3. ตลาดยา – ตอนที่ 11
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 16 กรกฎาคม 2566
- Tweet
การระบาดไปทั่วโลก (Pandemic) ของไวรัส COVID-19 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในปี พ.ศ. 2564 ทำให้ความต้องการ (Demand) ยาและเวชภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับไวรัส COVID-19 ปรับเพิ่มขึ้น เข่น อุปกรณ์ป้องกัน (Protection) การติดเชื้อ (Infection), วัคซีน, ยาแก้ปวด-ลดไข้ (Analgesic)
โดยเฉพาะยาที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ (Respiratory system) รวมถึงวิตามินและผลิตภัณฑ์สมุนไพร (Herb) ต่างๆ ซึ่งจากจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ที่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้การจดทะเบียน (Registration) จัดตั้งธุรกิจหมวดยา, เวชภัณฑ์, และขายสินค้าทางเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceuticals) และทางการแพทย์เพิ่มขึ้นจาก 994 รายในปี พ.ศ. 2562 เป็น 1,792 รายในปี พ.ศ. 2564
อย่างไรก็ตาม ความต้องการยาสำหรับรักษาโรคทั่วไปชะลอลง (Slow-down) เนื่องจากจำนวนผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาล ปรับลดลง ในกรณีโรคไม่เร่งด่วน (Non-urgent) และไม่รุนแรง (Non-severe)
นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยคนไทยและต่างชาติ (Foreign patient) ที่ไม่สามารถเดินทางมารักษาในไทยได้ ขณะที่ร้านขายยา (Pharmacy) มีบทบาทเพิ่มขึ้นในการเชื่อมต่อระหว่างภาครัฐ, โรงพยาบาล, และผู้ป่วย ทำให้การซื้อยาผ่านร้านขายยา แม้จะถูกกดดัน (Pressure) จากกำลังซื้อที่ซบเซา แต่ยังได้อานิสงส์ (Benefit) จากผู้ป่วยบางกลุ่ม
กลุ่มดังกล่าว ได้แก่โรคไม่ติดต่อ (Non-communicable disease: NCD) เรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน (Diabetes), โรคความดันโลหิต (Blood pressure), โรคหืด (Asthma), และโรคจิตเวช (Psychiatry) หันมาใช้บริการจากร้านขายยา แทนการไปโรงพยาบาล เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อโรคที่ระบาด (Wide-spread) อยู่
สภาวะอุตสาหกรรมยาในปี พ.ศ 2564 พบว่า การจำหน่ายยาในประเทศเพิ่มขึ้น +2.5% ชะลอลงเล็กน้อยจาก +2.8% ในปี พ.ศ. 2563 โดยอยู่ที่ 19.3 หมื่นล้านบาท อันเป็นผลกระทบ (Impact) จากประชาชนเร่งซื้อยาที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 ตามอาการ รวมถึงเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ (Medical supply) เช่น ถุงมือทางการแพทย์ (Medical glove), เครื่องมือวัดความดัน (Blood-pressure monitor) และเครื่องมือวัดออกซิเจน (Pulse oximeter) เพื่อกักตุน (Hoard) ไว้ใช้มากขึ้น
ขณะที่ผู้ป่วยในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ (NCD) เรื้อรัง จำเป็นต้องใช้ยาอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ความต้องการยาที่เกี่ยวกับอาการเฉียบพลัน (Acute) เช่น ท้องร่วง (Diarrhea), ตาแดง (Conjunctivitis), และยาฆ่าเชื้อ (Anti-biotics) ปรับลดลง จากมาตรการกระทรวงสาธารณสุข ในเรื่องการเก็บตัวอยู่ที่บ้าน (Stay at home), การสวมหน้ากากอนามัย (Mask), และลดการทำกิจกรรมทางสังคม (Social activity) นอกบ้าน ส่งผลให้การเจ็บป่วยจากโรคดังกล่าวลดลง
ยาที่จำหน่ายผ่านโรงพยาบาลและสั่งจ่ายโดยแพทย์ (Prescription drug) ซึ่งเป็นตลาดหลัก ขยายตัวขึ้น +2.6% จากปี พ.ศ. 2563 โดยแบ่งประเภท (Category) เป็น ยาชื่อสามัญ (Generic drug) ซึ่งมีมูลค่า 9.4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +2.3% และยาจดสิทธิบัตร (Patented drug) ซึ่งมีมูลค่า 6.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +3.2% ส่วนยาที่จำหน่ายผ่านร้านขายยา (Over-the-counter: OTC) ซึ่งมีมูลค่า 3.7 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น +1.7%
แหล่งข้อมูล –