3. ตลาดยา – ตอนที่ 37

นี่เป็นเพียงอุปสรรค (Obstacle) ที่ถูกสะท้อน (Reflect) ออกมาจาก นายกสมาคมอุตสาหกรรมผลิตยาแผนปัจจุบัน (Thai Pharmaceutical Manufacturers Association: TPMA) ถึงจุดบอด (Blind spot) ของอุตสาหกรรมยา พระรองตัวหลักของ ภาพฝัน “ศูนย์กลางการแพทย์” (Medical hub) ของไทย ที่กำลังถูกยานำเข้า (Import) เบียดบังการเติบโตของยาสัญชาติไทย 

แม้จะมีการผลิตที่เทียบสากลได้คุณภาพ (International quality) แต่ในแต่ละปี ไทยจะสามารถส่งออก (Export) ไปขาย ให้กับประเทศเพื่อนบ้าน (Neighboring) ทั้ง เมียนมา, ลาว, อินโดนีเซีย, และ ฟิลิปปินส์ เพราะได้ยอมรับ (Acceptable) ในแง่มาตรฐานยาที่ดี แต่ในประเทศเอง กลับเป็นรองยานอก

แต่เมื่อเจาะ (Penetrate) ข้อมูลลึกลงไป ก็จะพบว่า มูลค่าของตลาดยา ปีหนึ่งมีเม็ดเงินราว 1 แสนล้านบาท ยาที่บริโภคกันอยู่ มาจากการผลิตของบริษัทสัญชาติไทยเพียง 35% เพราะอีก 65% เป็นยาที่ “นำเข้า” เข้ามา นั่นคือรายได้ที่หลุดหายไประหว่างทางไปนอกประเทศ

ทั้งๆ ที่ นายก TPMA ประเมินความพร้อมของผู้ผลิตยาสัญชาติไทย ว่ามีอยู่สูง และยาไทย ก็ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค (Regional) ด้วยความสามารถในการผลิตเทียบต่างชาติ ไทยสู้ได้ ทั้งเรื่องคุณภาพของยา และมาตรฐานโรงงานผลิต 

การนำเข้ายาส่วนใหญ่ของไทย เป็นตัวยาที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และมีราคาแพง เช่น ยาสร้างเม็ดเลือด (Blood-forming), ยาปฏิชีวนะ (Anti-biotics), และยาลดไขมันในเลือด (Hypolipidemic agent) โดยแหล่งนำเข้าหลักมาจากเยอรมนี, สหรัฐอเมริกา, และอินเดีย

แต่เพราะส่วนหนึ่งผู้ผลิตยาไทย ประสบ (Confront) กับอุปสรรค ไม่สามารถขึ้นทะเบียนยา (Registration) ใหม่ได้ เนื่องจากติดข้อจำกัดยาที่มีสิทธิบัตร (Patented) เช่น ยาลดความดันโลหิตสูง (Anti-hypertensive), ยาโรคเบาหวาน (Diabetes) และยาปฏิชีวนะ ฯลฯ

ตัวอย่าง ยารักษามะเร็ง (Cancer) ซึ่งแต่ละปีมีมูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านบาท เพราะยาเม็ด มีราคาขายต่อเม็ดหลักพันบาท ขณะกลุ่มยาฉีด (Injection) ราคาหลักหมื่น แต่ ยาไทย มีส่วนแบ่งในตลาด (Market share) ต่ำกว่า โดยมีเจ้าใหญ่ คือ สหรัฐอเมริกา

ศูนย์วิจัยกรุงศรี สรุปประเด็นท้าทาย (Challenge) ของธุรกิจยาที่ต้องเผชิญ คือ ต่อให้เห็นโอกาสอยู่ตรงหน้า ไทยยังขาดศักยภาพ (Potential) ในการผลิตยาที่จำเป็นเพื่อความมั่นคง (Security) ทางยา หากวัตถุดิบ (Raw material) และเทคโนโลยี ยังต้องนำเข้ามาเกือบทั้งหมด 

การแข่งขันมีแนวโน้มรุนแรง (Fierce competition) ขึ้น จากนักลงทุนรายใหม่จากต่างชาติ ซึ่งใช้ไทยเป็นฐานการผลิต (Manufacturing base) อย่างในระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor: EEC)

ขณะที่ภาระต้นทุน (Cost burden) ของผู้ผลิตยาในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะเงื่อนไข (Condition) ต้องปรับปรุงโรงงานผลิตยาให้ได้ตามมาตรฐาน GMP-PIC/S (= Good manufacturing practice-Pharmaceutical Inspection Co-operation Scheme) รวมถึง แนวโน้มกฎหมายที่อาจกำหนดให้ยาจดสิทธิบัตร มีระยะเวลาผูกขาดนานเกิน 20 ปี ยิ่งเพิ่มความไม่แน่นอน (Uncertainty) ต่อราคายา

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thairath.co.th/money/economics/analysis/2705883 [2024, July 29].
  2. https://www.thailandmedicalhub.net/ [2024, July 29].