2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 37

ศูนย์วิจัยธนาคารกรุงไทย (COMPASS) ประเมินตลาดผู้บริโภคกลุ่มสูงวัย (Silver generation) เติบโตสูงเฉลี่ยปีละ 4.4% มีแนวโน้ม (Trend) บรรลุ 2.6 ล้านล้านบาท คิดเป็น 12% ของเศรษฐกิจไทย (Thai economy) ในอีก 7 ปีข้างหน้า เปิดเผยโดยผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย

สถานการณ์สังคมสูงวัย (Aging society) ถือเป็นประเด็น (Issue) ใหญ่ของรัฐบาล เพราะเป็นปัจจัย (Factor) ที่กดดัน (Pressure) ฐานะทางการคลัง (Fiscal status) ของประเทศ จากภาระ (Burden) ค่าใช้จ่ายด้านสวัสดิการ (Welfare benefit) และด้านสาธารณสุข (Public health) ที่เพิ่มขึ้น  

โดยเฉพาะรายจ่ายเบี้ยยังชีพ (Living allowance) ผู้สูงอายุที่สูงถึง 9 หมื่นล้านบาท ในปีงบประมาณ (Fiscal year) พ.ศ. 2567 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2557 [10 ปีที่แล้ว] ที่ใช้งบประมาณ 6 หมื่นล้านบาท และอาจเพิ่มขึ้น (Increase) ถึงระดับ 1.3 แสนล้านบาท ในปี พ.ศ. 2572 หรือเพิ่มขึ้น 44% จากปีงบประมาณ ปี พ.ศ. 2567

นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบ (Impact) ต่อกำลังแรงงาน (Work-force) ที่มีแนวโน้มลดลง (Decline) และอาจส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจ (Economic growth) ในระยะยาว (Long term)

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ (Aging population) ทำให้เกิดระบบเศรษฐกิจใหม่เรียกว่า “เศรษฐกิจสูงวัย” (Silver economy) ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจสูงวัยทั่วโลกมีมูลค่าสูงถึง 26.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 880-900 ล้านล้านบาท คิดเป็น 26.6% ของมูลค่า (Value) เศรษฐกิจทั่วโลก (Global economy)

ขณะที่มูลค่าตลาด (Market value) ผู้บริโภคกลุ่มผู้สูงวัย (Geriatric consumer) ของไทย มีแนวโน้มเติบโตเฉลี่ยปีละ (Annual average) 4.4% และคาดว่า (Forecast) จะสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท คิดเป็น 12% ของมูลค่าเศรษฐกิจไทย ในปี พ.ศ. 2573 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า

นับเป็นความท้าทาย (Challenge) สำคัญของภาคธุรกิจไทย ในการเตรียมความพร้อม (Prepare) รับมือ และคว้า (Seize) โอกาส (Opportunity) จากกลุ่มผู้สูงวัย ซึ่งถือเป็นกลุ่มเป้าหมาย (Target group) ใหม่ที่น่าสนใจ เพราะมีศักยภาพ (Potential) ด้านการเงิน พร้อมจับจ่ายใช้สอย (Affordable)

นักวิเคราะห์ศูนย์วิจัย COMPASS กล่าวว่า จากแนวโน้มที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ (Approaching) สังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด (Super-aged society) โดยมีสัดส่วนประชากรที่อายุ 65 ปีขึ้นไป เกินกว่า 20% ของประชากรทั้งหมด ภายในระยะ 5 ถึง 6 ปีข้างหน้า และแนวโน้มค่าใช้จ่ายของกลุ่ม Silver Gen ที่เพิ่มขึ้น จึงวิเคราะห์ว่ามี 5 ปัจจัย (Factor) ได้แก่ 

  1. อาหารสำหรับผู้สูงอายุ เช่น ธุรกิจผลิตอาหาร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (Food supplement)
  2. การท่องเที่ยว (Tourism) สำหรับผู้สูงอายุ ทั้งบริการนำเที่ยว (Trip) และโรงแรม
  3. การดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน(Preventive health-care) 
  4. ที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ (Residence)
  5. บริการทางการเงิน (Financial service) เพื่อผู้สูงอายุ ทั้งการให้คำปรึกษา (Consulting) และผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (Financial product) ต่างๆ

จึงเป็นโอกาสของผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ทั้งวิสาหกิจขนาดเล็กและกลาง (Small and medium-sized enterprise: SME) และธุรกิจขนาดใหญ่ ที่จะสร้างโอกาสเติบโตจากกลุ่มธุรกิจเหล่านี้

แหล่งข้อมูล

  1. https://www.thairath.co.th/money/economics/thailand_econ/2726367 [2024, July 28].
  2. https://www.marketingthai.or.th/silver-ocean-marketing/ [2024, July 28].