3. ตลาดยา – ตอนที่ 34

ประเทศไทยกำลังผันตัวเป็น “ศูนย์กลางสุขภาพ” (Medical hub) ระดับนานาชาติ ก่อเกิดการรักษาชั้นสูง (Advanced treatment) ที่มีคุณภาพ (Quality) มากขึ้น, มีแพทย์เฉพาะทาง (Specialty) และโรงพยาบาลคุณภาพสูง พร้อมๆ กับจำนวนคนที่ต้องการขอรับบริการทั้งไทยและเทศเป็นจำนวนมากนั้น ก็จะทำให้ความจำเป็น (Necessity) ในการใช้ “ยา” (Drug) ประเภทต่างๆ ก็จะทวีคูณมากขึ้นไปด้วย

เมื่อเดือน พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา อาจพอได้เห็นข่าวกันแล้วบ้าง ว่าแม้แต่บริษัทพลังงาน (Energy) ยักษ์ใหญ่ของไทย อย่าง ปตท. จำกัด (มหาชน) [การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย] ก็พาตัวเองขยับเข้าไปในกลุ่มธุรกิจยา และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food supplement) ผ่านการเปิดตัว “อินโนบิก นูทริชั่น” (Innobic Nutrition)

บริษัทดังกล่าว เป็นบริษัทในกลุ่มอินโนบิก (เอเซีย) ที่ประกาศว่าจะเข้ามาชิงส่วนแบ่งการตลาด (Market share) ในธุรกิจยา, ธุรกิจวัสดุ-อุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical supplies-device), และธุรกิจอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมกับเป้าหมายใหญ่ ที่จะเป็นบริษัทวิทยาศาสตร์เพื่อชีวิต (Life Science) ชั้นนำในภูมิภาค (Region)

ความเคลื่อนไหว (Movement) ดังกล่าว สะท้อน (Reflect) ได้ว่า แม้กระทั่งรายใหญ่ที่สายธุรกิจ (Business line) ไม่ได้มีความเกี่ยวข้อง (Relevant) อะไรกันเลย อาจมองเห็นอะไรบางอย่างในธุรกิจยา และธุรกิจเชิงการแพทย์ในประเทศไทยอย่างแน่นอน

สำหรับเหตุผลที่สำคัญ อาจไม่ใช่เพียง ที่ประเทศไทย กำลังก้าวขาเข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสุดยอด” (Completely-Aged Society) ใน ปี พ.ศ. 2573) แต่หลังจากวิกฤตการแพร่ระบาด (Pandemic) ของไวรัสโควิด-19 ก็จะเห็นว่า ผู้คนเริ่มตระหนักถึงการดูแล (Care), ป้องกัน (Prevent), และใส่ใจ (Conscious) สุขภาพตัวเองมากขึ้น พร้อมจ่ายเงินกับส่วนนี้มากขึ้น

 ทั้งนี้ ไม่นับรวม ปัญหาด้านมลพิษทางอากาศ (Air pollution) เช่น ฝุ่น PM2.5, ควันบุหรี่ (Cigarette smoke), ควันจากท่อไอเสีย (Exhaust pipe) ส่งผลต่อสุขภาพของคนเรา อีกทั้งแนวโน้ม (Trend) การเจ็บป่วยด้วยโรคทั้งเรื้อรัง (Chronic) และไม่เรื้อรังของคนไทย นับวันก็ยิ่งอยู่ในอัตราที่เพิ่มสูงขึ้น (Increase) เช่นกัน ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เมื่อปี พ.ศ. 2565 มูลค่าจำหน่ายยาในประเทศ (Domestic) มีแนวโน้มเติบโต 4.5 ถึง 5.0% จากปี พ.ศ. 2564 ผลจากความต้องการ (Demand) บริโภคยาและเวชภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น  ขณะที่เมื่อปี พ.ศ. 2564 มีการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจหมวดยา, เวชภัณฑ์, และขายสินค้าทางเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical) และทางการแพทย์ (Medical) เพิ่มขึ้นจาก 994 รายในปี พ.ศ. 2562 เป็น 1,792 รายในปี พ.ศ. 2564 สะท้อน (Reflect) ความน่าสนใจของอุตสาหกรรมนี้อย่างมาก 

ขณะการแพร่ระบาด (Pandemic) ของโควิด-19 กลายเป็น “ตัวเร่ง” (Catalyst) ในแง่อุปทาน (Supply) ทำให้การลงทุน (Investment) ในอุตสาหกรรมยาคึกคัก พบมีโครงการที่ขอรับส่งเสริมการลงทุน BOI (= Board of Investment หรือ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) ในปีเดียวกัน นับ 10 โครงการ

มูลค่ารวมของทั้ง 10 โครงการ คือ 1.87 พันล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น +238.3% จากปี พ.ศ. 2563 และเกือบ 90% เป็นโครงการลงทุนผลิตยา (Pharmaceutical manufacture) อันสอดคล้องกับนโยบายของรัฐ ที่จะผลักดันให้ประเทศไทย เป็น “ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ”

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thairath.co.th/money/economics/analysis/2705883 [2024, June 17].
  2. https://www.thailandmedicalhub.net/ [2024, June 17].