2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 36
- โดย ดร. วิทยา มานะวาณิชเจริญ
- 15 กรกฎาคม 2567
- Tweet
ทัศนคติต่อ (Attitude) การดำเนินชีวิตหลังเกษียณ (Post-retirement) ของประชากรกลุ่มนี้จึงหมายถึงการพักผ่อน (Rest), การดูแลสุขภาพ (Health care), เพื่อให้ดูดี และการเดินทางท่องเที่ยว (Leisure travel) หลังจากตรากตรำทำงาน (Hard-working) หนักมานาน
ดังนั้น การทำตลาดผู้สูงอายุ (Elderly marketing) กลุ่มนี้จึงแตกต่างจากกลุ่มผู้สูงอายุในยุคก่อนหน้า ที่มักเป็นคนประหยัด (Thrifty) และชอบเก็บตัวอยู่กับบ้าน ผู้ประกอบการ (Entrepreneur) จึงต้องเปลี่ยนมุมมอง (Perspective) ที่มีต่อตลาดผู้สูงอายุ โดยแบ่งตลาดออกเป็นกลุ่มย่อยๆ หรือเป็นส่วนๆ (Segmentation) ก่อน
หลังจากนั้น จึงกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาด (Marketing strategy) ให้เหมาะกับผู้สูงอายุแต่ละกลุ่ม มี 3 ปัจจัยหลักที่ต้องคำนึงถึงในการพิจารณา (Considerable) ซึ่งอาจเรียกว่า 3Cs ดังนี้
- Cozy: อำนวยสะดวกสบายในการใช้สินค้า และ/หรือ บริการ เนื่องจากผู้สูงอายุ ไม่มีร่างกายที่แข็งแรงเหมือนสมัยเป็นหนุ่ม-สาว (Youth) จึงมองหาเฉพาะนานาผลิตภัณฑ์ที่ง่ายต่อการใช้ (Friendly) เทคโนโลยีอาจเอื้อประโยชน์ต่อการใช้งานดังกล่าว แต่การทำงาน (Functioning) ต้องไม่ซับซ้อนเกินไปกว่าความสามารถของผู้ใช้
- Care: ใส่ใจในรายละเอียด สินค้าและบริการสำหรับผู้สูงอายุส่วนมากไม่ใช่สินค้าเฉพาะกลุ่ม แต่เป็นสินค้าหรือบริการที่มีรายละเอียดเพิ่มขึ้นกว่าสินค้าที่จำหน่ายเป็นหลักในตลาด ผู้ประกอบการจึงควรใส่ใจในการผลิตสินค้าเพื่อตอบโจทย์ (Response) ผู้สูงอายุ
- Creative: ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาสินค้า/บริการ สินค้าที่จะเจาะ (Penetrate) ตลาดผู้สูงอายุ โดยเฉพาะคนในกลุ่มท้ายๆ ของยุคเด็กเกิดมาก (Baby Boomer) และกลุ่มคนที่ยังแข็งแรง (Healthy) ต้องอาศัยความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เป็นที่ต้องการ (Demand) ของตลาดหลัก (Major market) และไม่เป็นอุปสรรค (Obstacle) ในการเลือกซื้อของผู้สูงอายุ
ตัวอย่างเช่น อาหารที่มีปริมาณต่อหน่วยบรรจุปริมาณ (Quantity) น้อยกว่าปกติเพื่อให้เหมาะกับระบบย่อยอาหาร (Digestion) ของผู้สูงอายุที่อาจไม่มีประสิทธิผล (Effectiveness) เท่าวัยหนุ่มสาว, ห้องน้ำที่มีราวจับ (Handle) ให้ผู้สูงอายุจับเพื่อพยุงตัว (Support), หรือประตูแบบเลื่อนเปิด-ปิด (Sliding door) เพราะผู้สูงอายุอาจไม่มีแรงพอจะบิดลูกบิด (Knob)
ประเด็นสำคัญอยู่ที่ความเข้าใจเชิงลึก (Insight) ถึงความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนี้ เช่น ความรู้สึกอยากดูดี (Good-looking) ไม่ต่างจากวัยหนุ่ม-สาว แต่ไม่ต้องถึงกับสง่างาม (Elegant) อย่างไรก็ตาม ต้องเข้าใจว่า ผู้สูงอายุไม่ได้ต้องการใช้สินค้าที่ตั้งใจผลิตขึ้น เพื่อผู้ที่มีสมรรถนะทางร่างกายถดถอย (Deteriorating)
ตัวอย่างเช่น สุขภัณฑ์ (Sanitary ware) ที่มีส่วนผสมของเมลามีน (Melamine) กับชานอ้อย (Bagasse) ซึ่งนอกจากจะมีน้ำหนักเบากว่าสุขภัณฑ์ปรกติ ที่ผลิตจากกระเบื้อง (Ceramics) แล้ว ยังไม่ทำให้เกิดอันตรายเมื่อแตกหัก หรือหมดกังวลจากอุบัติเหตุ (Accident) ที่ไม่อาจคาดคิด เช่น การหกล้ม (Fall) ซึ่งเป็นประเด็นร้ายแรงสำหรับผู้สูงอายุ
ทั้งนี้ เนื่องจากจำนวนผู้สูงอายุในประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continuous growth) เช่นกัน ผู้ประกอบการที่ต้องการส่งออก (Export) สินค้าสำหรับผู้สูงอายุที่เพิ่งเริ่มออกแบบ (Design) หรือผลิตสินค้าใหม่อาจทดลอง (Experiment) ทำตลาดสินค้าของตนในประเทศก่อน เพื่อรอดูผลตอบรับ (Response) จากผู้ใช้งานซึ่งจะเป็นแนวทางในการปรับปรุง (Improvement) และพัฒนาสินค้าให้เหมาะสม (Suitable) กับผู้สูงอายุได้ดียิ่งขึ้น ก่อนจะส่งสินค้านั้นไปทำตลาดในต่างประเทศ (International market) ต่อไป
แหล่งข้อมูล –