2. ตลาดผู้สูงอายุ – ตอนที่ 35

สินค้าสำหรับผู้ป่วยหรือผู้พิการ เช่น ไม้เท้า (Walking stick), รถเข็น (Wheel chair), ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ (Adult diaper), อาหารเหลว (Liquid) หรืออาหารอ่อน (Soft) [อาหารที่สับ (Minced) หรือบด (Ground) จนเกือบจะละเอียด] แต่ความจริงแล้ว ยังมีผู้สูงอายุจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งก้าวเข้าวัยเกษียณ (Retirement) ที่ยังมีสุขภาพแข็งแรง (Healthy)

ผู้สูงวัย (Elderly) เหล่านี้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปรกติ (Normal life) เช่นเดียวกับคนในวัยทำงาน ทั้งการทำงาน, การเดินทาง (Travel), ท่องเที่ยว, การออกกำลังกาย (Exercise), หรือการทำกิจกรรมต่างๆ นอกบ้าน (Outdoor activities) เพียงแต่เริ่มมีการทำงาน (Functioning) บางอย่างของร่างกายที่เสื่อมลงเท่านั้น

ผู้สูงอายุกลุ่มนี้จึงเป็นกลุ่มที่ต้องการสินค้าทั่วไป (เช่นเดียวกับคนวัยอื่นๆ) ที่เพิ่มการออกแบบ (Design) บางอย่างเพื่อให้ใช้งานได้สะดวก (Convenience) ขึ้น ทั้งนี้ เป็นที่น่าสังเกตว่าในบรรดาสินค้าอุปโภคบริโภค (Consumer goods) ในประเทศไทย มีสินค้าที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกลุ่มผู้สูงอายุไม่ถึง 1%

ตัววเลขนี้ สะท้อน (Reflect) ให้เห็นโอกาสที่เปิดรอผู้ประกอบการ (Entrepreneur) ไทยอยู่อีกมาก สำหรับกลยุทธ์ (Strategy) ในระยะสั้น ควรเน้นเปิดตลาด (Launch) กลุ่มผู้สูงอายุ โดยอาศัยสินค้าและบริการที่ไทยมีศักยภาพ (Potential) ในตลาดอยู่แล้วเป็นเครื่องมือในการรุกสร้าง (Penetrate) ตลาดกลุ่มผู้สูงอายุ

ตัวอย่างเช่น อาหารสัตว์เลี้ยง (Pet food), เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ (Medical supplies) บางรายการ (เช่น ถุงมือยาง [Medical glover], หลอดฉีดยา (Syringe), เข็มฉีดยา [Injection needle]) รวมถึงบริการต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งไทยมีความพร้อมแต่ต้องรอให้พ้นช่วงการแพรระบาด (Pandemic) ของไวรัส COVID-19 ไปก่อน

ตัวอย่างเช่น บริการที่พักสำหรับผู้สูงอายุ, สถานดูแลผู้สูงอายุ (Elderly care), รวมถึงโรงพยาบาลเอกชน (Private hospital) ส่วนในระยะยาว การพัฒนา (Development) สินค้าสำหรับผู้สูงอายุ อาจเริ่มจากการสังเกตเพื่อค้นหา (Insights) หรือปัญหา (Pain points) ของผู้บริโภค เพื่อนำมาพัฒนาสินค้าหรือบริการ

ขณะเดียวกันการแสวงหาพันธมิตร (Alliance) หรือแลกเปลี่ยน (Exchange) ความรู้กัน ทั้งในอุตสาหกรรมเดียวกัน (Intra-industry) และระหว่างอุตสาหกรรม (Inter-industry) จะช่วยให้ไทยมีสินค้าที่ตอบโจทย์ (Response) ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ในระดับโลก (Global level)

ดังเช่นผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ (Furniture) รายหนึ่งของไทยที่ได้ทำความร่วมมือ (Collaboration) กับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (National Metal and Materials Technology Center : MTEC) นำงานวิจัยต้นแบบ "เตียงตื่นตัว" (Joey-Active Bed) ของ MTEC มาพัฒนา เตียงนอนสำหรับผู้สูงอายุ

เตียงนอนดังกล่าว ที่มีกลไก (Mechanism) ช่วยปรับท่าทาง (Posture) ให้ผู้ใช้งานลุก, นั่ง, และ ยืน ได้ด้วยตัวเอง ช่วยลดความเสี่ยง (Risk) ในการหกล้ม (Fall), ควบคุมด้วยตัวรีโมต (Remote control) แต่มีการออกแบสวยงาม ซึ่งเป็นจุดขายโดดเด่น (Unique selling point: USP) ของเฟอร์นิเจอร์ จึงให้ความรู้สึกแตกต่างจากเตียงผู้ป่วยแบบทั่วไป

ทั้งนี้การพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) หรือบริการ (Service) สำหรับผู้สูงอายุควรคำนึงถึง 3 ประเด็นหลัก เรียกว่า 3Cs กล่าวคือ Cozy (สะดวกสบาย), Care (ดูแลใส่ใจ), และ Creative (สร้างสรรค์) ผู้สูงอายุยุคใหม่มีวิถีการใช้ชีวิต (Life style) แบบสบายๆ

ประชากรที่กำลังจะเข้าสู่วัยสูงอายุในระยะข้างหน้าเป็นกลุ่มที่มีวัยทำงานอยู่ในช่วงที่เศรษฐกิจเติบโต จึงมีการสะสมความมั่งคั่ง (Wealth) มาในระดับหนึ่งแล้ว

แหล่งข้อมูล

  1. https://kmc.exim.go.th/detail/20210121152800/20210322110347 [2024, June 30].
  2. https://www.nber.org/bah/2015no2/medical-spending-elderly [2024, June 30].