3. ตลาดยา – ตอนที่ 16

ขณะที่โรคติดต่ออุบัติใหม่ (Emerging disease) มีแนวโน้ม (Trend) เพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เช่น โรคซาร์ส (SARS = Severe acute respiratory syndrome), ไข้หวัดนก (H5N1), ไข้หวัดใหญ่ (H1N1), โรคติดเชื้อไวรัสอีโบลา (Ebola), โรคติดเชื้อไวรัสซิก้า (Zika), และไวรัส COVID-19

บริษัทไฟเซอร์ [ผู้ผลิตยาและวัคซีนรายใหญ่ของโลก] คาดว่าจะเป็นโรคประจำถิ่นทั่วโลกภายในปี พ.ศ. 2567 โดยไวรัสกลายพันธุ์แล้วมากกว่า 50 ครั้งจากสายพันธุ์ดั้งเดิม ลดประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการติดเชื้อ และโรคฝีดาษลิงที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนโรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) ที่เรื้อรัง มีอัตราการป่วยใหม่ต่อประชากรสูงสุด คือ โรคความดันโลหิต สูง (High-blood pressure), เบาหวาน (Diabetes), ปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease: PD)  และโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardio-vascular) อันเป็นผลจาก

  1. ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (อายุเกิน 60 ปี มากกว่า 10% ของประชากรทั้งหมด) ซึ่งมักเจ็บป่วยด้วยโรค NCD โดยเฉพาะความดันโลหิตสูง (เกือบครึ่งหนึ่งของผู้สูงอายุทั้งหมด), โรคเบาหวาน, โรคหัวใจ, โรคหลอดเลือดสมอง (Stoke), และโรคมะเร็ง (Cancer) โดยคาดว่าไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างสมบูรณ์ [Completely-aged society] (สัดส่วนมากกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด) และระดับสุดยอด [Super-aged society] (สัดส่วนมากกว่า 28% ของประกชากทั้งหมด) ในปี พ.ศ. 2566 และ พ.ศ. 2576 ตามลำดับ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพ (Health-care expenditure) ของผู้สูงอายุจะอยู่ที่ 3 แสนล้านบาท (2.8% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ [Gross Domestic Product: GDP] ในปี พ.ศ. 2565) เพิ่มขึ้นจาก 2.1% ของ GDP ในปี พ.ศ. 2553 (จากฐานข้อมูลแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12)
  2. การเข้าสู่สังคมเมือง (Urban society) ซึ่งวิถีการใช้ชีวิต (Life style) ต้องแข่งขันกับเวลา, เผชิญมลภาวะ (Pollution), และขาดการออกกำลังกาย (Physical activity) มีความเสี่ยง (Risk) ต่อการเกิดปัญหาสุขภาพ (Health problem)รวมถึงโรคซึมเศร้า (Depression) โดยเฉพาะ ในกรุงเทพฯ มีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่สูงอันดับ 1 ของประเทศและมีอัตราความชุก (Prevalence) ของโรคซึมเศร้าอยู่ที่ 5% สูงกว่าค่าเฉลี่ยประเทศซึ่งอยู่ที่ 7% อนึ่งองค์การอนามัยโลก (World Health Organization: WHO) รายงานว่าคนไทยเสียชีวิตด้วยกลุ่มโรค NCD สูงถึง 76.6% ในปี พ.ศ. 2562 ซึ่ง สะท้อน (Reflecting) ความต้องการบริโภคยาในประเทศที่จะปรับสูงขึ้น โดยเฉพาะยาจดสิทธิบัตร (Patented drug) หรือยาต้นตำรับ (Original drug) ที่ใช้รักษาโรคซับซ้อน (Complex)

การเข้าถึงสิทธิ์การรักษาภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผ่านบัตรประกันสุขภาพหรือบัตรทอง [Gold card] ซึ่งเป็น71% ของประชากรทั้งหมด, ประกันสังคม ซึ่งเป็น 18% ของประชากรทั้งหมด, และสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ ซึ่งเป็น 8% ของประชากรทั้งหมด ภายใต้ระบบทั้งสามดังกล่าว ได้เพิ่มช่องทางการเข้าถึงยาผ่านร้านขายยา (Drug store) เช่น โครงการรับยาที่ร้านยาเพื่อลดความแออัดในโรงพยาบาล และโครงการร้านธงฟ้า (Blue Flag) ประชารัฐ

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.krungsri.com/th/research/industry/industry-outlook/chemicals/phamaceuticals/io/io-pharmaceuticals-2023-2025 [2023, September 23].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Emerging_infectious_disease [2023, September 23].