ค้นคว้า (Research) และพัฒนา (Develop) วิชาการแพทย์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู ตลอดจนถ่ายทอด (Transfer) เทคโนโลยีทางการแพทย์ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ (Health-care professional) และสาธารณสุข (Public health)
  3. ปฏิบัติงานร่วมมือ (Collaborate) หรือสนับสนุน (Support) การปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง (Relevant) หรือที่ได้รับมอบหมาย (Assigned)
  4. ถ่ายทอดองค์ความรู้ (Body of knowledge) และเทคโนโลยีทางการแพทย์ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ โดยเฉพาะในกลุ่มคนพิการแก่สถานบริการสุขภาพ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  5. ให้การเพิ่มพูนความรู้และทักษะการปฏิบัติงาน (Practical skill) ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่แพทย์ และบุคลากรทางด้านสุขภาพ ในสถานบริการสุขภาพทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน

ส่วนอำนาจหน้าที่ ตามที่สำนักนโยบายและแผนสาธารณสุข ให้หน่วยงานนำเสนอ เพื่อประกอบการจัดทำกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมการแพทย์ มีดังนี้

  1. ประสานนโยบายและแผนงาน (Policy and planning) ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่ผู้ป่วย และผู้พิการตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2534 (Empowerment of Persons with Disabilities Act, 2007)
  2. ดำเนินการศึกษา, วิเคราะห์ (Analyze), วิจัย, พัฒนา, ประเมิน (Evaluate), และใช้ประโยชน์ (Exploit) จากองค์ความรู้ เทคโนโลยี รวมถึงรูปแบบการจัดบริการด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  3. ส่งเสริม, สนับสนุน, ถ่ายทอดองค์ความรู้ รวมทั้งเทคโนโลยีด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แก่สถานบริการต่างๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
  4. พัฒนาระบบบริการสุขภาพ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์ในระดับตติยภูมิ (Tertiary care) โดยมีเครือข่าย (Net-work) เชื่อมโยงกับระบบบริการสุขภาพทุกระดับ รวมถึงการส่งเสริม, พัฒนา, และกำหนดคุณภาพมาตรฐาน (Standard quality)
  5. ให้การเพิ่มพูน (Enhance) ความรู้และทักษะการปฏิบัติงานบริการสุขภาพ ด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  6. ปฏิบัติงานร่วมกับ/หรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อได้รับมอบหมายทั้งในและต่างประเทศ (Domestic and international)

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.snmri.go.th/history/ [2023, July 6].
  2. http://web1.dep.go.th/sites/default/files/files/news/2.pdf [2023, July 6].