2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 42

ในโครงสร้าง (Structure) ประชากร (Population) ของประเทศไทย ผู้มีอายุไม่เกิน 14 ปี มีจำนวนชาย 5,612,711 คน และหญิง 5,302,116 คน รวม 10,914,827 คน ผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 15 ถึง 24 ปี จำนวนชาย 4,311,507 คน และหญิง 4,111,057 คน รวม 8,422,564 คน ผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 25 ถึง 54 ปี จำนวนชาย 14,760,947 คน และหญิง 15,079,981 คน รวม 29,840,928 คน

ผู้มีอายุอยู่ระหว่าง 55 ถึง 64 ปี จำนวนชาย 4,042,250 คน และหญิง 4,636,216 คน รวม 8,678,466 คน (กลุ่มผู้ที่กำลังเกษียณอายุทำงาน) ส่วนผู้มีอายุ 65 ปี ขึ้นไป จำนวนชาย 3,611,703 คน และหญิง 4,702,951 คน รวม 8,314,654 คน (กลุ่มผู้ที่เกษียณอายุทำงานแล้ว

เมื่อคนเกิดน้อยลง ประกอบกับเทคโนโลยีการแพทย์ (Medical technology) ก้าวหน้า (Advancement) อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้คนมีอายุยืนยาว  (Longevity) เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งผลให้โครงสร้างประชากรผู้สูงอายุมีสัดส่วน (Proportion) เพิ่มสูงขึ้นในทั่วโลก (World-wide) นำไปสู่การขยายตัว (Expansion) ของมูลค่าตลาด (Market value) และโอกาสธุรกิจ (Business opportunity) ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ (Geriatric) 

สถาบันสุขภาวะสมบูรณ์แห่งโลก (Global Wellness Institute) ได้เปิดเผยตัวเลข ตลาดผลิตภัณฑ์ (Product) และการบริการ (Service) เพื่อสุขภาพทั่วโลก พบว่า มีมูลค่าสูงถึง 4.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 150 ล้านล้านบาท) โดยธุรกิจที่มีแนวโน้ม (Trend) เติบโต (Growth) สูง ได้แก่

  1. การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาวสมบูรณ์ (Wellness tourism)

    การท่องเที่ยววิถี (Style) ใหม่ที่มีมาตรฐาน (Standard) และความปลอดภัย (Safety) สูง เน้นการพักผ่อน (Recreation) มีกิจกรรมสุขภาพ (Health activity) ในโปรแกรม ที่ไม่ต้องโลดโผน (Riveting) ใช้พละกำลัง (Vitality) แต่เติมเต็ม (Fulfill) ประสบการณ์ชีวิต เช่น อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ (Nature), สปา (Spa), นวดตัว (Massage), เข้าเรียนโยคะ (Yoga) “ดีต่อใจ ดีต่อสุขภาพ” (Mental health) ส่วนใหญ่การท่องเที่ยวนี้เจาะกลุ่มคนวัยห้าสิบขึ้นไป และกลุ่มคนรักสุขภาพ (Health consciousness)
  1. การกินเพื่อสุขภาพ และการลดน้ำหนัก (Healthy eating & weight loss)

    อาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy diet) และ อาหารลดน้ำหนัก เป็นอีกธุรกิจที่เติบโตอย่างมาก ในยุคสมัยที่คนทุกเพศทุกวัยหันมาใส่ใจการเลือกรับประทานอาหาร (Selected food) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้สูงอายุ
  1. การดูแลส่วนบุคคลและความงาม (Personal care & beauty)

    เมื่ออายุมากขึ้น ย่อมมีปัญหาผิวมากขึ้นตามไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นจุดด่างดำ (Dark spot), ความแห้งกร้าน (Dryness), ริ้วรอย (Wrinkle) และผิวเสื่อมสภาพ (Deteriorated skin) ตามอายุ ทั้งนี้ผู้สูงวัยในปัจจุบัน ไม่ได้เหมือนผู้สูงวัยในอดีต ที่ปล่อยตัวโทรม ดังนั้นจึงมีความต้องการผลิตภัณฑ์ความงาม (Aesthetics) ที่ตอบโจทย์ เพื่อดูแลผิวพรรณ (Skin care) และ ชะลอวัย (Anti-aging) ให้สุขภาพดีอยู่เสมอ

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.tnpoem.com/content/6034/aging-society [2024, October 6].
  2. https://globalwellnessinstitute.org/ [2024, October 6].