2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 54

เศรษฐกิจสีเงิน (Silver economy) คือระบบการผลิต (Production), การกระจาย (Distribution), และการบริโภค (Consumption) สินค้าและบริการที่มุ่งเน้นการใช้ศักยภาพ (Potential) ด้านการซื้อของผู้สูงอายุ (Elderly) และผู้ที่กำลังเข้าสู่วัยชรา (Aging) เพื่อตอบสนอง (Satisfy) ความต้องการ (Demand) ด้านการบริโภค, การดำรงชีวิต (Living), และสุขภาพ (Health) ของพวกเขา

เศรษฐกิจสีเงินได้รับการวิเคราะห์ในสาขาสังคมวิทยาผู้สูงอายุ (Social gerontology) ไม่ใช่ในฐานะระบบเศรษฐกิจที่มีอยู่จริง (Existing) แต่ในฐานะเครื่องมือ (Instrument) ด้านนโยบาย (Policy) ผู้สูงอายุและแนวคิดทางการเมือง (Political) ในการสร้างระบบเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นความต้องการและศักยภาพสำหรับประชากรผู้สูงอายุ

องค์ประกอบ (Element) หลักของเศรษฐกิจสีเงิน คือเทคโนโลยีสำหรับผู้สูงอายุ (Geron-technology) ซึ่งเป็นกระบวนทัศน์ (Paradigm) ใหม่ในด้านวิทยาศาสตร์ (Science), การวิจัย (Research), และการนำไปปฏิบัติ (Implementation)

คำว่า “สีเงิน” หมายถึงสีผมของผู้สูงวัย ส่วนคำว่า “เศรษฐกิจสีเงิน” บางครั้งถูกใช้แทน (Interchangeable) กับคำว่า “ตลาดสีเงิน” (Silver market) ซึ่งหมายถึง “ตลาดผู้สูงอายุ” (Ageing marketplace) หรือ “ตลาดผู้ที่มีความเป็นผู้ใหญ่มากขึ้น” (Mature marketplace)

แนวคิดดังกล่าวนับว่าแคบ (Narrow) กว่า คำว่า “ตลาดสีเงิน” ที่ถูกสร้างขึ้นในคริสตทศวรรษ 1970s ในบริบท (Context) ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเพิ่มความพร้อม (Availability) ของสิ่งอำนวยความสะดวก (Facility) สำหรับผู้สูงอายุ

ตลาดสีเงินประกอบด้วยสินค้า, มูลค่า, และบริการต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุที่มีกำลังซื้อสูง (Affluent) ในด้านการค้าเพื่อปรับตัวเข้ากับแรงงานสูงอายุ (Ageing workforce), แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบที่เป็นสากล (Universal design), และการออกแบบข้ามวัย (Trans-generational design)

นานาปัจจัยดังกล่าว มีเป้าหมายในการปรับสินค้าและบริการให้เหมาะสมกับผู้คนในวัยที่แตกต่างกัน ("เหมาะกับทุกวัย") รวมถึงสภาพร่างกาย (Physical) และความสามารถทางปัญญา (Cognitive) ที่หลากหลาย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการบูรณาการทางสังคม (Social integration) ที่ดีขึ้น

เศรษฐกิจสีเงินไม่ใช่ภาคส่วนเพียงหนึ่งเดียว (Single sector) แต่เป็นการรวบรวม (Collection) ของสินค้าและบริการจากหลายภาคเศรษฐกิจที่มีอยู่ เช่น เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information technology), การสื่อสาร (Communication), ภาคการเงิน (Finance), ที่อยู่อาศัย (Residence), การขนส่ง (Transportation), พลังงาน (Energy), การท่องเที่ยว (Tourism), วัฒนธรรม (Culture), โครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และบริการท้องถิ่น, และการดูแลระยะยาว (Long-term care)

ในปัจจุบัน เศรษฐกิจสีเงินเติบโตในอัตรา (Growth pace) ที่ดีมาก เนื่องจากประชากรกลุ่มนี้เพิ่มขึ้นมาก (Numerous) อย่างต่อเนื่อง ในแง่นี้ เราสามารถแยกแยะ (Distinguish) ความต้องการที่ครอบคลุมออกเป็น 2 ส่วน

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/Elderly-Spending-CIS3511-FB-2024-07-10.aspx [2025, March 23].
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Silver_economy [2025, March 23].