3. ตลาดยา – ตอนที่ 42
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 8 ตุลาคม 2567
- Tweet
สำหรับการทำตลาดในประเทศ (Domestic) ของบริษัท ที.แมน มีการขยายฐานลูกค้า (Customer base) กลุ่มโรงพยาบาล เน้น (Emphasize) การวิจัยและพัฒนา (Research and development) เวชภัณฑ์ยาใหม่ ที่สอดคล้องกับความต้องการ (Demand) ของลูกค้ากลุ่มโรงพยาบาล
โดยเฉพาะเพิ่มเติม (Additional) เช่น ยารักษาโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) เรื้อรัง (Chronic) และกลุ่มยาที่ ที.แมน มีความเชี่ยวชาญเดิม เช่น กลุ่มยารักษาโรคทางเดินหายใจ (Respiratory) และสินค้าที่มุ่งเน้น (Focus) การจำหน่ายให้ลูกค้ากลุ่มโรงพยาบาลโดยเฉพาะ เช่น ยารักษากลุ่มผู้ป่วยที่มีระดับโคเลสเตอรอลสูง, ภาวะปลายประสาทอักเสบ (Peripheral neuropathy), และ ภาวะต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia)
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2566 ยี่ห้อ (Brand) เวชภัณฑ์ยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ภายใต้ กลุ่มบริษัท ที.แมน รวมทั้งสิ้น 221 รายการ และนำเข้าหรือจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ภายใต้ยี่ห้อของบุคคลภายนอกอีก 18 ตัว รวมทั้งสิ้นกว่า 804 รายการ (Stock-keeping unit) และมีเครือข่ายกลุ่มลูกค้าองค์กร (Organizational customers) เป็นพันธมิตร (Alliance)
ทั้งหมดนี้ ครอบคลุม (Cover) ทั้งร้านขายยา (Pharmacy), โรงพยาบาล (Hospital), คลินิกเวชกรรมและเสริมความงาม (Aesthetics clinics), และธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern-trade)
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัท ที.แมน มีโรงงานผลิตยาแผนปัจจุบัน, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร (Herb), ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Supplementary), และเครื่องสำอาง (Cosmetics) อันได้แก่ โรงงานผลิต T. Man Pharma และโรงงานผลิต Heaven Herb
มีศักยภาพ (Potential) การผลิตที่มีจุดเด่น (Strength) ได้รับการรับรองมาตรฐาน (Accreditation) การผลิตระดับสากล เช่น มาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิต GMP (= Good Manufacturing Practice:) และ PIC/S (= Pharmaceutical Inspection Cooperation Scheme), มาตรฐานหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการกระจายยา GDP (= Good Distribution Practice), มาตรฐานห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ระดับสากล ISO 17025, และการรับรองมาตรฐานอื่นๆ
ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและผลิตภัณฑ์ บริษัท ที.แมน กล่าวถึง 8 กลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน ได้แก่
- พัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Quality) และนวัตกรรม (Innovation) ใหม่ ครอบคลุมทั้งกลุ่มเวชภัณฑ์ ซึ่งเป็นยาแผนปัจจุบัน (Modern medicine), ผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับการรักษากลุ่มโรคสำคัญ, และกลุ่มผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ (Health) พร้อมกับมุ่งสร้างมาตรฐานสารสกัด (Extract) จากธรรมชาติ (Nature) ภายใต้ NatureCeutical ตลอดจนการสรรหาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
- ขยายกำลังการผลิต (Production capacity) และปรับปรุงประสิทธิภาพ (Efficiency) การผลิต โดยวางแผนลงทุน (Investment planning) ขยายกำลังการผลิต เช่น การติดตั้ง (Installation) เครื่องจักรสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ (Capability) การแข่งขันและสร้างการประหยัดต่อขนาด (Economy of scale) เป็นต้น
- สรรหา (Recruit) บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ (Expertise) โดยกลุ่มบริษัทฯ มีแผนจะขยายทีมเภสัชกร (Pharmacist) และนักวิทยาศาสตร์ (Scientist) อีกทั้งมุ่งขยายทีมเจ้าหน้าที่ฝ่ายขาย (Sales force) เพื่อสามารถเข้าถึง (Access) ลูกค้าองค์กรกว้างขวางมากขึ้น
- การมุ่งเน้นสร้างยี่ห้อ (Brand building) ผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้างได้รับการยอมรับ (Widely accepted) โดยผู้บริโภค โดยจะพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนอง (Respond) ความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค แล้วนำเสนอ (Offering) จุดขายของผลิตภัณฑ์ทำให้ยี่ห้อแตกต่าง (Differentiate) และมุ่งสื่อสาร (Communicate) อย่างมีประสิทธิภาพ
แหล่งข้อมูล –
- https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1128960 [2024, October 7].
- https://www.facebook.com/marketeeronline/posts/ตลาดยาและเสริมอาหาร/688529656725061/ [2024, October 7].